วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ ทั้งในและต่างประเทศ ประจำวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555

   สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ   ทั้งในและต่างประเทศ ประจำวันที่ 7 พฤศจิกายน  2555  มีประเด็น ดังนี้

ข่าวต่างประเทศ
1.     สถานการณ์การติดเชื้อโคโลน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่ 2012
1.1    Saudi Arabia
             กระทรวงสาธารณสุข ประเทศซาอุดิอาระเบีย เปิดเผยว่าพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโคโลน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่ รายที่ 2 ของประเทศ หลังจากมีรายงานผู้เสียชีวิตอายุ 60 ปีซึ่งยืนยันการติดเชื้อดังกล่าวในเดือนกันยายน 2555 และนับว่าเป็นผู้ติดเชื้อเป็นรายที่ 3 ของโลกหลังจากพบว่ามีผู้ป่วยชาวกาตาร์ อายุ 49 ปีที่เข้ารับการรักษาที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและมีอาการดีขึ้น     ผู้ป่วยรายนี้เป็นชายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่กรุงริยาร์ด ด้วยอาการ pneumonia ที่มีสาเหตุจากเชื้อ novel Coronavirus ปัจจุบันผู้ป่วยอาการดีขึ้น  จากการสอบสวนโรคผู้รายที่ 3 ของโลกพบว่าไม่มีประวัติเชื่อมโยงทางระบาดวิทยากับ 2 รายแรก แพทย์ที่โรงพยาบาลได้มีการเก็บตัวอย่างตรวจที่ regional MoH laboratories และ an international reference centreนอกประเทศ จากการตรวจ RT-PCR ได้ผลบวกต่อ nCoV upE  จากการเฝ้าระวังผู้สัมผัสที่เป็นบุคคลภายในครอบครัว บุคคลอื่นๆรวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขยังไม่พบว่ามีอาการผิดปกติ ผู้ป่วยรายนี้ไม่มีประวัติการเดินทางออกจากกรุงริยาร์ด  แต่ก่อนป่วย 1 สัปดาห์ผู้ป่วยมีประวัติไปเที่ยวฟาร์มแห่งหนึ่ง  อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่ทราบว่าผู้ป่วยรายนี้ไปรับเชื้อจากที่ใด เมื่อไหร่และอย่างไร ซึ่งจะได้มีการสอบสวนต่อไป

2. สถานการณ์โรค Yellow Fever

    2.1 Sudan

      กระทรวงสาธารณสุข ประเทศซูดาน เปิดเผยสถานการณ์โรค Yellow Fever ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 ว่าพบผู้ป่วยสะสมเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 143 ราย เสียชีวิต 63 ราย  กระจายที่southern regions westของเขต El-Geneina ใน West Darfur และ Central Darfur ขณะนี้ State Health Ministry of South Darfurได้มีการเตรียมวัคซีนไว้ 9 ล้านโด๊สสำหรับฉีดให้ประชาชนเมือง Darfur

3. สถานการณ์ Drug-resistant malaria

   3.1 Thai-Myanmar border

          สถานการณ์ Drug-resistant malariaเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชายแดนไทย-พม่า เขต Tai Muang ซึ่งอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี (ห่างจากชายแดนพม่า 10 กิโลเมตร) Wittaya Saiphromsud, head of the Vector Borne Disease Centre อำเภอ Sai Yok จังหวัดกาญจนบุรีเปิดเผยเพิ่มเติมว่าในปีนี้ผู้ป่วยเชื้อมาลาเรียดื่อต่อการรักษาด้วย artemisinin/mafloquine เพิ่มจาก 41 ราย เป็น 207 ราย

 

 4. สถานการณ์โรค Rift Valley fever

   4.1 Mauritania

      กระทรวงสาธารณสุข ประเทศ Mauritania ได้มีการประกาศการระบาดของโรค Rift Valley fever เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2555 ว่า ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2555(onset ของ index case) ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2555 พบผู้ป่วย 34 ราย เสียชีวิต 17 ราย  โดยรายล่าสุดได้รับรายงานเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2555 ที่ Magta Lahjar ในเขต Brakna  สำหรับ 6 เขตที่พบผู้ป่วย/เสียชีวิต ได้แก่ Assaba, Brakna, Hodh Chargui, Hodh Gharbi, Tagant และ Trarza จากการตรวจตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการในคน  โดย ELISA and PCR ที่the National Reference Laboratory of the National Institute of Public Health Research (INRS)ใน Nouakchott และ the Institut Pasteur ใน Dakar พบว่า25 ตัวอย่าง พบเชื้อดังกล่าว  ด้านการติดเชื้อในสัตว์ที่มีการสำรวจโดย   the National Veterinary Research Laboratory พบว่าเชื้อนี้มีการกระจายในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ  และจากการสอบสวนโรคผู้ป่วย/ผู้เสียชีวิตทั้งหมดมีประวัติสัมผัสสัตว์  ในระหว่างวันที่ 3 ข 10 พฤศจิกายน 2555 The international team of experts ได้เข้าไปช่วยประเทศ  Mauritania ในการควบคุมโรคนี้ 

     ประเทศ Mauritaniaเคยมีการระบาดของโรค Rift Valley fever เมื่อปี พ.ศ. 2553
       Rift Valley fever (RVF)  เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนซึ่งพบครั้งแรกที่ประเทศ Kenya เมื่อปี พ.ศ. 2474 โดยเป็นmosquito-borne disease ผู้ป่วยติดเชื้อโดยการสัมผัสโดยตรงหรือทางอ้อมกับเลือดหรืออวัยวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ และการถูกยุงที่ติดเชื้อดังกล่าวกัด
5. สถานการณ์โรคEBOla
   5.1 ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
       กระทรวงสาธารณสุขสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกยืนยันเมื่อวันพุธ (31 ..) ว่า ไวรัสอีโบลาได้หวนกลับมาระบาดเป็นรอบที่ 2 ในปีนี้ หลังการระบาดรอบแรกที่เกิดขึ้นทางภาคตะวันออกของประเทศเมื่อหลายเดือนก่อนทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 32 ราย จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด 72 ราย

      รายงานข่าวระบุว่า ทางกระทรวงฯ กำลังประสานขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญนานาชาติในการรับมือกับการกลับ มาระบาดของเชื้อดังกล่าวรอบใหม่ที่คร่าชีวิตประชาชนไปแล้ว 25 คน จากจำนวนผู้ติดเชื้อ 52 ราย ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เผยว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีอาการเลือดไหลออกจากดวงตา หู ผิวหนัง จมูก และปาก ก่อนเสียชีวิต

     พื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางของการระบาดรอบใหม่นี้อยู่ที่เขต โอต์-อูเอเลในจังหวัดโอเรียนตาล ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกซึ่งอยู่ติดกับพรมแดนของเพื่อนบ้านอีก 3 ประเทศ คือ ยูกันดา สาธารณรัฐแอฟริกากลาง และซูดานใต้ ทั้งนี้ ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนตัวใดสามารถยับยั้งเชื้อชนิดนี้ได้
    
  5.2 Indonesia

          นักวิจัยศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัยแอร์ลังกาในเมืองสุรา บายา เขตชวาตะวันออกในอินโดนีเซียพบเชื้อไวรัส อีโบลาในลิงอุรังอุตังหลายตัวบนเกาะกาลิมันตันหรือบอร์เนียวของอินโดนีเซีย ในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม 2548-ธันวาคม 2549 และ  ผลวิจัยดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณเตือน นักวิจัยเก็บตัวอย่างและแช่แข็งไว้ตั้งแต่เมื่อปี 2549 เนื่องจากยังไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสม สำหรับการทดสอบ จนกระทั่งเมื่อปีที่แล้ว และพบว่า มี 6 ตัวอย่าง จาก 353 ตัวอย่าง มีเชื้อไวรัสมาร์เบิร์ก ซึ่งคล้ายคลึงกับเชื้อไวรัส อีโบลา นอกจากนี้ ยังพบว่า 60 ตัวอย่าง จาก 65 ตัวอย่างที่ตรวจหาไวรัสอีโบลา มีเชื้อไวรัสแบบเดียวกับที่พบในแอฟริกา และมีเพียง 5 ตัวอย่างที่พบเชื้อแบบเดียวกับไวรัสอีโบลาที่พบในเอเชีย อย่างไรก็ตาม ลิงอุรังอุตังเป็นลิงที่พบเฉพาะบนเกาะกาลิมันตัน และสุมาตราของอินโดนีเซียเท่านั้น

6. สถานการณ์โรค Marburg

   6.1 Uganda

       กระทรวงสาธารณสุข ประเทศยูกานดามีการประกาศเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2555 ว่ามีการระบาดของโรค Marburg ในประเทศ  ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2555 มีผู้ป่วย 18 ราย เสียชีวิต 9 ราย  13 รายยังคงพักรักษาตัวในโรงพยาบาล(2 รายที่ Kampala, 8 รายใน Kabale, 3 รายใน Ibanda) อัตราป่วยตายร้อยละ 50  ผู้ป่วย/เสียชีวิตกระจายใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอKabale , Kampala (the capital city), Ibanda, Mbarara และKabarole. จากการตรวจเลือดจากผู้ป่วย 9 รายที่ the Uganda Virus Research Institute (UVRI) พบยืนยันการติดเชื้อ Marburg virus

       ขณะนี้The World Health Organization (WHO) และ international partners ซึ่งได้แก่ the USA Centers for Disease Control and Prevention (CDC), the Uganda Red Cross (URCS), African Field Epidemiology Network (AFENET) และ Médecins-Sans-Frontières (MSF) ได้เข้าไปควบคุมการระบาดในพื้นที่ที่มีการระบาดแล้ว

       Marburg virus  พบครั้งในประเทศยูกานดาเมื่อปี 2510 จากนั้นก็พบการระบาดอีกครั้งเมื่อปี 2550 ที่อำเภอ Kibaale การระบาดในครั้งนั้นพบผู้เสียชีวิต 17 ราย สำหรับการระบาดในปีนี้จึงถือได้ว่าเป็นการระบาดอีกครั้งในรอบ 5 ปี  Marburg hemorrhagic fever (Marburg HF)มี African fruit bats เป็นพาหะนำเชื้อ อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ทราบว่าไวรัสดังกล่าวติดต่อจากค้างคาวสู่คนอย่างไร แต่ก็คาดว่าผู้ป่วยติดเชื้อนี้ได้จากเลือดหรือสารคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อ หรือลิงติดเชื้อ ดังนั้นผู้สัมผัสที่ใกล้ชิดผู้ป่วย/เสียชีวิตจึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุด   ขณะนี้CDCยังไม่มีข้อแนะนำในการจำกัดการเดินทางเข้าประเทศยูกานดา เพียงแต่ให้คำแนะนำผู้ที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศยูกานดาเท่านั้น

 

 

 

7. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก
   7.1 Viet Nam

       วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 พบการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในอำเภอ Nha Trang, Ninh Hoa และ Van Ninh ทำให้ต้องฆ่าสัตว์ปีก 2000 ตัวเพื่อตัดวงจรการระบาด


        การระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกของประเทศเวียดนามในปีนี้มีการระบาด 32 จังหวัดและหัวเมืองใหญ่  นอกนั้นมีจังหวัดและหัวเมืองใหญ่มากกว่า 7 แห่ง โดยเฉพาะจังหวัด/หัวเมืองที่อยู่ระหว่างจังหวัด Lang Son ถึง Quang Ngai พบว่าเชื้อไข้หวัดนกเป็น new strains(The 2.3.2.1 C strain )ที่มีความรุนแรงสูง ประกอบกับมีการเคลื่อนย้ายสัตว์อย่างผิดกฎหมายจากประเทศจีนมายังชายแดนที่ติดกับประเทศเวียดนามยังมีมากขึ้น ทำให้สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกของประเทศเวียดนามมีมากขึ้น


7.2 Bangladesh

     Department of Livestock Services (DLS) ประเทศบังคลาเทศเปิดเผยว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมามีการตรวจพบเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีก(ไก่) ในฟาร์มของเขต Kapashia ในอำเภอ Gazipur ทำให้ต้องฆ่าไก่มากกว่า 4,000 ตัว เพื่อตัดวงจรการระบาด

7.3 China

    Zhejiang Inspection and Quarantine of animals and plant ของประเทศจีนเปิดเผยว่าได้สั่งห้ามการนำเข้ารังนก( bird's nest)จากประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากอาจจะมีการปนเปื้อนเชื้อ highly pathogenic avian influenza virus  เนื่องจากขบวนการผลิตมี high-temperature sterilizationไม่เพียงพอ


8. สถานการณ์การปนเปื้อนของเชื้อ Salmonella ในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง
    8.1 The United State of America    
        บทสรุปการดำเนินงานของ Sunland, Inc การระบาดของเชื้อ Salmonella Bredeneyในเดือนกันยายน 2555 ซึ่งมีผู้ป่วย 38 ราย เกิดจากกระบวนการผลิต the peanut butter ซึ่งบริษัทจะเริ่มผลิตสินค้าขึ้นใหม่ภายในปลายปีนี้   บริษัทแห่งนี้ได้มีการหยุดผลิตสินค้าทุกชนิดในเดือนกันยายน 2555 หลังจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีการตรวจพบการระบาดของเชื้อSalmonella Bredeneyในผู้ป่วยที่พบว่ามีความเชื่อมโยงกับ peanut butter และผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสงทั้งหมดที่ผลิตโดยบริษัท  และมีการตรวจพบเชื้อดังดังกล่าวในสิ่งแวดล้อมในโรงงานผลิต
      
      The U.S. Food and Drug Administrationมีการตรวจสอบขั้นตอนขั้นตอนในการผลิตทั้งหมดแล้ว คาดว่าจะอนุญาตให้บริษัทดังกล่าวเริ่มผลิตสินค้าขึ้นอีกครั้ง




9. สถานการณ์การระบาดของโรคเยื่อหุ้มสมองจากการฉีดยา
    steroidที่ปนเปื้อนเชื้อรา
   9.1 The United State of America    
        กรณีที่พบผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราที่เกิดจากการฉีดยาประเภท steroidที่ปนเปื้อนเชื้อราเพื่อลดอาการปวดหลัง ข้อมูลในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 419 ราย เสียชีวิต 30 ราย กระจายใน 30 รัฐของประเทศอเมริกา
จากการสอบสวนพบว่ายาที่นำมาฉีด ได้แก่ methylprednisolone acetate (preservative free)  ผลิตโดยบริษัท New England Compounding Center (NECC) ที่ตั้งที่ Framinghamรัฐแมสซาซูเซสท์  ซึ่งเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 บริษัทดังกล่าวได้มีการเรียกคืนยาดังกล่าว 3 Lots  จากการตรวจยืนยันการปนเปื้อนของเชื้อราในยาดังกล่าวพบเชื้อ fungus _Exserohilum rostratum ใน 2 Lots ได้แก่  Lot 06292012@26 และLot 08102012@51 นอกจากนั้ยังพบเชื้อราRhodotorula laryngisและRhizopus stolonifer อย่างไรก็ตามจากการตรวจเชื้อในผู้ป่วยพบว่ามีเพียงเชื้อรา_Exserohilum rostratum เท่านั้น


       สถานการณ์ในประเทศ

      1. สถานการณ์โรคคอตีบ

        นพ.โสภณ  เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยภายหลัง ประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด 15 จังหวัด ในพื้นที่พบผู้ป่วยผู้สงสัยป่วยโรคคอตีบ และพื้นที่เสี่ยงที่อยู่ติดกับพื้นที่พบผู้ป่วย ได้แก่ เลย หนองบัวลำภู เพชรบูรณ์ อุดรธานี สุราษฎร์ธานี สกลนคร พิษณุโลก ชัยภูมิ ขอนแก่น เชียงราย หนองคาย พิจิตร อุตรดิตถ์ บึงกาฬ และน่าน เพื่อติดตามสถานการณ์และการควบคุมป้องกันโรคคอตีบในแต่ละพื้นที่ว่า จากการติดตามสถานการณ์ใน 15 จังหวัด พบว่าสถานการณ์ดีขึ้น ตลอดเดือนตุลาคมที่ผ่านมาพบผู้ป่วยยืนยันรายใหม่เพียง 4 ราย ใน 3 จังหวัด 4 อำเภอ ประกอบด้วย จ.เลย 2 ราย พบ 2 อำเภอ เพชรบูรณ์ 1 อำเภอ และสุราษฎร์ธานี 1 อำเภอ จังหวัดละ 1 ราย รักษาหายทุกราย
       พร้อมทั้งได้เน้นย้ำให้ทั้ง 15 จังหวัดที่พบผู้ป่วยผู้สงสัยป่วยโรคคอตีบ และพื้นที่เสี่ยงให้ประชุมวอร์รูมจังหวัดเพื่อคงมาตรการควบคุมป้องกัน โรคอย่างเข้มข้นต่อเนื่องและให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบปูพรมแก่ประชาชนทุกคนในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยยืนยันป่วยโรคคอตีบ และให้ อสม.เคาะประตูบ้านติดตามอาการของผู้ป่วย ค้นหาผู้ป่วยหรือผู้ที่มีอาการสงสัยอาจจะป่วยในพื้นที่ เพื่อเข้าสู่ระบบการรักษา ส่วนพื้นที่ที่อยู่ติดพื้นที่ที่พบผู้ป่วยยืนยันและพื้นที่ที่พบผู้ป่วยมี อาการสงสัยอาจป่วยเป็นคอตีบ ขอให้ฉีดวัคซีนให้เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีทุกคน และฉีดวัคซีนเก็บตกในเด็กเล็กตามระบบการให้วัคซีนปกติให้ครบ 100% ส่วนพื้นที่อื่นๆ ที่เหลือ ขอให้ดำเนินการฉีดวัคซีนให้กลุ่มเด็กให้ครบตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข คือ อายุต่ำกว่า 4 ปี ฉีดจำนวน 5 ครั้ง ฉีดซ้ำเมื่ออายุ 12-16 ปี 1 ครั้ง และฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี และฉีดให้หญิงตั้งครรภ์ให้ครบ 3 ครั้ง
         นายแพทย์ทวี  โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า "โรคคอตีบ" หรือ"ดิพทีเรีย" เป็นโรคที่เกิดมาก่อนและมีมานานแล้ว ในช่วง40 กว่าปีที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาวัคซีนโรคคอตีบจนสามารถควบคุมโรคคอตีบได้ใน ระดับหนึ่ง แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการพบผู้ป่วยโรคคอตีบประปรายในบางจังหวัดของพื้นที่ชายแดนใต้ และปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยโรคคอตีบในพื้นที่ภาคอีสานซึ่งเป็นที่น่าสังเกต ว่าผู้ป่วยโรคคอตีบที่พบครั้งนี้ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับคนที่มีอายุระหว่าง 10-15 ปีซึ่งมีมากถึง 25-29% ของผู้ป่วยทั้งหมด
          สาเหตุที่ทำให้ "โรคคอตีบ" กลับมาเกิดขึ้นได้อีก เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรค คือไม่เคยฉีดวัคซีนคอตีบมาก่อน และปัจจัยสำคัญอีก ประการหนึ่ง คือการเคลื่อนไหวและการเดินทางเข้าออกของแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่ ได้รับการฉัดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบทำให้ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรค จึงเป็นได้ทั้งผู้รับเชื้อและผู้แพร่เชื้อ    
         นพ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยถึงกรณีพบการแพร่ระบาดของโรคคอตีบ ซึ่งพบผู้ป่วยมากในภาคอีสาน มีรายงานผู้ป่วยตั้งแต่ช่วงวันที่ 1 มกราคม - 14 ตุลาคม 2555  มีจำนวน 79 ราย และเสียชีวิต 4 ราย โดยบอกว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นโรคอุบัติซ้ำ ภายหลังจากที่ประเทศไทยมีการควบคุมการระบาดของโรคคอตีบจนไม่มีการรายงานพบ ผู้ป่วยมานานแล้ว ซึ่งสาเหตุการกลับมาแพร่ระบาดของโรคคอตีบนี้ ยังไม่สามารถวิเคราะห์ชี้ชัดถึงสาเหตุได้ เพียงแต่จากข้อมูลสามารถตอบคำถามได้บางส่วน และมีความเป็นไปได้จาก 2-3 ประเด็น คือ 1.เกิดจากอัตราการให้วัคซีนที่ไม่ครอบคลุม การให้วัคซีนไม่ทั่วถึง อาจเข้าถึงเพียงแค่ 90-95% ของประชากร ส่งผลให้บางคนที่ไม่ได้รับวัคซีนขาดภูมิคุ้มกันโรค2.โรคคอตีบเป็น โรคที่หายไปจากประเทศไทยเป็นเวลานานแล้วในรอบ 30 ปี อาจส่งผลให้ประชากรภูมิคุ้มกันค่อยๆ ลดลง โดยเฉพาะภูมิคุ้มกันโรคตามธรรมชาติ 3.การให้วัคซีนโรคคอตีบเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2524 ผู้ที่เกิดก่อน 2524 บาง คนจึงยังไม่ได้รับวัคซีนชนิดนี้ และเมื่อมีผู้ป่วยโรคคอตีบเกิดขึ้นในชุมชน หากไม่มีระบบการเฝ้าระวังโรคที่รวดเร็ว ก็อาจทำให้โรคแพร่กระจายได้ง่าย ส่งผลให้กลุ่มคนเหล่านี้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนและเกิดป่วยได้อย่างไรก็ ตามโรคคอตีบไม่ใช่โรคที่แพร่ระบาดได้ง่ายเหมือนไข้หวัดใหญ่ การระบาดไม่รวดเร็ว จึงยังสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ อีกทั้งโรคนี้ยังมียารักษา จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวลและตื่นตระหนกแต่อย่างใด

      2. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก
           ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -30 ตุลาคม 2555  พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 55,458 คน เสียชีวิตจำนวน 52 คน สถานการณ์การระบาดในปัจจุบันพบว่า  7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างว่ารายงานผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องโดยล่าสุด จ.ตรัง สตูล พัทลุงสงขลา ปัตตานี ยะลา และ จ.นราธิวาสพบผู้ป่วยจำนวน 3,633 คน เสียชีวิตแล้ว 4 คน

      3. สถานการณ์การปนเปื้อนของสารก่อให้เกิดมะเร็งในบะหมี่สำเร็จรูปที่นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้(นองชิม)

        นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวทางหนังสือพิมพ์ ประเทศฟิลิปปินส์ว่ามีการเรียกเก็บบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของ บ.นองชิม (Nongshim) จากประเทศเกาหลีใต้ หลังได้รับรายงานมีสารก่อมะเร็งว่า  ได้สั่งให้สำนักอาหารและสำนักด่านอาหารและยา ของ อย. ตรวจสอบเฝ้าระวังเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และขอแจ้งว่า สารก่อมะเร็งที่พบเป็นสารเบนโซ (เอ) ไพรีน อยู่ในเครื่องปรุงรสในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งมีการผลิตที่ประเทศเกาหลีใต้ ดังนั้นประเทศในโซนเอเชีย เช่น ฟิลิปปินส์, จีน, เกาหลีใต้ จึงเรียกเก็บคืนบะหมี่ที่พบปัญหาดังกล่าว  ในส่วนของประเทศไทย อย. ได้สั่งการให้ด่านอาหารและยาทั่วประเทศเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยขณะนี้หากพบมีการนำเข้าในไทย ขอให้อายัดผลิตภัณฑ์ไว้ที่ด่านก่อน เพื่อตรวจสอบและเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในทุกรุ่นที่มีการนำเข้า และส่งตรวจวิเคราะห์ ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อหาสารก่อมะเร็งดังกล่าว พร้อมกันนี้ อย. จะขอความร่วมมือให้ผู้นำเข้าเพื่อจำหน่ายเรียกคืนผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และขอความร่วมมือสถานที่จำหน่ายให้นำผลิตภัณฑ์ออกจากชั้นวางของชั่วคราว จนกว่าผลการตรวจวิเคราะห์พบอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ อย. จะสุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบหาการปนเปื้อนสารดังกล่าวในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของบริษัท นองชิม ที่วางขายในร้านค้าปลีกอย่างเร่งด่วนด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น