วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สรุปสถานการณ์ในและต่างประเทศ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2555

สถานการณ์ต่างประเทศ
1.     สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก
  1. 1 Vietnam
      The Vietnamese Ministry of Health (MoH)  ประเทศเวียดนามเปิดเผยว่าในปี 2555 พบการระบาดครั้งใหญ่(a large-scale outbreak)เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยพบว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 ถึง 7  ตุลาคม 2555  มีรายงานผู้ป่วย 116418 ราย กระจายใน63 จังหวัด และเสียชีวิต  42 รายกระจายใน 15 จังหวัด ผู้ป่วยมากว่าร้อยละ 50 และผู้เสียชีวิต 9 ใน10  พบในจังหวัดที่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เสียชีวิตจากอาการ pulmonary edema หรือhemorrhage ที่เป็นอาการที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ EV-71 ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการ encephalitis, aseptic meningitis, acute flaccid paralysis, pulmonary edema or hemorrhage และ myocarditis ร่วมด้วย  EV-71เป็นเชื้อที่พบได้บ่อยในการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ใน Southeast Asia มาเป็นเวลาหลายปี ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาโรคนี้โดยเฉพาะ
    1.2 The United States of America
        CDC ได้ออกประกาศเตือนผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศเวียดนามให้ทราบสถานการณ์และความรุนแรงของโรคมือ เท้า ปากที่ระบาดในประเทศเวียดนามในขณะนี้ และมีคำแนะนำในการดูแลและเฝ้าระวังอาการผิดปกติของตนเองและครอบครัวขณะที่เดินทางเข้าประเทศเวียดนาม
2.     สถานการณ์การปนเปื้อนสารตะกั่วในผลไม้อบแห้ง(พลัมและพรุน)
  2.1 The United States of America
          The California Department of Public Health ได้ออกประกาศเตือนประชาชนห้ามรับประทานพลัม และ/หรือพรุนอบแห้ง 5 ชนิดที่นำเข้ารัฐดังกล่าวเนื่องจากมีปริมาณตะกั่วเกินมาตรฐาน  (เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปีได้รับปริมาณตะกั่วไม่เกิน 6.0 micrograms of lead ต่อวันจากอาหารทุกชนิด ส่วนหญิงมีครรภ์และกลุ่มอื่นๆแล้วแต่ดุลพินิจของแพทย์  แต่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีปริมาณตะกั่ว 7.2 to 17.1 micrograms ต่อ 1 ซอง ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้แก่
         1 Dried Plum ที่นำเข้าจากฮ่องกง ที่จัดจำหน่ายโดย T&H Trading Company บรรจุซองละ  4 ounce .
         2. Sweet and Soure Pruneที่นำเข้าจากไต้หวันจัดจำหน่ายโดย CHO Fuku Group.บรรจุซองละ 5 ounce (142 gram)
        3. Ching Ling Dried Prune ที่นำเข้าจากไต้หวันจัดจำหน่ายโดย Tiffany Food Company. บรรจุ 120 gram ในซองพลาสติก
        4.  Preserved Plum ที่นำเข้าจากประเทศจีน ที่จัดจำหน่ายโดย K.Y.L. Trading Company ซึ่งบรรจุ 56 ounce clear hard round plastic container.
         5. Dried Red Prune ที่นำเข้าจากไต้หวัน จัดจำหน่ายโดย Richen Tradingบรรจุในซองพลาสติกซองละ  .7 ounce (50 gram)
3.สถานการณ์โรคไข้เลือดออก
  3.1 Cambodia
      The National Center for Parasitology, Entomology and Malaria Control ประเทศกัมพูชา เปิดเผยว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 ถึงเดือนตุลาคม 2555 พบการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยมีรายงานผู้ป่วย 39290 ราย ซึ่งสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 163 ( ปีที่ผ่านมา 14918 ราย) เสียชีวิต 170 ราย ซึ่งสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 154 (ปีที่ผ่านมา 67 ราย) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ 5 ถึง 14 ปี Dr. Char Meng Chuor ผู้อำนวยการของศูนย์ดังกล่าวเพิ่มเติมว่าสาเหตุที่เสียชีวิตมากขึ้นเนื่อง จากผู้ปกครองส่วนใหญ่นำผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในคลีนิคก่อนซึ่งให้การรักษา ที่ไม่ดีพอจนกระทั่งอาการรุนแรงจึงนำเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ
4.  สถานการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติ
         4.1 Vietnam : พบการก่อตัวของพายุดีเปรสชั่นใกล้ประเทศเวียดนาม
     4.2 Myanmar:  กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า เมื่อเวลา01:28 . วันที่ 14 พฤศจิกายน ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 4.9 ริกเตอร์ ที่ ประเทศพม่า ความลึกจากระดับผิวดิน 30 กิโลเมตร  นอกจากนั้นสภากาชาดพม่า กล่าวว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผนดินไหว 6.8 ริกเตอร์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นทางตอนเหนือห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับ 2 ของพม่า ประมาณ 120 กิโลเมตร ล่าสุดเท่าที่ได้รับรายงานขณะนี้มีอย่างน้อย 26 คน และคาดว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีผู้สูญหายและไม่ทราบชะตากกรรมอีก 10 คน
          ด้านเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น กล่าวว่า ความเสียหายด้านทรัพย์สินอาจมีมากกว่านี้ เพราะมีแผ่นดินไหวระลอกหลัง หรือ อาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายระลอกในพื้นที่ใกล้กรุงเนปิดอ แต่เนื่องจากมีปัญหาด้านการสื่อสาร ทำให้ไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ทางการพม่าได้จัดส่งเจ้าหน้าที่พร้อมความช่วยเหลือไปยังพื้นที่ซึ่ง ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวโดยเร่งด่วนแล้ว

            
สถานการณ์ภายในประเทศ
1.สถานการณ์โรคเชื้อ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2012”
          นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีสำนักข่าวเอเจนซีส์รายงานพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2012 เป็นรายที่ 2 ของประเทศซาอุดีอาระเบีย และเป็นรายที่ 3 ของภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย เมื่อวันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้ กรมควบคุมโรคยังไม่มีรายงานในเรื่องดังกล่าว แต่จากการพบผู้ติดเชื้อเพียงรายที่ 2 ของประเทศ และมีระยะเวลาการทิ้งช่วงติดเชื้อที่ค่อนข้างนาน ถือว่าเชื้อไวรัสไม่ได้กระจายตัวอย่างรวดเร็ว มิเช่นนั้น จะต้องมีผู้ติดเชื้อแล้วจำนวนหลายราย สำหรับชาวไทยมุสลิมที่เดินทางไปยังนครเมกกะ และมาดีนะห์ เพื่อร่วมพิธีแสวงบุญฮัจญ์นั้น กรมควบคุมโรคได้มีมาตรการในการติดตามและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ทั้งการส่งหน่วยแพทย์พยาบาลไทยจำนวน 4 ทีม เดินทางไปดูแลสุขภาพผู้แสวงบุญชาวไทย และเดินทางกลับเข้าประเทศก็มีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เป็นผู้ดำเนินการติดตามสุขภาพของผู้แสวงบุญ
2. สถานการณ์ภัยแล้ง
         นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 12 จังหวัด 94 อำเภอ ตามประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร อุดรธานี บึงกาฬ มุกดาหาร หนองคาย หนองบัวลำภู มหาสารคาม ยโสธร อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ดและนครพนม ซึ่งสภาพความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำใช้ อาจมีความเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพอนามัยประชาชน โดยเฉพาะโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ซึ่งมี 5โรคสำคัญ ได้แก่โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อยและโรคอหิวาตกโรค และขณะเดียวกันในสภาพอากาศหนาวเย็นจะเอื้อให้การเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส หลายชนิด โดยเฉพาะโรต้าไวรัส (Rota virus)ที่เป็นต้นเหตุของการป่วยโรคอุจจาระร่วงในฤดูหนาวพบได้ทุกปี
         ในการป้องกันโรคดังกล่าว ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ประสบภัยดำเนินการตาม 6 มาตรการดังนี้ 1.เฝ้าระวังด้านสุขภาพจิตประชาชนที่ประสบภัย โดยเฉพาะความเครียดที่อาจเกิดขึ้นจากความเสียหายทางการเกษตร 2.เฝ้าระวังโรคในพื้นที่ หากพบมีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเกิดขึ้น ให้รีบดำเนินการควบคุมป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดทันที 3.ดูแลควบคุมมาตรฐานน้ำประปาโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด โรงงานผลิตน้ำแข็ง4.ดูแลกวดขันความสะอาดโรงอาหารโรงเรียน ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และตลาดสด5.ขอความร่วมมือผู้ประกอบการดูแลความสะอาดส้วมสาธารณะต่างๆเช่นส้วมในร้านอาหาร ปั๊มน้ำมัน เป็นต้น และ6.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนให้รู้จักอาการของโรควิธีการปฏิบัติตัวไม่ให้ป่วยโดยเฉพาะมาตรการกินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือ และขอความร่วมมือให้ดูแลความสะอาดห้องส้วมห้องครัวในบ้านเป็นพิเศษ
         
          ด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่ากระทรวงสาธารณสุขได้ทำหนังสือกำชับให้จังหวัดดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดแล้ว และจะมีการประชุมทางระบบวิดีทัศน์เพื่อติดตามสถานการณ์ในพื้นที่เป็นระยะๆ

3. สถานการณ์โรคคอตีบ
          ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2555 มีรายงานผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อโรคคอตีบ 43 ราย เสียชีวิต 4 ราย  โดย จังหวัดเลยมีรายงานผู้ป่วย 26 ราย เสียชีวิต 2 ราย  ปัตตานีผู้ป่วย  5 ราย ยะลาผู้ป่วย   3 ราย เสียชีวิต 2 ราย เพชรบูรณ์ ผู้ป่วย    4 ราย  หนองบัวลำภู  4 ราย และสุราษฏร์ธานี 1 ราย  อย่างไรก็ตามในปีนี้พบว่าประเทศไทยเริ่มมีการระบาดของโรคนี้มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 โดยเริ่มพบการระบาดครั้งแรกที่จังหวัดเลยก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดในจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคอื่นๆ  ด้านกระทรวงสาธารณสุขได้เน้นมาตรการป้องกันควบคุมโรคตลอดจนการรักษาผู้ป่วยอย่างรวดเร็วแก่พื้นที่ที่พบผู้ป่วยยืนยันและสงสัย ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวได้แก่ จังหวัดเลย อุดรธานี หนองบัวลำภู เพชรบูรณ์ พิษณุโลก เชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ พิจิตร หนองคาย บึงกาฬ ขอนแก่น ชัยภูมิ สกลนคร นครราชสีมาและสุราษฏร์ธานี  นอกจากนั้นได้แจ้งให้องค์การเภสัชกรรม จัดเตรียมวัคซีนจำนวน 13 ล้านโด๊ส เพื่อใช้ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2555 ถึง พฤษภาคม 2556 และกรมการแพทย์ได้จัดทำ the standard operating system สำหรับโรงพยาบาลทั่วประเทศและhealth sciences centersเพื่อให้สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็ว
            และจากการประชุมคณะกรรมาธิการ(กมธ.)สาธารณสุขที่มี นพ. อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ สว.สุรินทร์ เป็นประธาน ได้พิจารณาเรื่อง สถานการณ์และความครอบคลุมของวัคซีนในปัจจุบันเพื่อป้องกันโรคคอตีบและโรค อื่นๆ โดยกมธ.ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงถึงสถานการณ์ความรุนแรงของการ แพร่ระบาดและมาตรการป้องกัน
       นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไปกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ชี้แจงว่า กรมควบคุมโรคได้มีนโยบายป้องกันโดยการเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่เด็กนักเรียนและ สตรีที่ตั้งครรภ์ เพื่อเป็นการป้องกันตั้งแต่ต้นเหตุของปัญหา แต่กรณีที่พบผู้เสียชีวิตนั้นส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ซึ่งไม่ได้รับฉีดวัคซีน ป้องกันตั้งแต่เด็ก โดยโรคคอตีบจะแพร่เชื้อจากคนสู่คน และจะเริ่มมีอาการเป็นไข้แล้วจะเกิดฝ้าขาวในช่องปากและอาจจะทำให้ทางเดิน หายใจอุดตันจนเป็นเหตุถึงขั้นชีวิตได้
        นพ. จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ยืนยันว่า มีวัคซีนเพียงพอที่จะดูแลผู้ป่วยในเบื้องต้นและได้สั่งวัคซีนจากต่างประเทศ เข้ามาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขาดแคลนแล้ว แต่ยอมรับว่าอาจจะไม่พอตามความต้องการหากมีผู้แพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้นกว่า   
แต่อย่างไรก็ตาม วัคซีนที่นำเข้าแม้จะมีคุณภาพดีแต่มีราคาที่สูงกว่าถึงสิบเท่า จึงยากต่อการจัดซื้อและนำเข้ามาจากต่างประเทศ แต่ในขณะนี้กำลังทำเรื่องประสานกับสถาบันการศึกษาที่ได้ทุนจากสำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ให้ทุนเพื่อผลิตวัคซีนขึ้นมาเพื่อลดการขาดแคลน


4. สถานการณ์โรคปอดบวม
      นายแพทย์ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ ที่ปรึกษาชมรมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็กแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า โรคปอดบวมเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนทั่วโลกเสียชีวิตโดยเฉพาะเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า โรคปอดบวมเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 ของเด็กทั่วโลก ซึ่งจากสถิติเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ทั่วโลกกว่า 20 ล้านคนต่อปี พบว่าสาเหตุการตายจากโรคปอดบวมมากถึงร้อยละ 18 หรือมากกว่า 1.5 ล้านคน เฉลี่ยทุก 20 วินาที จะมีเด็กเล็กเสียชีวิตจากโรคปอดบวม 1 คน ซึ่งมากกว่าอัตราการตายจากโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคหัดรวมกัน นอกจากนี้ยังพบว่าร้อยละ 90 ของเด็กที่เสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม ส่วนมากจะอาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย
            สำหรับประเทศไทยโรคปอดบวม ยังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เนื่องจากภูมิคุ้มกันในร่ายกายยังไม่แข็งแรงเหมือนกับผู้ใหญ่ โดยข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2555 - 4 พ.ย. 2555 พบผู้ป่วยโรคปอดบวมต่อแสนประชากร กว่า 168,490 ราย เสียชีวิต 1,074 ราย โดยกลุ่มที่พบมากที่สุด คือ อายุ 65 ปี 40,460 ราย รองลงมา อายุ 1 ปี 20,677 ราย และอายุ 2 ปี 9,473 ราย และช่วงอายุ 55-64 ปี 6,376 ราย  จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนของประชากร สูงสุด 5 อันดับแรก คือ แม่ฮ่องสอน 553.24 ฉะเชิงเทรา 542.17 ตาก 536.70 อ่างทอง 529.13 เชียงราย 485.97

  1. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก
5.1 สงขลา
                น.พ.ศิริ ชัย   ลีวรรณนภาใส  นายแพทย์สาธารณสุข จ.สงขลา  เปิดเผยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน  ว่า ข้เลือดออกระบาดในฤดูฝน มียุงลายเป็นพาหะนำโรค กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของ จ.สงขลา พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่  1 ม.ค.  - 8 พ.ย. 1,709 ราย  เสียชีวิต 3 ราย   พื้นที่ที่มีอัตราผู้ป่วยมากที่สุดคือ อ.นาหม่อม รองลงมาคือ อ.สิงหนคร  เมืองสงขลา หาดใหญ่  สะเดา  และ อ.รัตภูมิ อยู่ในช่วงอายุ  15-24 ปี 458  ราย  รองลงมาคือกลุ่มอายุ 5-9 ปี  และ 10-14 ปี     อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน นพ.ศิริชัยเปิดเผยว่า   ยุงลายพาหะไข้เลือดออกจะออกหากินในช่วงเวลากลางวันตามบ้านเรือน โรงเรียน  ชอบวางไข่ในภาชนะที่มีน้ำขังเช่น ยาง  รถยนต์   กะลา  กระป๋อง             จานรองขาตู้กับข้าว   แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อน้ำ  ห้วย   หนอง  บึง  ขอย้ำเตือนว่าหากเด็กหรือผู้ใหญ่มีไข้สูง มีอาการหน้าแดงปวดศีรษะ อาเจียน ให้รีบเช็ดตัวและ   กินยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้  หากอาการยังไม่ดีขึ้น   ไข้ไม่ลดลงในวันที่สองให้รีบไปสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านโดยเร็ว  

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น