วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ ประจำวันที่ 19 มีนาคม 2556

สถานการณ์ในต่างประเทศ

1. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคน

1.1 Egypt
      พบผู้ยืนยันติดเชื้อไข้หวัดนก 1 ราย  ผู้ติดเชื้ออาศัยที่ Bagoor เขตAl Minufiyah เมืองmenoufia ประเทศอียิปต์ จากผลตรวจโดย RT-PCR (reverse transcription - PCR)
ในวันที่ 11 มีนาคม 2556  พบ Positive Highly Pathogenic Avian Influenza
H5N1


1.2 Saudi Arabia


     พบผู้ป่วยจากโรคไข้หวัดนก 1 รายเเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล Farabi   ใน Jeddah ผู้ติดเชื้อเป็นเพศหญิง  นับว่าเป็นครั้งแรกที่ประเทศในตะวันออกกลางตรวจจับโรคนี้ได้  


2. สถานการณฺ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก
     2.1  Cambodia

       องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) และสถาบันปาสเตอร์ ดู กอมบอดจ์ของกัมพูชาเผยว่า  จากการเก็บกลุ่มตัวอย่าง 240 ตัวอย่าง จากตลาด 4 แห่งในช่วง 7 สัปดาห์ที่ผ่านมาจากแผงขายไก่ตามตลาดต่างๆ ในพื้นที่กรุงพนมเปญ   พบ 60 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างแวดล้อมที่มีการเก็บไปศึกษา มีเชื้อไข้หวัดนก เอช5เอ็น1 แฝงอยู่  ปนเปื้อนเชื้อไข้หวัดนกเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับ 20 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างแวดล้อมที่พบว่ามีเชื้อไข้หวัดนกแฝงอยู่ในการศึกษาจากแผงขายไก่ในพื้นที่ตลาดเดียวกันในปี 2554 และยังมีพ่อค้าแม่ค้าขายไก่มีความเสี่ยงภัยที่จะติดเชื้อหวัดนกจากไก่ที่ป่วย หรือการขาดสุขอนามัยที่ดีพอ และน้ำที่ใช้ชำระล้างไก่ติดเชื้ออาจไหลลงสู่แม่น้ำและกลายเป็นการแพร่เชื้อเป็นบริเวณกว้างได้   
       ทั้งนี้จากรายงานข้อมูลของเอ็นเอวีอาร์ไอที่ส่งให้องค์การอนามัยโลกเพื่อสุขภาพสัตว์ระบุว่าเฉพาะปี 2556 นี้ มีไก่ในกัมพูชาติดเชื้อไข้หวัดนกตายไปแล้วกว่า 3,000 ตั
                                                                                        

2.2 India

      
พบการระบาดของสัตว์ปีก ในอำเภอ   Purina  และ MADHEPURA รัฐพิหาร ทำให้รํฐต้องทำลายสัตว์ปีกรวม 7300 ตัว และไข่มากกว่า  2000 ฟอง

2.3 Nepal

     มีการแจ้งเตือนระดับสูงในอำเภอ Morang ประเทศเนปาล พรมแดนติดต่อกับประเทศอินเดีย หลังจากมีการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในอำเภอ Purniya  รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย

2.4  Indonesia

   
     Head of Department of Animal Husbandry and Fisheries (Disnakan) Sragen, Eka Rini Mumpuni  เปิดเผยว่าได้ประกาศการระบาดของโรคไข้หวัดนกระบาดในสัตว์ปีก ในอำเภอ Karangmalang, Kedawung และSambungmacan เมืองSragen ซึ่งเป็นเมืองหลวงของ -เมืองSragen  ซึ่งเป็นเมืองหลวงของCentral Java  โดยมีเป็ดตายหลายพันตัว

2.5 Vietnam

    Nguyen Thanh Huy, Director of the Department of Animal Health จังหวัด Ca Mau เปิดเผยว่าจากการสุ่มตรวจสัตว์ปีก 21 ตัวอย่างในตลาดค้าขายสัตว์ปีก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 พบเชื้อ influenza A H5N1 จำนวน 16 ตัวอย่าง (ร้อยละ  76.1 )

2.6 Hong Kong ,China

       The Centre for Food Safety (CFS) of the Food and Environmental Hygiene Department  ของฮ่องกง รายงานว่า ได้ระงับการนำเข้าสัตว์ปีก และผลิตจากสัตว์ปีกจากหมู่บ้าน Lochem จังหวัด Gelderland  ประเทศเนเธอร์แลนด์ หลังจากได้รับข้อมูลการระบาดของเชื้อ H7 avian influenza ในหมู่บ้าน ดังกล่าว


      จากรายงานผลการวิจัยของ UCLA researchers และคณะ เรื่องPredicting hotspots for future flu outbreaks  พบว่าพื้นที่บริเวณชายฝั่ง และภาคกลางของประเทศจีน และ  Nile Delta ของประเทศอียิปต์ เป็นพื้นที่ที่มีอันตราย เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะเกิด virulent kind of super-flu จากการรวมกันของยีนเชื้อไข้หวัดนก และ human flu ซึ่งรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศได้เฝ้าระวังการกลายพันธ์ในพื้นที่ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดทั้ง humans, livestock, poultry และwild birds นอกจากนั้นได้พบว่า ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่สามารถทำให้คาดการณ์การระบาดต่อ H3N2 ในประเทศจีนได้แก่ มาตรการการจำกัดการแพร่ระบาดอย่างจริงจัง และความหนาแน่นของประชากร  ส่วน Subtype H5N1 ได้แก่มาตรการการจำกัดการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวด     ความหนาแน่นของประชากร (คน)  ความหนาแน่นของเป็ด(กรณีเฝ้าระวัง) หรือไก่(กรณีเกิดการระบาด)   และ Percentage water
(กรณีเฝ้าระวัง)  ส่วนประเทศอียิปต์พบว่า ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่สามารถทำให้คาดการณ์การระบาดของ Subtype H5N1 ได้แก่ มาตรการการจำกัดการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวด   และความหนาแน่นของสัตว์ปีก



  
3.สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า
    3.1   The United  State of America

     เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากรัฐแมริแลนด์ จอร์เจีย นอร์ทแคโรไลนา ฟลอริดา และอิลลินอยส์  แจ้งว่า เร่งตรวจสอบผู้ที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อพิษสุนัขบ้าหลายร้อยคน จากการสัมผัสอวัยวะของผู้บริจาครายหนึ่งที่มีเชื้ออยู่ หลังผู้ที่ได้รับบริจาคไตไปเสียชีวิต 1 คน ทางการระบุว่า แพทย์จากรัฐฟลอริดาไม่ได้ทดสอบเชื้อพิษสุนัขบ้าจากผู้บริจาคก่อนที่เขาจะเสียชีวิต และมีผู้ติดต่อสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ และอวัยวะของเขาราว 90 คน ในขณะที่รัฐแมริแลนด์มีบุคลากรทางการแพทย์ ญาติผู้รับบริจาคที่เสียชีวิต และอื่นๆ ร่วม 200 คนที่มีความเสี่ยง ด้านผู้รับบริจาคอวัยวะรายอื่นๆ กำลังได้รับการรักษาโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ โดยเริ่มรับวัคซีนในเดือนนี้ และยังไม่มีรายใดที่แสดงให้เห็นถึงอาการของโรค



4.  สถานการณ์การติดเชื้อโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ 2012

      4.1 Saudi Arabia(ข้อมูลเพิ่มเติมผู้ติดเชื้อรายที่ 15 เสียชีวิตรายที่9 ของโลก)

       Ziad A. Memish, MD, deputy minister for public health ของประเทศซาอุดิอาระเบีย เปิดเผยว่า จากข้อมูลการสอบสวนผู้ติดเชื้อโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ 2012รายที่ 15 เสียชีวิตรายที่9 ของโลก ซึ่งอาศัยในประเทศซาอุดิอาระเบีย พบว่าก่อนป่วยไม่มีประวัติเดินทางออกจากประเทศ แต่มีประวัติไปเที่ยวในฟาร์มของญาติที่ตั้งอยู่นอกเมือง Riyadh   และชาวกาตาร์(รายที่ 6)ที่ไปรักษาที่ประเทศเยอรมัน มีประวัติเป็นเจ้าของฟาร์มเลี้ยงแพะ และได้ไปดูแลแพะก่อนมีอาการ

4.2 The United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland(ข้อมูลเพิ่มเติมClusterในประเทศอังกฤษ)
       ผู้ติดเชื้อรายแรก(Index case)เป็นชาย อายุ 60 ปี เดินทางไปเยี่ยมบ้านเกิดที่ประเทศปากีสถาน 5 สัปดาห์ (ถึงวันที่ 19 มกราคม 2556 ตลอดเวลาไม่มีประวัติเจ็บป่วย) ต่อมาวันที่ 20 มกราคม 2556 เดินทางไปเมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เพื่อทำพิธีอุมเลาะห์ วันที่ 24 มกราคม 2556 เริ่มมีอาการเล็กน้อย( ก่อนป่วย 10 วันไม่มีประวัติสัมผัสสัตว์ หรือผู้มีอาการ severe pneumonia) วันที่ 27 มกราคม 2556 เดินทางกลับประเทศอังกฤษ อาการไม่ดีขึ้นเข้ารับการรักษาในตึกผู้ป่วยหนักวันที่  31 มกราคม 2556   
ตรวจพบทั้งเชื้อโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ 2012 และ 2009 H1N1 influenza   และให้extracorporeal membrane oxygen วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 ปัจจุบันยังรับการรักษา ผู้สัมผัสร่วมบ้าน 5 ราย  มีอาการระบบทางเดินหายใจผิดปกติ 1 ราย (ติดเชื้อยืนยัน 1 ราย) ผู้สัมผัสร่วมบ้านที่ไปเยี่ยมผู้ป่วย 15 ราย มีอาการระบบทางเดินหายใจผิดปกติ 5 ราย แต่ตรวจไม่พบเชื้อ    ผู้ไปเยี่ยมผู้ติดเชื้อในโรงพยาบาล 13 ราย ราย  มีอาการระบบทางเดินหายใจผิดปกติ 1 ราย (ติดเชื้อยืนยัน 1 ราย)  Healthcare worker  59 รายมีอาการระบบทางเดินหายใจผิดปกติ 7 ราย แต่ตรวจไม่พบเชื้อ   
     
    ผู้ติดเชื้อรายที่ 2  เป็นชาย อายุ 38 ปี เป็นบุตรชาย อยู่ร่วมบ้านกับรายแรก  มีประวัติเป็น CA brain ให้เคมีรักษา อยู่กับผู้ติดเชื้อตั้งแต่กลับมาประเทศอังกฤษ เริ่มมีอาการเล็กน้อย 6 กุมภาพันธ์ 2556 ต่อมาวันที่  9  กุมภาพันธ์ 2556 เข้ารับการรักษาในตึกผู้ป่วยหนัก  ให้extracorporeal membrane oxygen วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 และเสียชีวิตวันที่  17 กุมภาพันธ์ 2556 ผู้สัมผัสร่วมบ้าน และเข้าเยี่ยม 10 ราย ราย  มีอาการระบบทางเดินหายใจผิดปกติ 4 ราย แต่ตรวจไม่พบเชื้อ  ผู้ไปเยี่ยมที่โรงพยาบาล 1 ราย มีอาการระบบทางเดินหายใจผิดปกติ 4 ราย แต่ตรวจไม่พบเชื้อ Healthcare worker 6  รายมีอาการระบบทางเดินหายใจผิดปกติ 1 ราย แต่ตรวจไม่พบเชื้อ   
     รายที่ 3 อายุ 30 ปี เป็นภรรยาของผู้ติดเชื้อรายที่ 2 มีประวัติไปเยี่ยมindex case  3 ครั้งอยู่คนละบ้านกับindex  case  เริ่มมีอาการเล็กน้อยวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 จนกระทั่ง 15 กุมภาพันธ์ 2556 หายเป็นปกติ ผู้สัมผัสร่วมบ้าน 1 ราย ราย  มีอาการระบบทางเดินหายใจผิดปกติ 1  ราย แต่ตรวจไม่พบเชื้อ  other setting 14 ราย อาการระบบทางเดินหายใจผิดปกติ 2  ราย แต่ตรวจไม่พบเชื้อ   Healthcare worker  2  ราย ไม่มีอาการระบบทางเดินหายใจผิดปกติ


5.  สถานการณ์โรค Nipah infection
   5.1 Bangladesh
      ตั้งแต่ต้นปี 2556  ถึง 12 มีนาคม 2556 พบผู้ติดเชื้อ Nipah virus จำนวน 19 ราย  และเสียชีวิต 17 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 89 กระจายใน 13 อำเภอ ได้แก่ Gaibandha, Natore, Rajshahi, Naogaon, Rajbari, Pabna, Jhenaidah, Mymensingh, Nilphamari, Chittagong, Kurigram และ Kustia  ผู้ติดเชื้อมีอายุตั้งแต่ 8 เดือน ถึง 55 ปี  ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน  13 ราย และเพศหญิง 6 ราย
     Human Nipah virus (NiV) infection เป็นโรคอุบัติเชื้อใหม่ ที่เกิดจากสัตว์  มีการระบาดครั้งใหญ่ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2541 ถึง พฤษภาคม 2542 ในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์  มีรายงานผู้ป่วย 276 ราย

6. สถานการณ์การติดเชื้อH1N1( Swine flu virus)
             
    6.1 INDIA

    The National Institute of Virology (NIV) ประเทศอินเดีย เปิดเผยว่าการระบาดของเชื้อ H1N1 ในรัฐ Gujarat และรัฐใกล้เคียงยังมีอย่างรุนแรงและต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2556  ข้อมูลล่าสุดเฉพาะรัฐ Gujarat  มีรายงานผู้เสียชีวิต  110 ราย ติดเชื้อ  583 ราย เข้ารับการรักษา   349 ราย 
                                       
     6.2 Palestine

    The PA Minister of Health  ของประเทศปาเลสไตน์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปีมีรายงานผู้ติดเชื้อทั่วประเทศ 4500 ราย เสียชีวิต 31 ราย


7.สถานการณ์การติดเชื้อ HIV
  7.1 South Africa
                           
      Health Minister Aaron Motsoaledi  ประเทศแอฟริกาใต้ เปิดเผยว่ามีนักเรียนหญิงในประเทศติดเชื้อ HIV อย่างน้อย ร้อยละ 28 ส่วนนักเรียนชายมีเพียงร้อยละ 4 ที่ตืดเชื้อ HIV


8. สถานการณ์การปนเปื้อนแบคทีเรียโคลิฟอร์มในเค้กที่นำเข้าจากบริษัทอิเกีย

      "อีเกีย"บริษัทเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำ ได้ประกาศเรียกคืนเค้กจำนวนหลายพันชิ้นจากร้านอีเกีย ใน 23 ประเทศหลังถูกพบว่า มีการปนเปื้อนเชื้อโรคที่พบในลำไส้มนุษย์และซากสัตว์ ภายหลังเจ้าหน้าที่ศุลกากรจีนได้เปิดเผยว่า ได้ทำลายเค้กจำนวน 1,800 ชิ้นในห้างอิเกีย หลังพบว่ามีการปนเปื้อนสารโคลิฟอร์ม ในระดับที่ไม่ปลอดภัย โดยมาตรการนี้เป็นการป้องกันเพื่อทำลายเค้กดังกล่าวที่อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคประเภทอื่นด้วย เช่น เชื้ออีโคไล
รายงานระบุว่า ประเทศที่อิเกียประกาศเรียกคืนเค้กที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคนี้ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยี่ยม บัลแกเรีย จีน สาธารณรัฐเชก เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมัน กรีซ ฮังการี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โรมาเนีย รัสเซีย สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ไต้หวัน และสหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ โดยเจ้าหน้าที่เผยว่า เค้กดังกล่าวที่พบว่ามีการปนเปื้อนของเชื้อโรคโคลีฟอร์ม ถุกจัดส่งโดยผู้จัดส่งสัญชาติสวีเดน และส่งออกไปยังร้านอีเกียต่าง ๆ ในทั่วโลก
       อย่างไรก็ตาม อิเกียยืนยันว่าผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของลูกค้า เพราะเค้กทุกชิ้นผ่านการตรวจสอบว่าไม่มีเชื้อร้ายแรงอย่างอีโคไล แต่การพบแบคทีเรียโคลิฟอร์มก็แสดงว่ามีปัญหาการผลิตไม่ได้มาตรฐานเกิดขึ้นจริง อิเกียจึงเรียกเก็บสินค้าคืนเพื่อความสบายใจของผู้บริโภค






    สถานการณ์ในประเทศ

    1. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก

          นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเผยว่าจากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานตั้งแต่ 1 ม.ค.ถึงวันที่ 11 มี.ค. 2556 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศรวม 13,200 ราย พบทุกจังหวัด เฉลี่ยสัปดาห์ละ 1,000 -1,500 ราย มีผู้เสียชีวิต 16 ราย กว่าครึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี ทั้งจำนวนผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตสูงกว่าช่วงเดียวกันในปี 2555 ถึง 4 เท่าตัว แสดงถึงว่าภายในบ้านของประชาชนมียุงลายซึ่งเป็นตัวนำโรคนี้ หลบซ่อนอาศัยอยู่ด้วยผลการสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือน ทั้งในเขตเมืองและนอกเมือง ชุมชนแออัด และชุมชนย่านพาณิชย์ใน 190 อำเภอ โดยหน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค ระบุภาชนะขังน้ำเพื่อใช้ดื่มหรือใช้ภายในบ้านเรือนกว่าร้อยละ 70 มีลูกน้ำยุงลายชุกชุมมาก จังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตมี 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา 5 ราย นครศรีธรรมราช 2 ราย ที่เหลือได้แก่ กทม. สมุทรปราการ นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง ปัตตานี ยะลา จังหวัดละ 1 ราย


2.สถานการณ์พิษควันไฟ
     2.1 แม่ฮ่องสอน
         กรมควบคุมมลพิษรายงานผลตรวจวัดคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม จ.แม่ฮ่องสอน เผยว่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กว่า 10 ไมครอนเจือปนในอากาศสูงถึง 219 ไมโครกรัมต่อลบ.ม. และค่าดัชนีคุณภาพอากาศเท่ากับ 143 ทำให้คุณภาพอากาศอยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ยังตรวจพบจุดความร้อนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 28 จุด ป่าสงวนแห่งชาติ 6 จุด และพื้นที่เกษตร 11 จุด โดยดัชนีคุณภาพอากาศวัดเกินค่ามาตรฐานต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 แล้ว ซึ่งยังส่งผลกระทบต่อสายการบินพาณิชย์ โดยสายการบินนกแอร์ที่ให้บริการระหว่างท่าอากาศยานเชียงใหม่มายังท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอนต้องยกเลิกเที่ยวบินต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 โดยวันนี้ยกเลิกอีก 4 เที่ยวบิน รวมแล้วนกแอร์ยกเลิกเที่ยวบินอันมีสาเหตุมาจากหมอกควันไฟป่าที่หนาทึบแล้ว 12 เที่ยวบินด้านผู้ว่าฯ วอนหยุดเผาป่า-พื้นที่การเกษตร ฮึ่มเอาผิดกลุ่มลอบเผา เหตุหวั่นกระทบการท่องเที่ยว ประสานเร่งทำฝนหลวงช่วย
      ด้านนพ.ไพศาล ธัญญาวินิชกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเผยเพิ่มเติมว่า จากข้อมูลประชาชนที่ป่วยจากหมอกควันและเข้ารับบริการใน โรงพยาบาลระหว่างวันที่ 3-9 มี.ค. มีทั้งสิ้น 2,165 ราย โรคที่พบสูงสุดคือ โรคระบบทางเดินหายใจ 923 ราย โรคหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต 1,049 ราย โรคผิวหนัง 122 ราย และโรคตา 71 ราย

   3. สถานการณ์โรคอุจจาระร่วง
          ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรคเผยว่า จากการเฝ้าระวังโรคอุจจาระร่วง ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 10 มี.ค. 2556 พบผู้ป่วย 191,515 ราย จาก 77 จังหวัด เสียชีวิต 1 ราย พบผู้หญิงป่วยมากกว่าผู้ชาย อาหารที่เสี่ยง 10 ชนิดมีดังนี้10 เมนูฮิตที่มักทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ได้แก่ 1. ลาบ/ก้อย เช่น ลาบหมู ก้อยปลาดิบ 2. ยำกุ้งเต้น 3. ยำหอยแครง 4. ข้าวผัดโรยเนื้อปู โดยเฉพาะกรณีทำในปริมาณมาก เช่น อาหารกล่องแจกนักเรียน หรือคณะท่องเที่ยว 5. อาหาร/ขนม ที่ราดด้วยกะทิ 6. ขนมจีน 7. ข้าวมันไก่ 8. ส้มตำ 9. สลัดผัก และ 10.น้ำแข็ง เมนูเหล่านี้ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะจะบูดง่าย สำหรับเมนูอื่นๆ  
        ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันโรค ร้านอาหาร และร้านค้าที่เกี่ยวข้องกับอาหารและน้ำ เพิ่มความระมัดระวังความสะอาดของอาหารและน้ำ ส่วนผู้บริโภคอาหารต้องยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ถ้ารับประทานอาหารร่วมกัน ควรมีช้อนกลางตักอาหาร และล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าส้วมด้วยสบู่

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น