วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2555

สถานการณ์ต่างประเทศ
1.                 สถานการณ์ yellow fever
1.1             Sudan
   การระบาดของโรค yellow fever ที่เริ่มระบาดที่เมือง Darfur ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน 2555 จนถึงปัจจุบัน(ตามประกาศขององค์การอนามัยโลกเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2555) มีผู้ป่วยสงสัย 329 ราย (อาจจะมีมากกว่ารายงาน) เสียชีวิต 97 ราย เกือบร้อยละ 50 มีอายุระหว่าง 15 ถึง 30 ปี      อีกกลุ่มที่พบมากถึงร้อยละ 25 คือเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี องค์การอนามัยโลกเปิดเผยเพิ่มเติมว่าผู้ป่วยที่มีอาการของโรคนี้มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 30  ขณะนี้องค์การอนามัยโลกกำลังรอวัคซีนที่จะนำเข้าประเทศซูดานโดย the International Coordinating Group on Yellow Fever Vaccine Provisionที่มีการระดมวัคซีนดังกล่าวทั่วโลกเข้าประเทศนี้ ซึ่งมีการคาดประมาณว่าจะต้องการใช้วัคซีน 3.6 ล้านโด๊ส แต่หาสนับสนุนได้เพียง 2.4 ล้านโด๊สเท่านั้น ซึ่งการขนส่งจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์   
นอกจากนั้นปัญหาที่ทำให้สถานการณ์การระบาดของโรคดังกล่าวรุนแรงมากขึ้นคือ ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยกับชาวคริสเตียน และ the Islamic state's government 
ที่ทำเข้ากลุ่มคนดังกล่าวอาจจะเข้าไม่ถึงบริการที่ดีและเหมาะสม  ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าหากสถานการณ์การระบาดมีมากขึ้นอาจจะนำไปสู่ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขของเมืองนี้ได้
Yellow fever เป็นโรคติดต่อจากไวรัสชนิดหนึ่ง มียุงเป็นพาหะ มักจะมีการระบาดในภูมิภาคเขตร้อน ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อจะมีอาการไข้ อาเจียน และมีเลือดออก


2.     สถานการณ์การปนเปื้อน antigenในวัคซีน typhoid
2.1             Vietnam
         The Drug Administration of Vietnam เปิดเผยว่าได้เรียกเก็บ Typhim Vi typhoid vaccine ที่ผลิตโดยบริษัท Sanofi Pasteur prefilled syringe และ 20-dose vials เนื่องจากมีการตรวจพบมีการปนเปื้อนของ antigen ในบาง lots ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวผลิตโดยบริษัท Sanofi Pasteur ที่ตั้งในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนำเข้าประเทศโดย Hong Thuy Company และthe May  Pharmaceutical Company  ด้านผู้บริหาร และบริษัทนำเข้าได้เรียกคืน all batches of the vaccine (prefilled syringesและ20-dose vials)ที่ผลิตก่อนวันที่ 1 ธันวาคม ทั้งหมด



สถานการณ์ภายในประเทศ

1. สถานการณ์โรคคอตีบ

         เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคคอตีบต่อบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจังหวัด จากโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั่วประเทศ ว่า จากกรณีโรคคอตีบที่หายจากประเทศไทยกว่า 17 ปี กลับมาพบผู้ป่วยในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกครั้ง มีสาเหตุมาจากภูมิคุ้มกันโรคที่ได้รับจากการฉีดวัคซีนในวัยเด็กตกลงหรือบางกลุ่มอาจไม่ได้รับวัคซีนจึงทำให้มีโอกาสจะติดเชื้อได้
         สำหรับโรคคอตีบส่วนใหญ่จะพบในเด็ก แต่ปัจจุบันพบการป่วยในทุกกลุ่มวัย ทั้งนี้ มีรายงานการพบผู้ป่วยโรคคอตีบในเดือนมิถุนายน 2555 ที่ จ.เลย และพบผู้ป่วยประมาณ 50 ราย จากทั้งหมด 87 ราย ใน 15 จังหวัด ได้แก่ เลย, เพชรบูรณ์, หนองบัวลำภู, อุดรธานี, สุราษฎร์ธานี, พิษณุโลก, สกลนคร, ชัยภูมิ, ขอนแก่น, หนองคาย, เชียงราย, พิจิตร, อุตรดิตถ์, บึงกาฬ และน่าน
         สำหรับระยะฟักตัวโรคคอตีบล่าสุดพบมีระยะฟักตัวนานาถึง 4 สัปดาห์ ซึ่งผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ต่ำๆ คล้ายหวัดในระยะแรก มีอาการไอ เจ็บคออักเสบ เมื่อตรวจดูจะพบแผ่นเยื่อสีขาวปนเทาติดแน่นบริเวณต่อมทอนซิล โดยผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ส่วนใหญ่เกิดจากโรคแทรกซ้อน อาทิ ทางเดินหายใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และปลายประสาทอักเสบ ทั้งนี้ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะมีการเรียกประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการควบคุมโรคคอตีบ โดยหัวข้อในการหารือจะเป็นการกำหนดกลุ่มอายุที่จะต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นเพิ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดและลดการเสียชีวิตของผู้ป่วย
         ด้าน รศ.พิเศษ นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒินสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า วิธีการรักษาสามารถทำได้ 4 วิธี คือ 1.ให้ยาต้านพิษทันที 2.ส่งตรวจเชื้อหาสายพันธุ์ของโรคคอตีบสายพันธุ์ที่เป็นพิษ 3.ให้ยาปฏิชีวนะ และ 4.อยู่ในการดูแลของแพทย์ 2-3 สัปดาห์เพื่อป้องกันปัญหาอาการแทรกซ้อนเพราะผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง ของปลายเส้นประสาทและหัวใจ ส่วนเรื่องการป้องกันในเบื้องต้นประชาชนควรรักษาความสะอาดและเมื่อไปสัมผัส ในแหล่งชุมชนเมื่อกลับมาบ้านหรือก่อนรับประทานอาหารควรล้างมือบ่อยและกิน ร้อนช้อนกลาง หรือหลีกเลี่ยงในพื้นที่แออัด

        นอกจากนั้น นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า จากสถานการณ์ จากการระบาดของโรคคอตีบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน – 25 ตุลาคม 2555 พบผู้ป่วยโรคคอตีบทั้งหมด 88 ราย มีจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ราย โดยพบผู้ป่วยมากที่สุดใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเลย หนองบัวลำภู และเพชรบูรณ์ ส่วนในพื้นที่ภาคอีสานที่เป็นจังหวัดที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดสูง ใน 9 จังหวัด ได้แก่ เลย เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย พิษณุโลก ขอนแก่น ชัยภูมิและสกลนคร ส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ยังไม่มีรายงานผู้ป่วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีได้เร่งรัด จึงได้เร่งรัด 3 มาตรการหลักการป้องควบคุมการระบาด ( กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ) โดยดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมโรค กำชับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในพื้นที่ ออกประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันโรคดังกล่าว


2. สถานการณ์พายุดีเปรสชั่น
             กรมอุตุนิยมวิทยามีประกาศในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555 ว่า เมื่อเวลา 1000 น. วันนี้ (15 พ.ย.) พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 110 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม หรือที่ ละติจูด 9.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 107.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 55 กม./ชม. กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกอย่างช้าๆ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวนลงสู่อ่าวไทยตอนบนในช่วงวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2555 หลังจากนั้นในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2555 จะลงสู่ทะเลอันดามัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 15-18 พฤศจิกายน นี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะภาคใต้ตอนบนบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยจะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น