วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

จับตาโรคเด่นประจำสัปดาห์ที่ 38

0 ความคิดเห็น
  สถานการณ์โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส  ณ วันที่ 29 กันยายน 2557  
      
       ·          ผู้ป่วยในเดือนกันยายนที่ถูกรายงานเข้ามาในสัปดาห์ที่ 38 เพิ่มขึ้น 1.5 เท่า เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ 37 โดยในเดือนกันยายน (ถึงวันที่ 29 กันยายน 2557) มีจำนวนผู้ป่วยรวม 109,928 ราย ขณะที่ค่าพยากรณ์คาดว่า ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ เมื่อสิ้นสุดเดือนเดือนกันยายน อาจมีจำนวนผู้ป่วยสูงถึง 96,153 ราย ขณะนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ ถ้าสถานการณ์ยังดำเนินต่อไปแบบนี้ คาดว่าจะมีผู้ป่วยในเดือนตุลาคมถึง 138,601 ราย เดือนพฤศจิกายนประมาณ  86,129 ราย และเดือนธันวาคมประมาณ 37,624 ราย
        ·          ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการรายงานเหตุการณ์การระบาดเกิดขึ้นในเรือนจำแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต มีผู้ป่วยประมาณ 700 ราย หน่วยงานในพื้นที่ได้มีการควบคุมโรคแล้วในการตรวจคัดกรอง แยกผู้ป่วย และทำความสะอาดเรือนจำคร้งใหญ่
         ·          ในสัปดาห์ที่แล้วได้แจ้งเตือนว่า  จังหว้ดทางภาคตะวันออกที่ติดกับจันทบุรี ควรเตรียมการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ ในสัปดาห์นี้พบจังหวัดชลบุรีมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 1.79 เท่า เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว และจังหวัดระยองมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 1.29 เท่า


 สถานการณ์ไข้เลือดออก ไข้เลือดออกช็อก และไข้เดงกี ณ วันที่ 30 กันยายน 2557 

        ·         สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานผู้ป่วยเข้าข่ายและผู้ป่วยยืนยันกลุ่มโรคไข้เลือดออกโดยรง. 506 จำนวน 25,955 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 40.51 ต่อประชากรแสนคน พบผู้เสียชีวิต 24 รายคิดเป็นอัตราตาย 0.04 และอัตราป่วยตายร้อยละ 0.09
        ·           จังหวัดที่พบอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง (สีแดง) ควรเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรคอย่างใกล้ชิดคือ จังหวัดภูเก็ต พัทลุง ยะลา และนราธิวาส ส่วนจังหวัดที่ต้องจับตาเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือ จังหวัดปัตตานี สงขลา สตูล และตรัง
        ·           การระบาดในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 - 30 กันยายน 2557)  สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานผู้เสียชีวิตโรคไข้เลือดออกจากจังหวัดราชบุรี 1 ราย ในวันที่ 15 กันยายน ผู้เสียชีวิตเป็นเพศชายอายุ 16 ปี เริ่มป่วยเมื่อวันที่ 2 กันยายน เข้ารักษาเมื่อวันที่ 4 กันยายน และเสียชีวิต วันที่ 12 กันยายน แพทย์วินิจฉัย DHF

·         สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2557

       ·     สถานการณ์ของไข้หวัดใหญ่ มีแนวโน้มคล้ายกับปีที่แล้ว  จำนวนผู้ป่วยในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ป่วยอยู่ระหว่าง 1,000-1.300 ราย จังหวัดที่มีอัตราป่วยในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาสูงเกิน 20 ต่อประชากรแสนคน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
       ·     วันที่ 1 มกราคม – 6 ตุลาคม 2557 มีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เสียชีวิต  62 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.11  ในสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตหรือรายงานการระบาด
       ·      ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังเชื้อไข้หวัดใหญ่เฉพาะพื้นที่ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ในสัปดาห์ที่ 38พบว่า มีสัดส่วนการตรวจพบเชื้อไข้หวัดใหญ่ในตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่ากับร้อยละ 7.1 เป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B ร้อยละ 7.1
      ·        ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวัง ILI ในสัปดาห์ที่ 39 พบว่าสัดส่วนของผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ต่อผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกเท่ากับร้อยละ 3.95

·       สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก  ณ วันที่ 27 กันยายน 2557

     ·      โดยสัปดาห์นี้มีจำนวนลดลงกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 19.21 (210 ราย) และเมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยกับปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2556) พบปีนี้มีผู้ป่วยสะสมโดยรวมสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 59.39 (20,396 ราย)

     ·  พบจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 2 ปี (2556-2557) ของประเทศและสูงมากกว่าสองเท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Mean+2SD) จำนวน 24 จังหวัด

สถานการณ์โรคติดต่อที่น่าจับตามองในช่วงฤดูหนาว

0 ความคิดเห็น
โรคที่มีรูปแบบการเกิดโรคชัดเจน โดยพบจำนวนรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในฤดูหนาว

                 ·   โรคสุกใส (Chickenpox) ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยช่วงต้นปี ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมของทุกปี สำหรับการพยากรณ์โรคนั้น คาดว่าช่วงปลายปี พ.ศ. 2557 จะมีจำนวนผู้ป่วยในเดือนพฤศจิกายนประมาณ 3,143 ราย และเดือนธันวาคมประมาณ 3,944 ราย ผู้ป่วยที่ได้รับรายงานส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มอายุ 5-9 ปี จังหวัดที่มีแนวโน้มรายงานผู้ป่วยมาก ได้แก่ อยุธยา ฉะเชิงเทรา เชียงราย พะเยา และแม่ฮ่องสอน
                   ·   โรคหัด (Measles) โดยเฉลี่ยจำนวนผู้ป่วยช่วงฤดูหนาวจะมีรายงานผู้ป่วยสูงกว่าช่วงฤดูฝน ประมาณ 1.1 เท่า สำหรับการพยากรณ์โรคนั้น คาดว่าในปี 2557 จะมีจำนวนผู้ป่วยในเดือนพฤศจิกายนประมาณ 62 ราย และเดือนธันวาคมประมาณ 49 ราย กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 15-24 ปี  ภาคที่มีการรายงานผู้ป่วยสูงสุดในแต่ละปีคือ ภาคใต้ ส่วนพื้นที่หรือจังหวัดที่มีการระบาดของโรคอยู่เป็นประจำในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ชลบุรี ตาก และสมุทรสาคร
                   ·    โรคอุจจาระร่วง (Diarrhea) โดยเฉลี่ยจำนวนผู้ป่วยช่วงฤดูหนาวจะมีรายงานผู้ป่วยสูงกว่าช่วงฤดูฝน ประมาณ 1.1 เท่า สำหรับการพยากรณ์โรคนั้น คาดว่าในปี 2557 จะมีจำนวนผู้ป่วยในเดือนพฤศจิกายนประมาณ 71,960 ราย และเดือนธันวาคมประมาณ 60,056 ราย ในช่วงฤดูหนาวนี้โรคอุจจาระร่วงที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษได้แก่ โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อโรตาไวรัส มักพบในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี

               โรคที่มีแนวโน้มจะระบาดและมีรายงานผู้ป่วยมากขึ้นเมื่อเทียบกับข้อมูลของปีที่ผ่านมา  

            ·    โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) พบว่า ในทุกเดือนของปี 2557 มีรายงานผู้ป่วยจำนวนมากกว่าปี 2556 สำหรับการพยากรณ์โรคนั้น คาดว่าในปี 2557 จะมีจำนวนผู้ป่วยในเดือนพฤศจิกายนประมาณ 3,222 ราย และเดือนธันวาคมประมาณ 1,598 ราย
            ·    โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) พบว่า เกือบทุกเดือนของปี 2557 มีรายงานผู้ป่วยจำนวนมากกว่าปี 2556 สำหรับการพยากรณ์โรคนั้น คาดว่าในปี 2557 จะมีจำนวนผู้ป่วย ในเดือนพฤศจิกายนประมาณ 12,828 ราย และเดือนธันวาคมประมาณ 10,746 ราย
             ·    โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot and Mouth disease) พบว่า เกือบทุกเดือนของปี 2557 มีรายงานผู้ป่วยจำนวนมากกว่าปี 2556 สำหรับการพยากรณ์โรคนั้น คาดว่าในปี 2557 จะมีจำนวนผู้ป่วยในเดือนพฤศจิกายนประมาณ 4,653 ราย และเดือนธันวาคมประมาณ 5,020 ราย

               โรคที่มีรายงานจำนวนผู้ป่วยทั้งปี แต่พบมากในช่วงฤดูฝนต่อฤดูหนาวและฤดูหนาวต่อฤดูร้อน
                         ได้แก่ โรคหัดเยอรมัน (Rubella) และโรคคางทูม (Mumps)

จับตาโรคเด่นสัปดาห์ที่ 39

0 ความคิดเห็น
·         สถานการณ์โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส  ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2557  
            
              ·       ผู้ป่วยในเดือนกันยายนที่ถูกรายงานเข้ามาในสัปดาห์ที่ 39 เพิ่มขึ้น 1.2 เท่า เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ 38 ระหว่างวันที่ 1 - 30 กันยายน 2557 มีจำนวนผู้ป่วยรวม 135,794 ราย โดยมีจำนวนผู้ป่วยมากกว่าค่าพยากรณ์และเกินค่าขอบเขตบนของความเชื่อมั่นที่ 90%
              ·      สถานการณ์การระบาดในทุกภาคของประเทศมีแนวโน้มคลี่คลาย ยกเว้นจังหวัดแถบภาคตะวันออก ทีมีรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง และ ณ สัปดาห์ปัจจุบัน จังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยองกลับสู่สถานการณ์ปกติ ขณะที่จังหวัดตราดมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2.8 เท่า และจังหวัดจันทบุรีมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 1.69  เท่า
              ·     ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการระบาดของโรคตาแดงในหลายเมืองของอินเดีย ได้แก่ รัฐมหารัชตะ รัฐปัญจาบ และในจังหวัดซอนลา ของประเทศเวียดนาม  

 สถานการณ์ไข้เลือดออก ไข้เลือดออกช็อก และไข้เดงกี ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2557 
        
             ·    สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานผู้ป่วยเข้าข่ายและผู้ป่วยยืนยันกลุ่มโรคไข้เลือดออกโดยรง. 506 จำนวน 27,541 ราย อัตราป่วย 42.098 ต่อประชากรแสนคน พบผู้เสียชีวิต 25 ราย อัตราตาย 0.04 และอัตราป่วยตายร้อยละ 0.09
             ·  สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานผู้เสียชีวิตโรคไข้เลือดออกจากจังหวัดเชียงใหม่ 1 รายเมื่อวันที่ 29 ก.ย. เพศหญิง อายุ 13 ปี เริ่มป่วยวันที่ 19 กันยายน รักษาครั้งแรกที่คลินิคเอกชนวันที่ 20 ต.ค. และเสียชีวิตวันที่ 28 ต.ค.
          ·  ประเทศ มาเลเซียซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับภาคใต้ของไทยมีผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวนมาก สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (2,472 - 3,142 รายต่อสัปดาห์) ประกอบกับระยะนี้เป็นช่วงฤดูฝนของภาคใต้ยังคงเป็นช่วงการระบาดของโรคไข้ เลือดออกจึงยังพบผู้ป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลังในหลายจังหวัดแล้ว อาจมีความเป็นไปได้ว่ามีผลจากเป็นพื้นที่รอยต่อกับประเทศมาเลเซียที่อาจมี การระบาดถึงกันได้จากการเคลื่อนย้ายประชากรในพื้นที่ดังกล่าวด้วย ดังนั้นจึงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป

·         สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2557
            
             ·   สถานการณ์ของไข้หวัดใหญ่ มีแนวโน้มสูงขึ้น จังหวัดที่ควรมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (มีอัตราป่วยในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาสูงเกิน 20 ต่อประชากรแสนคน) และสุรินทร์ (มีสัดส่วนผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่สูงเกินร้อยละ 10)
             ·   ในสัปดาห์นี้มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย จากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ ที่จังหวัดบุรีรัมย์
             ·   ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวัง ILI ในสัปดาห์ที่ 40 พบว่าสัดส่วนของผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ต่อผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกเท่ากับร้อยละ 4.05

·       สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก  ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2557
             
             ·   จำนวนผู้ป่วยสะสมด้วยโรคมือเท้าปาก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 4 ตุลาคม2557 จำนวน 55,877 ราย อัตราป่วย 86.69 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 2 ราย ปัจจุบันการเกิดโรคยังคงมีแนวโน้มลดลง โดยสัปดาห์นี้มีจำนวนลดลงกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 30.15 (341 ราย) และเมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยกับปีที่ผ่านมาผู้ป่วยสะสมโดยรวมสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 57.64 (20,430 ราย)
              ·   ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นเด็กชาย อายุ 2 ปี จังหวัดระยอง มีประวัติเล่นคลุกคลีกับเด็กข้างบ้านที่ป่วยด้วยโรคมือเท้าปาก เริ่มป่วยในวันที่ 22 สิงหาคม 2557 อาการที่พบคือ ไข้สูง มีคลื่นไส้และอาเจียน จึงพาไปรักษาที่สถานพยาบาลอีกหลายแห่งและเสียชีวิตในวันที่ 27 สิงหาคม 2557 แพทย์เก็บตัวอย่างส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบสารพันธุกรรมไวรัสชนิดเอนเทอโร 71 ทั้งในตัวอย่างน้ำไข้สันหลังและซีรั่ม

·       สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรสิส ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2557

              ·     จำนวนผู้ป่วยสะสมด้วยโรคเลปโตสไปโรสิส ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2557 จำนวน 1,550 ราย อัตราป่วย 2.44 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 13 ราย อัตราตาย 0.02 ต่อแสนประชากร

             ·      ผู้ป่วยในเดือนกันยายนที่ถูกรายงานเข้ามาในสัปดาห์ที่ 39 เพิ่มขึ้น 1.4 เท่า เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ 38 โดยในเดือนกันยายน จากข้อมูลปัจจุบันตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน มีรายงานผู้ป่วยทั้งสิ้น 163 ราย และมีผู้ป่วยที่รายงานเข้ามาระหว่างวันที่ 1-6 ตุลาคม จำนวน 5 ราย โดยมีผู้เสียชีวิต 1 รายจากจังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่ต้นปี ขอนแก่นมีผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิสรวมทั้งสิ้น 61 ราย เสียชีวิต 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 1.64

สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา สัปดาห์ที่ 40

0 ความคิดเห็น
  ข้อมูลองค์การอนามัยโลก ภูมิภาคแอฟริกา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – 8 ตุลาคม 2557ในประเทศที่มีการระบาดในวงกว้าง 3 ประเทศ ได้แก่ กินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน พบผู้ป่วย (รวมทั้งสงสัย/น่าจะเป็น/ยืนยัน) สะสม ๘,๓๗๖ ราย เสียชีวิต ๔,๐๒๔ ราย สำหรับประเทศที่มีผู้ป่วยรายแรกหรือมีการระบาดในพื้นที่จำกัด ได้แก่ ไนจีเรีย เซเนกัล สหรัฐอเมริกา และสเปน พบผู้ป่วยสะสม ๒๓ ราย เสียชีวิต ๙ ราย

          ·      สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 12 ตุลาคม 2557 รายงานเบื้องต้น บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยยืนยันรายแรกที่เดินทางมาจากไลบีเรีย มีอาการไข้และมีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการครั้งแรกให้ผลบวกต่อเชื้อไวรัสอีโบลา (ตรวจที่ห้องปฏิบัติการในรัฐ Texas) นับเป็นการติดเชื้อภายในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก ทั้งนี้สหรัฐอเมริกาแถลงว่าผู้ติดเชื้อรายที่สองนี้ใส่อุปกรณ์ป้องกันการติด เชื้อตลอดเวลาที่เข้าไปให้การดูแลผู้ป่วยรายแรก อย่างไรก็ตามได้มีการส่งตัวอย่างเลือดไปที่ห้องปฏิบัติการของ US CDC เพื่อตรวจยืนยันอีกครั้งหนึ่ง อยู่ระหว่างรอผลการตรวจ
           ·      สเปน พบผู้ป่วยยืนยันรายแรกที่ติดเชื้อภายในประเทศ และนับเป็นการติดเชื้อนอกทวีปแอฟริกาเป็นครั้งแรกของโลก ผู้ป่วยเป็นหญิงอายุ 44 ปี ผู้ช่วยพยาบาลซึ่งอยู่ในทีมที่รักษาบาทหลวง 2 รายที่ติดเชื้อจากแอฟริกาตะวันตกและได้รับการเคลื่อนย้ายเข้ามารักษาที่โรงพยาบาล Carlos III, Madrid แต่เสียชีวิตทั้งสองราย การสอบสวนโรคพบว่าผู้ช่วยพยาบาลรายนี้สัมผัสผู้ป่วยทั้ง 2 รายแบบใส่ชุดป้องกันการติดเชื้อทุกครั้ง สำหรับสาเหตุการติดเชื้อ ตัวผู้ป่วยให้ข้อมูลว่าเกิดขึ้นในขณะที่ถอดชุดป้องกันการติดเชื้อ รวมทั้งมีข้อมูลจากในทีมรักษาว่าผู้ช่วยพยาบาลรายนี้สัมผัสใบหน้าตนเองขณะที่ยังสวมถุงมือ
          ·   สหรัฐอเมริกา แคนาดา และอังกฤษ ได้เพิ่มมาตรการการคัดกรองผู้เดินทางจากประเทศระบาดของอีโบลาที่สนามบินหลักๆของประเทศ


           .....อ่านรายละเอียดทั้งหมดและติดตามรายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลารายวันที่   http://www.boe.moph.go.th/ebola.php

รายงานประเมินสถานการณ์โรคโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ 2012 ในแถบตะวันออกกลาง สัปดาห์ที่ 40

0 ความคิดเห็น
ประเทศซาอุดิอาระเบีย ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข (ข้อมูลถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2557) พบผู้ป่วยโรคโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ 2012 ยืนยัน 760 ราย เสียชีวิต 324 ราย (อัตราป่วยตายร้อยละ 43) ขณะนี้กำลังรักษาอยู่ 7 ราย

            ·         ประเทศซาอุดิอาระเบีย เฉพาะในเดือนกันยายน - ตุลาคม 2557 พบผู้ป่วยยืนยันรวม 18 คน จาก 5 เมือง โดยที่ผู้ป่วยอย่างน้อยสองรายไม่มีประวัติสัมผัสโรคที่ชัดเจน คือไม่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยรายอื่นๆ ไม่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ และไม่ได้สัมผัสสัตว์ พบผู้ป่วยที่เมือง Madinah 1 ราย เป็นชายอายุ 70 ปี มีประวัติสัมผัสอูฐแต่ไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีฮัจจ์แต่อย่างใด 

         ·    สถานการณ์ในประเทศไทย   วันที่ 12 ตุลาคม 2557 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา ร่วมกับ สสจ.นราธิวาส คัดกรองผู้ป่วยเข้าตามนิยามเฝ้าระวังโรคโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ 2012 ที่สนามบินนราธิวาส พบผู้ป่วยอาการทางเดินหายใจมีไข้เกินกว่า 38 องศาเซลเซียสรวม 13 ราย ในจำนวนนี้แพทย์วินิจฉัยสงสัยปอดอักเสบ 1 รายและได้รับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ระหว่างรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

         ·         มีการปรับนิยามในการเฝ้าระวัง ติดตามจากเว็บไซต์สำนักระบาดวิทยา


           .....อ่านรายละเอียดทั้งหมดและติดตามรายงานสถานการณ์โรคโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ 2012 ที่   http://www.boe.moph.go.th/corona_virus2012.php

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

ดีเปรสชันจ่อถล่มไทย-กทม.เสี่ยงท่วม

0 ความคิดเห็น


กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนในช่วงวันที่ 19-21 กันยายนนี้ มีพายุดีเปรสชัน ส่งผลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วน กรุงเทพมหานครและปริมณฑลฝนตก ร้อยละ 80


รายงานจากกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 11 เผยว่า พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ กำลังเคลื่อนที่ทางตะวันตกด้วยความเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในวันนี้ (19 ก.ย. 56) และจะเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวตอนล่างเข้าสู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดมุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ และภาคตะวันออกบริเวณจังหวัด สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราดมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 19-21 กันยายน 2556 ส่วนภาคเหนือมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัด มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และสุรินทร์ ภาคกลางมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา ภาคตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระยอง สระแก้ว จันทบุรี และตราด ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง และพังงา ส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆมากกับมีฝนเล็กน้อยโอกาสมีฝนตก ร้อยละ 80

สมาคมการค้ายาสูบผนึกกำลัง วอน'ประดิษฐ'รู้จักรับฟังบ้าง

0 ความคิดเห็น

สมาคมการค้ายาสูบไทยวอน สธ. รับฟังและพิจารณาความเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนกรณีการเพิ่มขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่เป็นร้อยละ 85



นางวราภรณ์ นะมาตร์ ผู้อำนวยการสมาคมการค้ายาสูบไทยเผยว่า  สมาคมการค้ายาสูบไทย ในฐานะตัวแทนสมาชิกร้านค้าปลีกทั่วประเทศกว่า 1,400 ราย ได้ชื่มชมต่อคำสั่งของศาลปกครองกลางที่ให้ทุเลาการบังคับตามประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่องการเพิ่มขนาดภาพคำเตือนเป็นร้อยละ85 โดยสมาคมการค้ายาสูบไทยและสมาชิกขอขอบคุณที่ศาลปกครองรับฟัง และเข้าใจข้อกังวลต่างๆ จากภาคอุตสาหกรรมผิดกับกระทรวงสาธารณสุขที่ปฏิเสธ ไม่ยอมหารือถึงปัญหาของประกาศกระทรวงฯ ฉบับดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มร้านค้าปลีกและเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ในการตัดสินเรื่องใดๆก็ตาม เจ้าหน้าที่ของรัฐควรรับฟังและพิจารณาความเห็นของประชาชนทุกภาคส่วน และตรึกตรองถึงผลลัพธ์ทางลบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้นๆ เพราะนี่คือวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีที่ประชาชนไทยสมควรจะได้รับ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่บัญญัติในกฎหมายไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในการเดินตามคำแนะนำ ของกลุ่มรณรงค์ต่อต้านในการเพิกเฉยต่อหลักปฏิบัติเหล่านี้ ซึ่งทางเดินของท่านอาจไม่ใช่ทิศทางที่ถูกเสมอไป ถ้าหากท่านยังคงยืนยันที่จะฟังความเพียงข้างเดียว