วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ข่าวในและต่างประเทศ วันที่ 16 ตุลาคม 2555

ข่าวต่างประเทศ 1. สถานการณ์การปนเปื้อน E. coli O157ในเนื้อวัว ประเทศแคนาดา วันที่ 16 กันยายน 2555 ประชาชนในประเทศแคนาดา ว่ามีการปนเปื้อนของเชื้อของ เชื้อ E. coli O157:H7ในเนื้อวัวที่จัดจำหน่ายโดยXL Foods Inc. (Edmonton, AB) เมื่อบริษัทดังกล่าวเรียกเก็บสินค้าทั่วประเทศ เนื่องจากพบว่ามีสินค้าปนเปื้อนE. coli O157:H7 และมีเนื้อดังกล่าวบางส่วนได้ส่งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับการเรียกส่งคืนสินค้าดังกล่าวของประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นเมื่อ USDA ได้สุ่มตรวจเนื้อวัวที่นำเข้าจากประเทศแคนาดา และได้ตรวจพบE. coli O157:H7 วันที่ 20 กันยายน 2555 USDA’s Food Safety and Inspection Service (FSIS)ได้ให้ข้อมูลผู้บริโภคในประเทศว่า “ เนื้อดิบวัวดิบที่ไม่มีกระดูกติด ซึ่งนำเข้าจากประเทศแคนาดา อาจจะมีการปนเปื้อนเชื้อE. coli O157:H7 “ โดยเนื้อวัวที่ผลิตในวันที่ 27 และ 29 สิงหาคม 2555 วันที่ 5 ตุลาคม 2555 FSIS Public Health Alert เปิดเผยว่า beef trim, primal and subprimal จำนวน 2.5 ล้านปอนด์ที่ผลิตและจำหน่ายจาก Foods (Brooks, AB) จากประเทศแคนาดา ถูกนำเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามประเทศแคนาดาได้มีประกาศเรียกคืนสินค้าประเภทเนื้อวัว และผลิตภัณฑ์จากเนื้อวัวที่ผลิตจาก XL Foods Inc เมื่อวันที่ 24,25 28 29 สิงหาคม และ 5 กันยายน 2555ที่ส่งไปยังบริษัทย่อยเพื่อขายปลีกและร้านอาหาร ในวันเดียวกันThe Hong Kong Centre for Food Safety ได้แจ้งalertขึ้นเนื่องจากมีสินค้าจากบริษัทดังกล่าวนำเข้าที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกงด้วย The Public Health Agency of Canada เปิดเผยข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2555 ว่าพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ E. coli O157 ที่มีความเชื่อมโยงกับเนื้อวัวที่ผลิตจาก XL Foods Inc จำนวน 15 ราย กระจาย 4 รัฐของประเทศแคนาดา ดังนี้ รัฐAlberta 7 ราย Newfoundland and Labrador 1 ราย Quebec 3 ราย British Columbia 3 ราย( มีภูมิลำเนาที่ Vancouver Island 1 ราย Fraser Health Authority 1 ราย และ 1 รายเป็นนักท่องเที่ยว ที่ผลตรวจเป็นบวกหลังจากตรวจที Vancouver Coastal Health Authority หลังจากรับประทานอาหารจากเนื้อวัวที่ Alberta และ British Columbia สำหรับอาการและอาการแสดงของโรคนี้ เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อจะมีอาการปวดท้องรุนแรง อุจจาระร่วง และอาเจียน บางรายอาจจะมีอาการไตวายร่วมด้วย 2. สถานการณ์โรคเยื่อหุ้มสมองจากเชื้อรา 2.1 The United state of America การระบาดของโรคเยื่อหุ้มสมองจากเชื้อราในผู้ป่วยปวดหลัง หลังจากฉีดยา steroid ที่มีส่วนผสม methylprednisolone acetate ซึ่งผลิตโดย The New England Compounding Center ที่ตั้งที่เมืองFramingham รัฐ Massachusetts ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เดือนที่ผ่านมา แม้จะมีการเรียกเก็บสินค้าหลังจากมีรายงานพบผู้ป่วยเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 แล้วก็ตามยังมีรายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2555 มีรายงานผู้ป่วย 214 ราย โดยผู้ป่วยรายล่าสุดอาศัยอยู่ที่รัฐนิว แฮมป์เชียร์ ฟลอริดา อินเดียนา และเทนเนสซี และ เสียชีวิต 15 ราย ผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต กระจายใน 15 รัฐ โดยรัฐที่มีรายงานผู้ป่วยสูงสุด ได้แก่ เทนเนสซี มีผู้ป่วย 53 คน เสียชีวิต 6 คน มิชิแกนมีผู้ป่วย 41 คน เสียชีวิต 3 ราย และเวอร์จิเนียมีผู้ป่วย 34 คน ผู้เสียชีวิต 1 ราย สถานการณ์ระบาดเร็วมากเทียบกับวันที่ 6 ตุลาคม ที่พบผู้ป่วย 64 คน เสียชีวิต 7 คน คาดว่ามีผู้ได้รับการฉีดยานี้ประมาณ 14,000 ราย ด้าน FDA ได้แนะนำให้แพทย์ที่ตรวจสอบว่าผู้ป่วยที่มารับการรักษานอกจากจะใช้ยาดังกล่าวจากบริษัทนี้แล้วได้ใช้ยาชนิดอื่นที่ผลิตจาก The New England Compounding Center ร่วมด้วยหรือไม่ เนื่องจากคาดว่าโรคเยื่อสมองอักเสบอาจจะมาจากการฉีดยามากกว่า 1 ชนิดที่มีการปนเปื้อนเชื้อรา จากการสอบสวนและตรวจสบทางห้องปฏิบัติการเชื้อที่เป็นสาเหตุการป่วยคร้งนี้คือ Exserohilum และAspergillus ซึ่งพบบ่อยในสิ่งแวดล้อมปกติแต่พบน้อยมากในผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปกติแล้วโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราจะแสดงอาการ 1-4 สัปดาห์หลังรับการฉีดสเตียรอยด์ แต่บางรายอาจแสดงอาการหลังจากนั้นหลายเดือน ในอีเมล์ที่ส่งถึงลูกค้ารายหนึ่งของบริษัท ที่เปิดเผยโดยรอยเตอร์ ระบุว่า บริษัทรับออร์เดอร์การสั่งยาจากนักกายภาพบำบัดในประมาณมากเกินจริง และไม่มีการรับรองใบจ่ายยาที่ออกให้โดยแพทย์จากผู้ป่วยตามที่กฎหมายกำหนด 3. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก 3.1 ญี่ปุ่น การระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในประเทศญี่ปุ่นครั้งล่าสุด ใช้การเก็บ conjunctiva ของ a whooper swan with neurological signs ซึ่งพบว่าวิธีการตรวจชนิดนี้ทำให้พบปริมาณvirus มากกว่า tracheal swab 3.2 Nepal พบการระบาดของเชื้อH5N1 ในสัตว์ปีกที่ เขตSanepa-2, Sanchal,อำเภอLalitpur ประเทศเนปาล เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2555 มีสัตว์ปีกตาย 2500 ตัว ข่าวในประเทศ 1. สถานการณ์โรคเยื่อหุ้มสมอง (เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราในสหรัฐ) การแพร่ระบาดของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในสหรัฐฯ ซึ่งปกติเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่เนื่องจากต้นเหตุที่คาดว่ามาจากยาฉีดแก้อาการปวดหลัง ปวดไขข้อกระดูกสันหลังปนเปื้อน ซึ่งเป็นยาสเตียรอยด์ ที่ชื่อว่า เดโป-เมโดรล ของบริษัท นิว อิงแลนด์ คอมปาวดิ้ง เซนเตอร์ (เอ็นอีซีซี) ที่เมืองฟรามิงแฮม รัฐแมสซาชูเสตต์ และจำหน่ายออกไปตามสถานคลินิกในหลายรัฐ จนทำให้ มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 15 ศพ ล้มป่วยแล้ว 205 ราย ทั่ว 14 รัฐ ประกอบด้วย เทนเนสซี, มิชิแกน, ฟลอริดา, ไอดาโฮ, อิลลินอยส์, อินดีแอนา, แมริแลนด์, มินนิโซตา, นิวเจอร์ซีย์, นอร์ทแคโรไลนา, โอไฮโอ, เทกซัส, เวอร์จิเนีย และนิวแฮมป์เชียร์ และมีผู้ติดเสี่ยง 14,000 ราย ใน 23 รัฐ โดยรัฐเทนเนสซีได้รับผลกระทบหนักที่พบผู้ติดเชื้อแล้ว 50 ราย เสียชีวิตแล้ว 6 ราย ซีดีซียังพบว่าผู้ที่ล้มป่วย ไม่เพียงเป็นผู้ที่ได้รับการฉีดสเตียรอยด์เข้าบริเวณสันหลัง ซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดโรคสูงสุดเท่านั้น ยังพบผู้ป่วยที่เกิดจากการฉีดยาในจุดอื่นๆ อย่างเช่นเข่าและไหล่อีกด้วย ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม นพ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา เปิดเผยว่า สถานการณ์ติดเชื้อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบของคนอเมริกันเป็นการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเท่านั้น ยังไม่มีการส่งผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายในประเทศไทย ส่วนเชื้อราที่ปนเปื้อนยังไม่ทราบว่าเป็นเชื้อราชนิดใด ซึ่งกรณีการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราโดยตรงจากผลิตภัณฑ์ มีโอกาสเกิดได้น้อยมาก สำหรับในประเทศไทยกรณีดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยกว่า 1% เมื่อเทียบกับการติดเชื้อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากสาเหตุอื่น นพ.ภาสกร ได้เสริมว่าโรคนี้ส่วนมากจะเกิดกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยเอดส์ โดยเกิดจาเชื้อราคลิปโตคอสคัส ส่วนกรณีติดเชื้อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราโดยตรงอาจเกิดได้จากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการปนเปื้อนของเชื้อรา อาทิ ยาหยอดตา ยาหยอดหู แต่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก และประเทศไทยยังไม่มีรายงานการติดเชื้อจากสาเหตุดังกล่าว ทั้งนี้การติดเชื้อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราจะไม่มีการระบาดเป็นกลุ่ม ถือว่ามีความเสี่ยงที่ต่ำมาก และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ให้ข้อมูลว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มอบให้สำนักยาตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับยาดังกล่าวแล้ว ทราบว่า ยาที่เป็นข่าวคือ เมธิลเพรดนิโซโลน อะซิเตท (Methylprednisolone Acetate) มีทั้งยาเดี่ยวและยาผสมกับยาชา Lidocaine โดยข้อบ่งใช้ที่อนุญาตคือ เป็นยาที่ต้องใช้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่นในการรักษาระยะสั้นขณะที่มีอาการอักเสบเฉียบพลัน เช่น ข้อต่อเสื่อมจากเยื่อบุอักเสบ รูมาตอยด์ การอักเสบของถุงน้ำดี เป็นต้น โดยให้ฉีดเข้าข้อต่อ หรือรอบๆ ข้อต่อ หรือเส้นเอ็น หรือบริเวณที่มีการอักเสบ ที่สำคัญห้ามฉีดยานี้เข้าเส้นเลือด และไม่แนะนำฉีดยานี้เข้าไขสันหลัง เยื่อหุ้ม สมอง โพรงจมูก และตา และห้ามใช้ยา สเตียรอยด์ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อราในร่างกาย หรือผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในสหรัฐ หลังจากฉีดยาสเตียรอยด์ระงับการปวดนั้น อย.คาดว่าอาจมีสาเหตุมาจากตัวยาปนเปื้อนเชื้อราในกระบวนการผสมยาของบริษัทรับผสมยาในสหรัฐ ส่วนที่ประเทศไทยไม่มีบริษัทรับผสมยาในลักษณะดังกล่าว อีกทั้งไม่มีการนำยาที่ผสมดังกล่าวเข้ามาใช้ในประเทศแต่อย่างใด 2.สถานการณ์โรคคอตีบ ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขว่า นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้ลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคคอตีบ เนื่องจากพบการระบาดในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันตัวเลขผู้ป่วยเพิ่มเป็น 87 ราย จังหวัดที่มีผู้ป่วยสูงสุด ได้แก่ จ.เลย มีผู้ป่วยมากถึง 50 ราย รองลงมา จ.เพชรบูรณ์ 10 ราย จ.หนองบัวลำภู 8 ราย และจังหวัดอื่นๆ อีกจังหวัดละ 2-3 ราย คอตีบเป็นโรคที่ ไม่พบในประเทศไทยมานานกว่า 25 ปีแล้ว แต่อยู่ๆ ก็เกิดการระบาดขึ้น ซึ่งคาดว่าน่าจะติดมากับแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามารับจ้างกรีดยาง ในประเทศไทย โดยผ่านเข้ามาตามแนวชายแดนไทย-ลาว ซึ่งนอกจากโรคคอตีบแล้ว ขณะนี้โรคจากเชื้อไวรัสก็เป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด โดยเฉพาะโรคที่มาจากแหล่งที่มีการระบาดแต่ควบคุมไม่ได้ เช่น ในกัมพูชา เวียดนาม ที่ยังคงมีการระบาดอย่างรุนแรงของไข้หวัดนก แม้ในประเทศไทยจะไม่มีการรายงานโรคในคนมาตั้งแต่ปี 2551 แล้วก็ตาม ด้านนพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 10 กล่าวว่า ขณะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว นักท่องเที่ยวจากที่ต่างๆ จะเดินทางเข้ามาในพื้นที่ จ.เลย เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นที่ อ.เชียงคาน อ.ภูกระดึง จึงจำเป็นต้องรีบเข้าควบคุมและเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด ซึ่งขณะนี้ควบคุมการระบาดของโรคได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่นิ่งนอนใจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน จากที่พบผู้ป่วยรายแรกในรอบการระบาดนี้เมื่อวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งถ้าจะประกาศว่าปลอดโรคจริงๆ ต้องรอถึงวันที่ 26 มกราคม 2556 3. สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซีส และไข้เลือดออก นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยว่า ในช่วงที่น้ำลดเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงต่อโรคฉี่หนูและไข้เลือดออก เนื่องจากจะมีน้ำขังตามภาชนะต่างๆตามพื้นดินที่ยังมีน้ำขังหรือเป็นดินโคลนเฉอะแฉะ อาจมีเชื้อโรคเลปโตสไปโรซิส ซึ่งอยู่ในปัสสาวะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด โดยเฉพาะหนู คนมักติดเชื้อขณะเดินย่ำดินโคลน เชื้อจะเข้าทางผิวหนังที่มีบาดแผล หรือรอยถลอกทั้ง 2 โรค อาการจะใกล้เคียงกันและเป็นได้ทุกวัย ในการป้องกันโรคฉี่หนูนั้น ขอให้ประชาชนใส่รองเท้าป้องกันการเกิดบาดแผล หรือลดการสัมผัสน้ำที่ท่วมขังและดินโคลน โดยเฉพาะผู้ที่ทำความสะอาดบ้านเรือน ให้สวมถุงมือยางและใส่รองเท้าบู๊ต เก็บขยะและเศษอาหารใส่ถังที่มีฝาผิดสนิท เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู อาหารที่ค้างมื้อต้องเก็บใส่ตู้กับข้าว ตู้เย็น หรือมีฝาชีครอบ นำมาอุ่นให้ร้อนก่อนกินทุกครั้ง และล้างผักสดที่เก็บจากทุ่งนา หรือจากแปลงผักด้วยน้ำสะอาดหลายครั้งก่อนกินหรือปรุงอาหาร ส่วนการป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้เก็บกวาดบ้านเรือนและบริเวณบ้านให้สะอาด เก็บเศษภาชนะหรือวัสดุต่างๆ ที่อยู่ในน้ำขึ้นจากน้ำ รวมทั้งเศษภาชนะที่มีน้ำขังนำไปทำลาย ส่วนภาชนะที่เก็บน้ำในบ้านให้ปิดฝาให้มิดชิด เปลี่ยนน้ำในจานรองกระถางต้นไม้ จานรองขาตู้ แจกันไม้ประดับทุก 7 วัน และนอนในมุ้งป้องกันยุงกัด ทั้งกลางวันและกลางคืน 4. สถานการณ์โรคติดเชื้อโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ 2012 นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัด นครศรีธรรมราช เผย ข้อมูลองค์การอนามัยโลก ณ วันที่ 25 กันยายน 2555 พบผู้ป่วยยืนยัน 2 ราย เสียชีวิต 1 ราย รายแรกเป็นผู้ป่วยชายชาวซาอุดิอาระเบีย อายุ 60 ปี รายที่ 2 เป็นผู้ป่วยชายชาวกาตาร์ อายุ 49 ปี สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยในขณะนี้ยังไม่มีรายงานการตรวจพบ ผู้ป่วยโรคโคโรน่า 2012 จึงขอแนะนำประชาชนสำหรับผู้เดินทางที่จะไป - มาจากต่างประเทศ เนื่องจากทางองค์การอนามัยโลก ยังไม่แนะนำให้มีการจำกัดการเดินทางไปยังประเทศใด ดังนั้นผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ ให้รักษาสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล และหมั่นล้างมือบ่อยๆ นอกจากนั้นควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัด หรือที่ชุมชนสาธารณะที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรค และผู้ที่กลับมาจากต่างประเทศ ควรสังเกตอาการผิดปกติ หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ควรพักผ่อนอยู่กับบ้าน และปฏิบัติตามมาตรการลดการแพร่เชื้อสู่คนรอบข้าง โดยการสวมใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ หากมีอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน หรือมีอาการไข้สูง หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ควรไปพบแพทย์ พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น