วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ข้อมูลทางระบาดวิทยา ประจำวันที่ 30 กรกฏาคม 2556

    ข้อมูลทางระบาดวิทยา(Epidemiological information) ประจำวันที่ 30 กรกฏาคม  2556  มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
   สถานการณ์โรคและภัยในต่างประเทศ
1. สถานการณ์โรคติดเชื้อโคโรน่าสายพันธ์ 2012
  
    จากwebsite  http://www.who.int/csr/don/don_updates/en/index.htmlและ http://www.cdc.gov/coronavirus/mers/index.html ขององค์การอนามัยโลกและ Centers for Disease Control and Prevention ประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่ามีรายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรน่าสายพันธ์ 2012 เพิ่มขึ้น 1 ราย ผู้ป่วยรายล่าสุดเป็นชาย อายุ 83 ปี อาศัยใน Assir เริ่มป่วยวันที่ 17 กรกฎาคม 2556 ขณะนี้ยังพักรักษาตัวในโรงพยาบาล นอกจากนั้นมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 รายซึ่งเป็นผู้ป่วยรายเก่าที่อาศัยใน Assir ทำให้ทั่วโลกมีรายงานผู้ป่วยตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 ถึง 29 กรกฎาคม 2556 เป็น 91 ราย เสียชีวิต 46 ราย กระจายตามภูมิลำเนา ดังนี้

     
ประเทศ จำนวนผู้ป่วย (เสียชีวิต)
ฝรั่งเศส 2 (1)
อิตาลี 3 (0)
จอร์แดน 2 (2)
กาตาร์ 2 (1)
ซาอุดิอาระเบีย 71 (39)
ตูนิเซีย 2 (0)
สหราชอาณาจักร 3 (2)
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 6 (1)
รวม 91 (46)



2.สถานการณ์โรคไข้เลือดออก
 2.1  Asia Sub-region และ Pacific Sub-region
       สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศในโซน Asia Sub-region และ Pacific Sub-region  พบว่าประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ และ New Caledonia ยังมีรายงานผู้ป่วยสูงกว่าปีที่ผ่านมา(2555)   นอกนั้นพบว่าแนวโน้มของโรคไข้เลือดออกสูงขึ้นในประเทศกัมพูชา เวียดนาม โดยเฉพาะะอย่างยิ่งสูงมากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว( 11 เท่าตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี พ.ศ 2555) (รายละเอียดดังกราฟแนบ)

3. สถานการณ์ superbug, vancomycin-resistant Enterococcus faecium(VRE)
    การศึกษาของ University of Hong Kong เปิดเผยว่าพบ superbug, vancomycin-resistant Enterococcus faecium(VRE)จำนวน 1ใน 137 batches of pork samples ซึ่งเก็บในเดือนมกราคม 2556 ที่โรงฆ่าสัตว์ในSheung Shui. นอกจากนั้น microbiologist, Ho Pak-leung เสริมว่าการพบในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าเกษตรกรใช้ปฎิชีวะนะจำนวนมากในการ เลี้ยงหมู  มนุษย์ติดเชื้อนี้ได้โดยรับประทานหมูที่ไม่ผ่านการทำให้สุก หรือสัมผัสสัตว์ติดเชื้อ

4.สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก
   4.1 Nepal
        จากข้อมูลของwebsite  www.nepalnews.com/archive/2013/jul/jul30/news02.php     , http://thehimalayantimes.com/fullNews.php?headline=Bird+flu+confirmed+in+Kaski+&NewsID=385413  และhttp://news.xinhuanet.com/english/health/2013-07/29/c_132581374.htm เปิดเผยว่า มีรายงานตรวจพบเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในฟาร์มที่เมือง Bhaktapur  Lamachaur และ  Gharipatan  นอกจากนั้นจากการตรวจค้นหาเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกตามปกติตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2556 พบเชื้อดังกล่าว 12 ตัวอย่างในเขต Bhaktapur, Mahadevsthan, Kirtipur, Ramkot และ Naikap
5. สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่A(H1N1)
  5.1 India
         จากข้อมูลของwebsite http://timesofindia.indiatimes.com/city/delhi/Maximum-swine-flu-cases-from-capital/articleshow/21472797.cms เปิดเผยว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นมาประเทศอินเดียมีผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่A(H1N1) สูงมาก โดยเฉพาะใน Delhi มีรายงานผู้ปวย 1507 ราย เสียชีวิต 16 ราย นอกจากพบว่าที่รัฐ Gujarat มีรายงานผู้เสียชีวิตชีวิตสูงสุด ( 196 ราย)รองลงมาได้แก่ รัฐ Rajasthan (163 ราย)  Maharashtra (90 ราย) Punjab (42 ราย), Haryana (41 รายและ Madhya Pradesh (31ราย) สำหรับโรคนี้มีการระบาดในปี พ.ศ. 2552 มีผู้ป่วย 27236 ราย เสียชีวิต 981 ราย ต่อมาปี พ.ศ. 2553 รายงานผู้ป้วย 20000 ราย ขณะที่มีรายงานผู้เสียชีวิต 1763 ราย   ปี พ.ศ. 2554 และ 2555มีรายงานผู้ป่วยเพียง 603 และ 5044 ราย และผู้เสียชีวิตรวม 480 ราย

สถานการณ์ในประเทศ
1. ไข้เลือดออก
        นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล ผอ.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 เผยว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา ถึงปัจจุบันมียอดผู้ป่วยสะสมรวมกว่า 80,000 คนแล้ว มีผู้เสียชีวิตรวมกว่า 80 คน ส่วนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลางและภาคตะวันตก มี 3 จังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุด คือ นครปฐม สมุทรสงคราม และประจวบคีรีขันธ์ โดยเฉพาะประจวบคีรีขันธ์ พบผู้ป่วยมากที่สุดใน 8 จังหวัด ซึ่ง อ.เมือง และปราณบุรี พบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง      นพ.สมพงษ์ จรุงจิตตานุสนธิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์เผยว่า ขณะนี้ยอดผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่ จ.บุรีรัมย์ พุ่งสูงต่อเนื่อง หลังมีฝนตกชุกน้ำขังในหลายพื้นที่ ล่าสุดพบผู้ป่วยแล้ว 1,200 ราย ส่วนมากเป็นนักเรียนอยู่ในกลุ่มอายุระหว่าง 5-14 ปี 
        ด้านจังหวัดมุกดาหารนายสกลสฤษฎ์  บุญประดิษฐ์ ผวจ.มุกดาหาร พร้อมด้วยหน่วยงานท้องถิ่น ร่วมกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยใช้แผน "ตะลุมบอน” แผนดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้ 5 ยุทธวิธี คือ 1. ประชาสัมพันธ์ผ่านทางเสียงตามสายของชุมชนต่าง ๆ  2. ประชาสัมพันธ์โดยรถเคลื่อนที่ 3. รณรงค์ทำความสะอาดจัดการสิ่งแวดล้อม โดยทีมเทศบาล  4. สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ด้วยการใส่ ทรายอะเบทกำจัด และ 5. ฉีดพ่นเคมีพิชิต ยุงตัวแก่  ส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปัจจุบัน ที่ใน จ.มุกดาหาร พบการแพร่ระบาดอย่างรุนแรง ตั้งแต่ช่วงวันที่ 1 ม.ค.-15 ก.ค. ที่ผ่านมา มีรายงานผู้ป่วยจำนวน 660 คน ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 55 กว่า 10 เท่า โดยมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 1 ราย สำหรับพื้นที่พบ ผู้ป่วยมากที่สุด ได้แก่ ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร  จำนวน 182 ราย และเขตอำเภอเมือง จำนวน 244 ราย

2. สถานการณ์โรคระบาดดื้อยา
          ดร.พิจิตต รัตตกุล ผอ.บริหารศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย เตือนว่า ในอนาคตภัยพิบัติจะเปลี่ยนไป โดยจะมีความถี่มากขึ้น รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นขั้นตอนการรับมือภัยพิบัติแบบเดิมๆ อาจไม่เพียงพอแล้ว จากสถิติของภัยพิบัติทั่วๆ ไป พบว่ามีผู้เสียชีวิตในขณะเกิดภัยพิบัติประมาณ 2 ใน 3 ขณะที่อัตราผู้เสียชีวิตภายหลังเกิดภัยพิบัติสูงถึงร้อยละ 30 โดยภัยพิบัติที่ไทยกำลังจะเผชิญ คือ ภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรง ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนอย่างมาก เช่น ภัยจากภาวะแห้งแล้ง ก่อให้เกิดโรคระบาดที่ดื้อยา โรคระบาดที่มากับน้ำท่วมขังยาวนาน หรือในเขตเมืองก็เกิดปรากฏการณ์โดมแห่งความร้อน จากกิจกรรมที่ระบายความร้อนหรือมลพิษ เช่น แอร์คอนดิชั่น ไอเสียรถยนต์ เมืองก็จะร้อนมาก         
      ด้านนพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการ สพฉ. เผยเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยยังขาดระบบการจัดการภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมในหลายระดับ ทั้งระดับความร่วมมือระหว่างนานาชาติ ระดับประเทศไปจนถึงระดับชุมชน

3. สถานการณ์น้ำท่วม
       นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเผยว่า ช่วงวันที่ 29-31 ก.ค. ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัย 21 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร มุกดาหาร นครพนม หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ตาก สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เชียงราย แพร่ พะเยา และน่าน  ส่วนสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ต่าง ๆ ยังคงวิกฤติ ที่ จ.น่าน  ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ อ.ท่าวังผา   จังหวัดเชียงราย เกิดเหตุดินสไลด์ทับถนนบ้านแสน เมืองโก-บ้านเล่าลิ่ว ต.เทอดไทย เชื่อมต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง  จังหวัดตาก น้ำเมยล้นตลิ่งท่วมตลาดชายแดน นครแม่สอดเป็นอัมพาต การค้าเสียหายหนัก จ.พะเยา สะพาน-ถนนขาด เสียชีวิต 1 ราย  ส่วนจังหวัดนครพนม น้ำป่าทะลักท่วมนาข้าวนับร้อยไร่ ด้านสะพานมอญ อ.สังขละบุรี พังถล่มเพราะสวะบวกแรงน้ำปะทะเสารองรับสะพานจนต้าน ไม่ไหว พัง40 เมตร

4. สถานการณ์น้ำมันรั่ว
    4.1 ระยอง

    เมื่อเวลา 06.50 นวันที่ 27 กรกฎาคม 2556  ท่อน้ำมันดิบของบริษัท พีทีที โกลบอล       เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ขนาด 16 นิ้วรั่วบริเวณทุ่นรับน้ำมันดิบ (Single Point Mooring) ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุด ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร ขณะกำลังส่งน้ำมันมายังโรงกลั่นน้ำมันของบริษัท โดยมีน้ำมันดิบรั่วประมาณ 50,000 ลิตร  29 กรกฎาคม 2556  คลื่นลมทะเลได้พัดคราบน้ำมันขึ้นเกาะเสม็ด   ผู้ว่าราชการจังหวัด ระยองประกาศอ่าวพร้าวเป็นพื้นที่ภัยพิบัติทางทะเล     วันที่ 30 กรกฎาคม 2556 มีรายงานว่า นายจตุรัส เอี่ยมวรนิรันดร์ นายกสมาคมประมงพื้นบ้านเรือเล็ก จ.ระยอง กล่าวว่า บริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด เป็นแนวอนุรักษ์ปะการังที่สวยงามได้รับผลกระทบอย่างมาก ถ้าคราบน้ำมันไม่เข้าชายฝั่งก็เป็นผลดีต่อชายฝัง แต่เป็นผลร้ายต่อชาวประมง สิ่งที่น่าเป็นห่วงหากควบคุมคราบน้ำมันไม่อยู่ กระแสลมที่พัดไปทางเกาะกุฎี เกาะมันนอก เกาะมันใน ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เต่าทะเล จะได้รับผลทบที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีรายงานผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น