วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

สถานการณ์โรคและภัย วันที่ 25 มกราคม 2556

  1. สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่(H3N2)
   1.1 ประเทศในทวีปยุโรป
   จากรายงานของ ECDC พบว่า 19 ประเทศในทวีปยุโรปมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นโดยพื้นที่ที่มีการระบาดเพิ่มมากขึ้นส่วนใหญ่อยุ่ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป   จาการเฝ้าติดตามผลตรวจตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการในสัปดาห์ที่ 2 ของปี2556 จำนวน 1,238  ตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ42  (521 ตัวอย่าง ) ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่  และตั้งแต่ผลจากการตรวจ sentinel specimens สัปดาห์ที่ 40ของปี 2555เป็นต้นมาพบว่า ร้อยละ 47 เป็น type A และ type B ร้อยละ 53  ใน type A subtyped A(H3) พบร้อยละ 48 และ A(H1)ร้อยละ 53  ซึ่งผลการตรวจพบดังกล่าวแตกต่างจากในแถบ North America ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่เป็น A(H3) viruses
1.2            El Salvador
     ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข ประเทศ El Salvador เปิดเผยเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2556ที่ผ่านมาว่า ได้มีการแจ้งเตือนให้มีการป้องกันการระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์ A( H3N2)โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางไปมาระหว่างประเทศจีนและอเมริกา ซึ่งในขณะนี้ในประเทศมีเด็กเสียชีวิตอย่างน้อย 18 รายและรับการรักษาที่โรงพยาบาลอีก 2,000 ราย
1.3            The United State of America
              สถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ระบุขณะนี้ได้เกิดการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ ในเกือบทุกมลรัฐของสหรัฐอเมริกา และได้ขยายตัวไปเกือบครบทุกมลรัฐแล้ว โดยมี 25 มลรัฐอยู่ในระดับที่มีการแพร่ระบาดรุนแรง ใน 4 มลรัฐใหญ่ๆ มีผู้ป่วยและเสียชีวิตแล้ว ดังนี้  มลรัฐอิลลินอยส์ (lllinois) มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล 370 คน เสียชีวิตแล้ว 27 คน   มลรัฐมินนิโซตา (Minnessota) มีผู้ป่วย 1,121 คน เสียชีวิต 27 คน  มลรัฐแคนซัส (Kansas) มีผู้เสียชีวิต 460 คน  และ มลรัฐมิสซูรี (Missouri) เสียชีวิต 20 คน
          ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเด็ก คนชรา และคนเร่ร่อน ซึ่งแต่ละมลรัฐกำลังดำเนินมาตรการ เพื่อป้องกันโรคหวัดให้แก่ประชาชนแล้วอย่างเร่งด่วน ส่วนของคนไทยที่อยู่ใน 4 มลรัฐดังกล่าว รวมจำนวนทั้งสิ้น 16,581 คน ในชั้นนี้ยังไม่ปรากฏข้อมูลว่ามีคนไทยเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ และไม่มีรายงานเกี่ยวกับการขาดแคลนวัคซีนป้องกันโรคไขหวัดใหญ่ในเขตรับผิดชอบของสถานกงสุลใหญ่

1.3 Russia
 The head of Rospotrebnadzor เปิดเผยว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาจำนวนผู้ป่วยจากโรคไข้หวัดใหญ่และการติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรงเกินค่ามาตรฐาน(เกณฑ์ระบาด)ใน 8 เมืองใหญ่ได้แก่  Ryazan  Novosibirsk regions, Bashkortostan, Tatarstan, Chuvashia, Yakutia, Altai Regionและ St. Petersburg ทำให้มีการกำหนดมาตรการต่างๆรองรับโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งได้แก่เด็กและผู้สูงอายุ นอกจากนั้นได้มีการเตรียมความพร้อมในโรงพยาบาลเพื่อรับการระบาดของโรคไข้หวัดH1N1 ด้วย
1.4  The Czech Republic
      โฆษกกระทรวงการสาธารณสุข ของ Czech Republic เปิดเผยว่าการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดหลายพื้นที่โดยเฉพาะเขต Karlovy และ Pilsen ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่ามีรายงานผู้เสียชีวิต 31 ราย และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากโรคแทรกซ้อน 164 ราย
1.5 Korea
     จ้าหน้าที่สนามบินอินชอนเกาหลีใต้ได้เพิ่มการตรวจสอบ ผู้โดยสารจากประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศอื่น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัด ซึ่งมีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นของผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด ซึ่งมีสาเหตุจากไวรัสที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศไวรัสที่แพร่กระจายใน สหรัฐอเมริกาคือ H3N2 แต่ที่แพร่กระจายในเกาหลีเป็น H1N1 ซึ่งแพร่ระบาดในประเทศเมื่อ 3 ปี ที่แล้ว  และสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนผู้ที่ตรวจพบเชื้อเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 3.7 คนใน 1,000 คนซึ่งเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขจะแจ้งเตือนภัยเมื่อเพิ่มจำนวนเป็น 4 คนใน 1,000คน
2.สถานการณ์การติดเชื้อH1N1
   2.1 The Czech Republic
         โฆษกของ Karlovy Vary hospital Barboraเปิดเผยว่าในเขต Karlovy Vary  มีผู้ป่วยยืนยัน 27 ราย มากกว่า 10 รายมีอาการรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาในโรคพยาบาล และเสียชีวิต 4 ราย
   2.2 Poland
         ในเดือนมกราคม 2556 เป็นมาพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A จำนวน  55 ราย  เสียชีวิต 5 รายในเขต Opole Lubelskie
2. 3  Middle East( Palestinian territories, Jordan and Israel)
  อัสซาด อัล รัมลาวี ผู้อำนวยการใหญ่สำนักประกันสุขภาพ ประจำกระทรวงสาธารณสุขปาเลสไตน์ออกมาเปิดเผยผ่านหนังสือพิมพ์ ซาอุดี กาเซ็ตต์ของซาอุดีอาระเบียว่า เฉพาะในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ  H1N1 4 รายในเขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา ทำให้ยอดรวมของผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสชนิดเอช 1 เอ็น 1 ในปาเลสไตน์ล่าสุดเพิ่มเป็นอย่างน้อย 21 รายแล้ว และมีผู้ติดเชื้อทั่วปาเลสไตน์มากกว่า  600 ราย โดยในจำนวนดังกล่าวมี 30 รายอยู่ในเขตฉนวนกาซา
            อับดุลลาติฟ วเรกัต รัฐมนตรีสาธารณสุข ประเทศ จอร์แดนเผยเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า พบผู้เสียชีวิต 2 รายหลังติดเชื้อ H1N1  ในเดือนมกราคม 2556 และพบผู้ติดเชื้อในประเทศมากว่า 95 คนและมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  
             อิสราเอลพบเด็กชาย 3 ขวบเสียชีวิตเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาจากการติดเชื้อไวรัส H1N1 และมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 4 คนทั่วประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้บางรายมีอาการหนักและอาจเสียชีวิตในไม่ช้า
2.4 lebanon
        ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2555 เป็นต้นมาพบผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ H1N1ในประเทศ lebanon 9 รายโดยในเดือนธันวาคม 2555 มีผู้เสียชีวิตที่เมือง SANA 5 ราย และ 4รายที่เมือง Taiz ในเดือนมกราคม 2556   Dr. Salem Sameer No’man, the financial administration manager at the Yemen German Hospital เปิดเผยว่าผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ เป็นผู้ติดเชื้อที่มีภูมิคุ้มกับบกพร่อง
2.5 Iraq
      The Babel health department ยังไม่มีการเปิดเผยสถานการณ์การระบาดในจังหวัดแต่ก็ได้มีการแจ้งเตือนประชาชนในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค
3. สถานการณ์ Nipah encephalitis
  3.1 Bangladesh
    IEDCR [Institute of Epidemiology, Disease Control & Research]เปิดเผยว่ามีรายงานผู้ติดเชื้อ Nipah encephalitis 2 รายที่เมือง Dhaka เสียชีวิต 1 ราย ผู้เสียชีวิตเป็นเด็กชายอายุ 8 ปี ส่วนผู้ติดเชื้ออีก 1 รายเป็นบิดาของผู้เสียชีวิต ซึ่งมีอาการหนัก จากการซักประวัติพบว่าครอบครัวดังกล่าวได้ดื่มน้ำจากผลไม้ที่เก็บมาจาก Bhalukaในวันที่ 11 มกราคม 2556 และเริ่มป่วยในวันที่ 17 มกราคม 2556 เด็กชายเสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2556 ส่วนบิดาเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก Prof Mahmudur Rahmanกล่าวเพิ่มเติมว่าได้มีการส่งตัวอย่างตรวจและได้ผลบวกเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2556

      การระบาดของโรคNipah มีรายงานsporadically ในบังคลาเทศมาตลอด โดยเฉพาะ 2 ปีที่ผ่านมามีการระบาดสูงสุดในช่วงเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม ถึง 5 มีนาคม 2554 มีการระบาดในเขตRangpur มีรายงานผู้เสียชีวิต 35 รายผู้เสียชีวิตมีทั้งเด็กทารก เด็กชาย วัยรุ่นและผู้หญิง
4. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก
 4.1 Nepal
      ผู้บริหารหน่วยงานด้านสุขภาพสัตว์ เปิดเผยว่ามีการระบาดของ H5N1 avian fluในฟาร์มเชิงพาณิชย์ 4 แห่ง ในเขต Gandaki อำเภอ Kaski ในช่วงสัปดาห์แรกของปี 2556 ทำให้มีสัตว์ปีกเสียชีวิต 1112 ตัว และต้องทำลาย 2048 ตัวเพื่อตัดวงจรการระบาด
4.2 Indonesia
        Director of Animal Health Directorate General of Livestock and Animal Health เปิดเผยว่าได้กระจายวัคซีนจำนวน 350000 โด๊สแก่เกาะ Java, Lampung, South Sulawesi และ Bali เพื่อฉีดป้องกันโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก หลังจากมีการแพร่ระบาดของ clade 2.3.2 virusesในเกาะดังกล่าวซึ่งส่งผลให้มีสัตว์ปีก โดยเฉพาะเป็ดตายมากกว่า250000 ตัว
4.3 Bhutan - India

      ต้นเดือนมกราคม 2556 พบการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในประเทศ Bhutanโดยมีการส่งตัวอย่างตรวจที่ India’s High Security Animal Disease Lab in Bhopalประเทศอินเดีย และได้ผลบวก ทำให้ต้องทำลายสัตว์ปีกหลายพันตัว  ขณะนี้ประเทศอินเดียโดยเฉพาะรัฐ West Bengal, Assam, Sikkim และ Arunachal Pradeshได้แจ้งเตือนให้มีการเฝ้าระวังสัตว์ปีกป่วยตามแนวชายแดนอย่างเคร่งครัด

4.4 Egypt
     พบการระบาดของHighly Pathogenic Avian Influenza H5N1ในไก่ของเขต Assfoun เมือง Qina ประเทศ Egyptเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556 มีสัตว์ป่วย 5000 ตัวและต้องทำลายสัตว์ป่วยทั้งหมด
4.5 Germany
     ในเดือนธันวาคม 2555 มีการระบาดของ LP Avian Flu ในสัตว์ปีก 3 ครั้ง ดังนี้
     1 . เชื้อ H5N3 เมื่อวันที่ 20ธันวาคม 2555 ที่ Schleswig-Holstein,Kreis Stormarn มีสัตว์ปีกติดเชื้อ 1,1500 ตัว
   2. เชื้อ H5N2 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2555 ที่ Hessen,Landkreis Kassel Hofgeismar มีสัตว์ปีกติดเชื้อ 90 ตัว
     3. เชื้อ H5N2 เมื่อวันที่ 30  ธันวาคม 2555 ที่ Hessen,Landkreis Waldeck-Frankenberg  สัตว์ปีกติดเชื้อ 59
5. สถานการณ์โรคMeasles
  5.1 Pakistan
      World Health Organisation (WHO) เปิดเผยว่าในเดือนมกราคม 2556 มีรายงานเด็กเสียชีวิต 103 รายภายในเวลา 19 วัน ซึ่ง WHO กล่าวว่า an alarming outbreak”. และมีรายงานผู้ป่วย 63 รายในภาคใต้ของจังหวัด Sindh  และในปี 2555 มีเด็กเสียชีวิตจากโรคนี้มากกว่า 300 ราย

6. สถานการณ์ Polio
   6.1 Pakistan Egypt
        เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของประเทศอียิปต์และทั่วโลกได้กำหนดมาตรการป้องกันโรคโปลิโออย่างเข้มงวดหลังจากมีการแพร่ระบาดจากประเทศ Pakistan และมีการตรวจพบเชื้อดังกล่าวในท่อน้ำเสีย 2 แห่งในเมือง Cairo ประเทศอียิปต์เมื่อเดือนธันวาคม 2555ที่ผ่านมา
7. สถานการณ์การติดเชื้อ norovirus
   7.1 The United States of America
      มากกว่า 1 เดือนพบว่า มีการระบาดของA new norovirus variant(The new genotype II.4 (GII.4) variant, named Sydney)ในประเทศสหรัฐอเมริกา  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเตือนว่าการระบาดของโรคนี้จะเพิ่มมากขึ้นในหลายเดือนที่จะมาถึง เชื้อดังกล่าวมรการตรวจพบว่ามีระบาดครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม2555 ในประเทศออสเตรเลีย และการระบาดครั้งใหญ่ในประเทศอังกฤษ นอกจากนั้นยังมีรายงานพบผู้ป่วยมากขึ้นในประเทศ Netherlands, Japan, Australia, France, และNew Zealand
สถานการณ์ในประเทศ
1. สถานการณ์โรคมาลาเรีย
ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรคเผยว่า สถานการณ์โรคมาลาเรียทั่วโลกในแต่ละปี จำนวนประชากรที่ติดเชื้อมาลาเรียทั่วโลกมีประมาณ 300 ล้านคน เสียชีวิตประมาณ 1 ล้านคน ในจำนวนนี้ร้อยละ 90 เกิดขึ้นในแอฟริกา ส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และในทวีปแอฟริกามีแนวโน้มว่าปัญหาอาจจะเพิ่มมากขึ้น  ส่วนสถานการณ์โรคมาลาเรียในประเทศไทย ปี 55 พบผู้ป่วย 24,723 รายกรมควบคุมโรคเตรียมเปลี่ยนสูตรยารักษา โรคมาลาเรีย เป็นสูตร DHA-PIP หลังเฝ้าระวังทั่วประเทศ 9 จุด พบคุณภาพยาเฉลี่ย 90% ขยายวงขึ้น หรือเชื้อดื้อต่อยาประมาณ 10% ขณะที่ปี 55 พบผู้ป่วยกว่า 24,000 ราย
     นพ.วิชัย  สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค เผยเพิ่มเติมว่า ในปี 2556 กรมควบคุมโรคจะทำการเปลี่ยนยารักษาโรคมาลาเรีย ที่เกิดจากเชื้อพลาสโมเดียม ชนิดฟัลซิปารัม ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความรุนแรงอาจทำให้เชื้อขึ้นสมอง ตับวาย จนถึงเสียชีวิต จากยาอาร์ทีซูเนต (artesunate), ยาเมโฟลควิน (mefloquine) เป็นยาสูตรผสมไดไฮโดรอาทีมิซินิน-พิเพอราควิน(Dihydroartemisininpiperaquin หรือ DHA-PIP) เนื่องจากการเฝ้าระวังเชื้อวัณโรคดื้อยาพื้นที่ 9 จุด ใน 9 จังหวัดตามแนวชายแดนไทย-พม่า ไทย-กัมพูชา ไทย-ลาว และไทย-มาเลเซีย ได้แก่ จ.ระนอง แม่ฮ่องสอน ราชบุรี กาญจนบุรี ตาก อุบลราชธานี จันทบุรี ตราด และยะลา พบว่า คุณภาพยาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 90% หรือเชื้อดื้อต่อยา ประมาณ 10% ซึ่งตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกระบุว่า หากคุณภาพยาต่ำกว่า 90% ควรเปลี่ยนสูตรยาที่ใช้ในการรักษา ดังนั้นกรมควบคุมโรคจะเริ่มทำการเปลี่ยนมาใช้ยา ตัวใหม่ซึ่งเป็นยาสูตรผสมระหว่างไดไฮ โดรอาร์ติมิซินิน กับพิเพอราควิน
2. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก
     สถานการณ์ไข้เลือดออก ณ สัปดาห์ที 2 ปี 2556 ณ วันที่ 16 ม.ค. 2556 กลุมพื้นที่ที่มีผู้ป่วยหนาแน่นพบทางภาคใต้หลายจังหวัด ได้แก่ สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ และนราธวาส ภาคกลางที่นครปฐม นนทบุรี ภาคเหนือยังซ้ำที่นครสวรรค์ พิษณุโลก และเชียงใหม่ยังไม่สงบ ส่วนภาคอิสานยังต้องติดตามสถานการณ์ที่มหาสารคามและสุรินทร์ จุดอื่นดูตามแผนที่ก็มีแนวโน้มอยู่หลายพื้นที่

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น