วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ ประจำวันที่ 23 มกราคม 2556

  สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ ประจำวันที่ 23 มกราคม 2556 (2) มีประเด็นดังนี้
1.     สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่
1.1 Global
องค์การอนามัยโลก ( WHO ) รายงานว่า ในขณะนี้ยังคงพบการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในแถบ อเมริกาเหนือและมีแนวโน้มว่าการระบาดอาจจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยพบว่าอเมริกาเหนือเชื้อที่พบส่วนใหญ่เป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (H3N2) มากกว่า สายพันธุ์ A (H1N1)
หลายประเทศทวีปในยุโรปและทวีปเอเชีย พบการระบาดของไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A(H1N1) มากกว่าในยุโรปและเมริกาเหนือ
บางประเทศใน Eastern Mediterranean และ  the North Africa   ส่วนใหญ่พบเชื้อ Influenza A(H1N1)  
ในทวีปเอเชียเขตร้อน พบการระบาดของไข้หวัดใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังคงมีระดับต่ำอยุ่
ทวีปแอฟริกา ได้พบการระบาดมากที่สุดที่ เมือง Saharan
แถบแคริเบียน อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ การระบาดของไข้หวัดใหญ่ได้ลดระดับลงแล้ว ยกเว้นที่ประเทศโบลิเวีย ที่ยังพบการเพิ่มขึ้นของ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (H3N2)

      1.1  อมริกาเหนือ
การระบาดของไข้หวัดใหญ่ในอเมริกาเหนือพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2555 จนมาถึงในปี 2556 พบว่ามีการระบาดก่อนเวลาที่ได้คาดการณ์ไว้
     1.1.1  ประเทศแคนาดา  พบว่า Influenza-like illness (ILI) ได้มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2555 และค่อยๆลดลงอย่างช้าๆ ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม  ซึ่งอัตราผู้ป่วย ILI ได้ลดลง จาก 67.1/1000 คน  เป็น 58.7 ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม และมีอัตราสูงที่เกิดในกลุ่มเด็กที่มีอายุระหว่าง 5-19 ปี จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันการติดเชื้อได้ลดลงจาก 34.5 เหลือเพียง 32.4 ในช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 2555 ในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม  2556  มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่รายใหม่จำนวน 107 ราย มีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันผลทางห้องปฎิบัติการจำนวน 298 ราย มี 252 รายที่สามารถระบุ type และ subtype ได้ ในจำนวนนี้ ร้อยละ 96.4 ( 243/252) เป็นไข้หวัดสายพันธุ์ A  โดยร้อยละ 51.4 (125/243) เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ( H3N2 ) และร้อยละ 12.1 (5/243) เป็นสายพันธุ์ influenza A(H1N1)  มีเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้ คือ ร้อยละ 54 (162/298) ที่มีอายุสุงกว่า 65 ปี  มีจำนวน คิดเป้น ร้อยละ 14.5 เข้ารับการรักษา ที่ ICU  มีรายงานผู้เสียชีวิตจำนวน 14 รายในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม 2556 ซึ่งในจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดมีเพียง 1 รายที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
     1.1.2  ประเทศ  Mexico  ผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ได้เพิ่มระดับสูงขึ้น  เพิ่มขึ้นจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2555  โดยพบทั้ง  ILI และ Severe acute respiratory infection (SARI) จากการตรวจสอบพบเชื้อ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B มากกว่า สายพันธุ์ A(H3N2) แต่ไม่พบผู้ติดเชื้อ influenza A(H1N1)
      1.2  ทวีปยุโรป
ไข้หวัดใหญ่ ในยุโรปได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในทางตอนเหนือและทางตะวันตก ซึ่งการทดสอบทางห้องปฎิบัติการยืนยันโรค    ตั้งแต่ต้นเดือน ตุลาคม 2555  พบว่าประมาณ ร้อยละ 65 เป็น Influenza A และ ร้อยละ 35 เป็น Influenza B เมื่อทำการเปรียบเทียบอัตราส่วนของ influenza A(H1N1)  เปรียบเทียบกับ A(H3N2) พบว่ามีอัตราสูงกว่าทางอมเริกาเหนือ นอร์เวย์ เป็นประเทศที่มีรายงานการระบาดที่เพิ่มสูงขึ้นทั้ง ILI และ ไข้หวัดใหญ่ โดยเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี ในขณะที่  Belgium, Denmark, Germany, Iceland, Ireland, Slovakia, and Sweden มีการระบาดอยู่ในระดับกลาง ใขณะที่ ฝรั่งเศษและอิตาลี ก็มีรายงานเช่นเดียวกันเมื่อ3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
      1.3 Northern Africa and the eastern Mediterranean region
       การระบาดของไข้หวัดใหญ่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เชื้อที่พบเป็น A(H1N1) ยกเว้นที่ แอลจีเรียและปากีสถาน ที่พบ influenza B และที่อิยิปต์ พบ  A(H3N2)
     1.4  ทวีปเอเชีย
ประเทศมองโกเลีย จำนวนผู้ป่วย  ILI ได้ลดจำนวนลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงสัปดาห์ก่อน  สายพันธุ์ที่พบส่วนใหญ่เป็น Influenza A(H3N2)  เป็นสายพันธุ์ทั่วไปที่พบมากที่สุด  เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาได้พบผู้ป่วยที่มีอาการที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ rhonovirus และ coronavirus ในมนุษย์  การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้เพิ่มสุงขึ้นทั้งในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่งได้ตรวจพบว่าสายพันธ์ที่ก่อโรคในญี่ปุ่นคือสายพันธ์ A(H3N2) ส่วนในเกาหลีพบทั้ง A(H3N2) and A(H1N1)
ในประเทศศรีลังกา ยังไม่พบการระบาดเพิ่มขึ้น เชื้อที่พบส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์A(H3N2) และ influenza B  กัมพูชาและประเทศไทยพบInfluenza A(H3N2) และ  influenza B viruses  ส่วนสถานการณ์ในสิงคโปร์และจีนใต้ ร่วมไปถึงฮ่องกง พบว่าจำนวนผู้ป่วยต่ำกว่าในช่วงฤดูกาลระบาด ขณะที่ทางตอนใต้ของจีนพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยพบ 56 คนจากทั้งหมด 1089 คน (ร้อยละ 5.1 ) โดย 46 คน (ร้อยละ 82) เป็น influenza A และ 10 คน( ร้อยละ 18 ) เป็น influenza B ที่ไม่ทราบสายพันธ์ สำหรับ subtype ของ influenza A ที่พบคือ ร้อยละ 82เป็น A(H3N2) และร้อยละ18เป็นA(H1N1)
        1.5 Tropical countries of the Americas
1.5.1  อเมริกากลางและแคริบเบียน ไข้หวัดใหญ่ได้ระบาดในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม 2556 และเริ่มลดลงเมื่อเทียบกับช่วงสัปดาห์ก่อน
1.5.2  อเมริกาใต้ ไข้หวัดใหญ่ได้ลดลงในช่วงสัปดาห์แรกของปี 2556 ยกเว้นที่ ปารากวัยและโบลิเวีย ที่ยังคงพบผู้ติดเชื้อ ซึ่งที่ปาราวัยได้พบทั้งเชื้อ A(H3N2) and influenza B, ในขณะที่โบลิเวีย มีการระบาดเพียงแค่สายพันธ์ of A(H3N2) เท่านั้น
1.5.3ประเทศสหรัฐอเมริกา
   การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่H3N2 ในประเทศสหรัฐอเมริกายังมีอย่างต่อเนื่องล่าสุดพบการระบาด 48 รัฐ  สำหรับรัฐ อิลลินอย 1 สัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิต 23 ราย
   1.5.4  ปาเลสไตน์    ยอดชาวปาเลสไตน์ที่เสียชีวิตด้วยไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นถึง 17 ราย รัฐมนตรีกระทรวงสาสุขได้ประกาศเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า สำหรับชาวปาเลสไตน์ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สุงอายุ สาเหตุมาจาก virus (H1N1 ที่รุ้จักกันว่า ไข้หวัดใหญ่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย
1.5.5  Gaza  มีจำนวนของผู้เสียชีวิตทั้งหมด 21 รายและผู้ป่วยอีกจำนวน 600ราย  ซึ่งพบการระบาดตั้งแต่เริ่มฤดูหนาว  มีสาเหตุเนื่องมาจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล influenza (H3N2)  

2.     สถานการณ์การติดเชื้อNorovirus
นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า เชื้อ norovirus ยังคงแพร่ระบาดในอังกฤษ ยุโรปและอมเริกา โดยมีชาวออสเตรเลียติดเชื้อประมาณครึ่งล้านในฤดูหนาวนี้ การกลายพันธ์ของเชื้อ norovirus (Sydney 2012) ได้ถูกค้นพบเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดย University of NSW และ The Prince of Wales Hospital
the nation's Health Protection Agency ได้กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า Norovirus ชนิดดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ที่พบมากในอังกฤษ โดยมีการติดเชื้อนี้ประมาณ 1.2 ล้านคน และส่งผลให้ต้องปิดโรงพยาบาลหลายแห่ง เพื่อป้องกันการควบคุมและป้องกันการกระจายของโรค  มีการคาดเดาด้วยว่า Norovirus เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการเกิดโรคระบาดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารเมื่อไม่นานนี้ในกลุ่มลูกเรือหลายคน
Professor White from the UNSW science faculty ได้คาดการณ์ว่า จะมีชาวออกเตรเลียติดเชื้อ norovirus มากกว่า 400,000 คน ในฤดูหนาวนี้และสายพันธุ์ที่พบจะเป็นสายพันธุ์ทั่วไปที่พบได้บ่อย คาดว่าโรคนี้จะเกิดกับเด็ก  ผู้ดูแลเด็ก  และอาจจะมีการติดเชื้อในตึกผู้ป่วยในได้  โดยตัวเชื้อไวรัสนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอาเจียนและท้องเสีย เป็นเวลา 1-3 วัน อาจทำให้เสียชีวิตได้ในผุ้ที่มีร่างกายอ่อนแอ รวมไปถึงในผู้สุงอายุ   นอกจากนี้ผู้ที่ติดเชื้อควรจะพักประมาณ 48 ชั่วโมงหลังจากหาย ก่อนที่จะกลับไปทำงานอีก ในส่วนของโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงเด็กเล็ก ควรจะมีการป้องกันการแพร่กระจายของโรค


3.     สถานการณ์ Cholera
3.1 เฮติ
The Pan American Health Organization (PAHO) รายงานว่าจากข้อมูลล่าสุดของสัปดาห์นี้พบว่ามียอดผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ Cholera ในเฮติถึง 638,511 ราย ตั้งแต่เริ่มมีการะบาดเมื่อเดือนตุลาคม 2553 มีผู้ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจำนวน 352,532 และเสียชีวิต 7,943 ราย  อัตราผู้เสียชีวิตได้เพิ่มขึ้นจาก 0.7% ใน Port-au-Prince เป็น 4.0 % ใน Grand Anse สถานการณ์ใน Dominican Republic ที่ซึ่งมีการระบาดเริ่มขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 โดยมีจำนวนถึง 29,490 รายและมีผู้เสียชีวิต 426 ราย มีรายงานด้วยว่ามีการยืนยันที่คิวบาว่ามีผู้ป่วยด้วยเชื้อ Cholera 51 รายในปีนี้จนถึงวันที่ 14 มกราคม 2556

3.2 Cuba
ขณะนี้หลายประเทศได้ประกาศเตือน นักท่องเที่ยวในคิวบาหลังมีการะบาดของเชื้อ Cholera  ทางCuba’s Public Health Ministry  รายงานว่า มีผู้ป่วยด้วยเชื้อ Cholera รายใหม่ 51 รายที่ Havana และมีอีกหลายประเทศที่มีการแจ้งเตือนในการเฝ้าระวังนักท่องเที่ยวและผู้ที่เดินทางมากจากประเทศคิวบา 
สำนักข่าว Fox News Latino  ได้รายงานว่า สถานฑูตอังกฤษ ในเมือง Havana  ได้ประกาศให้คำแนะนำแก่นักท่องเที่ยว โดยมีกระตุ้นให้ประชาชนที่มีอาการท้องเสียให้เฝ้าระวังและสังเกตอาการหากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที  
4.     สถานการณ์ coronavirus

พบว่า Human Betacoronavirus 2c EMC/2012 มีความสัมพันธ์กับไวรัสที่มีในค้างคาว ใน Ghana and Europe   ได้มีการตรวจอุจจาระของ ค้างคาว จำนวน 4,758 ตัวจาก Ghana และ 272 ตัวจาก 4ประเทศในทวีปยุโรป เพื่อตรวจหา เชื้อ Betacoronovirus ซึ่งเป็นไวรัสที่มีความสัมพันธ์กับเชื้อ betacoronovirus EMC/2012 ในคนซึ่งไม่เคยพบมาก่อน จากการตรวจพบเชื้อดังกล่าวในค้างคาวพันธุ์Nycteris จำนวน 46 ตัวจากทั้งหมด 185 ตัวและ พบในค้างคาวพันธุ์ Pipistrellus 40 ตัวจากทั้งหมด 272 ตัว ในเดือน สิงหาคม 2555 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วโลกได้รับแจ้งว่า มีผู้ที่ป่วยด้วย severe respiratory disease ซึ่งมีสาเหตุจาก novel hCoV ไวรัสนี้เกี่ยวโยงกับ EMC/2012 และ 2c betacoronavirus clade ซึ่งมีอยุ่แค่ในค้างคาวพันธุ์ Tylonycteris bat coronavirus HKU4 and Pipistrellus bat coronavirus HKU5 เท่านั้น


5.     สถานการณ์โรคไข้หวัดนก
Asian Influenza Research Center (AIRC) Airlangga University ได้พบว่า โรคไข้หวัดนกที่พบแพร่กระจายเป้นเวลากว่า 2 สัปดาห์ในเกาะชวาตะวันออกนั้น ได้มีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ โดยทีมนักวิจัยได้มีการเตรียมวัคซีนเพื่อรับมือการแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัดนกในคนแล้ว
Dr. CA Nidhom ได้อธิบายเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก (H5N1) ว่าในขณะนี้ทั่วประเทศมีมากกว่า 9 สายพันธ์ โดยตั้งแต่เริ่มมีโรคไข้หวัดนกในปี2546 สายพันธุ์ที่พบในอินโดนีเซียคือสายพันธ์ที่ 2
ในอินโดนีเซีย พบว่ามีมากกว่า 2 สายพันธ์  สายพันธุ์ 2.1 นั้นได้แพร่กระจายในปี 2546ต่อจากนั้นก็เริ่มมี sub variant 2.1.1 ในไก่ แต่ในปี 2548 สายพันธ์ที่ 2 ได้กลับมาระบาดอีกครั้งในสัตว์ปีก หมู แมวและสัตว์อื่นๆ นอกจากนี้การพัฒนาสายพันธ์ย่อย 2.1.3 ยังได้เกิดขึ้นในคนด้วย
 สำหรับเชื้อที่แพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ไม่ได้มาจาก อินโดนีเซีย  แต่เป็นสายพันธ์ 2.3.2 และสายพันธ์ดั้งเดิมของจีน ขณะนี้ทางการจีนได้มีการเฝ้าระวังการกลายพันธ์ด้วย
            สำหรับเกาะสุมาตราตอนเหนือไวรัสไข้หวัดนกที่กำลังระบาดในอำเภอ Hasundutan North Sumatra (North Sumatra) มีไก่ตายจำนวน 50 ตัวและติดเชื้ออีกจำนวนมาก.


สถานการณ์ภายในประเทศ             
1.สถานการณ์โรคไข้เลือดออก
     นพ.วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักงานโรคติดต่อโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกตลอดปี 2555 ถือว่าน่าเป็นห่วง เนื่องจากพบผู้ป่วยจำนวน 76,351 ราย เสียชีวิต 82 ราย แต่ในปี 2556 มีความน่าเป็นห่วงกว่ามาก เพราะตัวเลขผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 1-14 ม.ค. 2556 พบว่า มีผู้ป่วยแล้ว 1,079 ราย แต่ยังไม่พบผู้เสียชีวิต ที่สำคัญขณะนี้ยังเป็นช่วงฤดูหนาว ไม่ใช่ฤดูฝนหรือฤดูการแพร่ระบาด แต่กลับพบรายงานตัวเลขผู้ป่วยแล้วกว่าพันราย โดยพบผู้ป่วยสูงสุดที่ภาคใต้ อาทิ สงขลา กระบี่ พัทลุง และพังงา เป็นต้น รองลงมาคือภาคกลาง ทั้งนี้ สธ.คาดการณ์ว่าปี 2556 จะพบผู้ป่วยไข้เลือดออกสูงถึงประมาณ 1-1.2 แสนราย และเสียชีวิตประมาณ 100 ราย
2.สถานการณ์โรคปอดบวม
      นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากรายงานของสำนักระบาดวิทยา ปี 2555 พบผู้ป่วยปอดบวมทั่วประเทศจำนวน 194,094 ราย เสียชีวิต 1,255 ราย โดยกลุ่มที่พบว่าป่วยสูงที่สุดคือเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีสูงถึง 74,277 ราย เสียชีวิต 227 ราย รองลงมาพบในกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี จำนวน 40,497 ราย เสียชีวิต 222 ราย ซึ่งในปี 2556 นี้ตั้งแต่ 1-14 มกราคม พบผู้ป่วยโรคปอดบวมแล้ว 3,037 ราย เสียชีวิต 4 ราย
โดยทั่วไปไข้หวัดเป็นโรคติดต่อที่ไม่อันตราย ติดต่อกันจาการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยเชื้อจะแพร่กระจายมาจากน้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วยโดยตรง หรือติดมากับสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย เริ่มแรกมักมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำๆ คัดจมูก ไอจาม ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย อาการมักหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ โดยหลังจากวันที่ 3 อาการควรจะเริ่มดีขึ้น ไข้ลดลง อาจไอต่อไปได้อีก 1-2 สัปดาห์ แต่หากยังไม่ดีขึ้นและมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ มีไข้สูง ไอมาก หายใจหอบเร็ว น้ำมูกเปลี่ยนสีจากสีเหลืองอ่อนๆ เป็นสีเขียว ขอให้สงสัยว่าอาจมีโรคแทรกซ้อนที่ปอด ที่สำคัญคือโรคปอดบวมหรือที่เรียกว่าปอดอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรง เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตมากที่สุด โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ
       นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อว่า จากการติดตามสถานการณ์โรคทางเดินหายใจในช่วงหน้าหนาวในพื้นที่ภาคเหนือ เช่นที่รพ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ขณะนี้มีผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเข้ารักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น และพบโรคปอดบวม 87 ราย จึงขอแนะนำประชาชนหากป่วยเป็นไข้หวัดขอให้นอนพักให้มากๆ และอาจกินยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล อาการจะดีขึ้นเรื่อยๆ แต่หากไข้สูงเกิน 3 วัน ไอมากและเจ็บหน้าอก ต้องพบแพทย์ ส่วนในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หากป่วยเป็นไข้ พ่อแม่ต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ให้เด็กดื่มน้ำหรือนมบ่อยๆ นอนให้เพียงพอ กินอาหารที่ย่อยง่าย เช่นโจ๊ก หากมีไข้ให้เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาและให้กินยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล อาการไข้หวัดจะค่อยๆ ดีขึ้น ไข้ลดลง และหายป่วยประมาณ 1 สัปดาห์ แต่หากยังไม่ดีขึ้นใน 3 วันหรือเด็กมีอาการซึมลง ไม่กินน้ำไม่กินนม หรือมีอาการไข้สูง ไอ หายใจหอบเร็ว หายใจมีเสียงฮืดหรือเสียงหวีด หายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคปอดบวม ให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก อันตรายต่างๆจะน้อยลง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น