วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สถานการณ์โรคและภัยทั้งในและต่างประเทศ ประจำวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555

  สถานการณ์โรคและภัยทั้งในและต่างประเทศ ประจำวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 มีดังนี้

1.     สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก
1.1 WPRO Member states

          ภาพรวมของสถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2555 ของกลุ่มประเทศwestern pacific region พบว่าการระบาดอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ยกเว้น ประเทศจีน เขตปกครองพิเศษฮ่องกง และมาเก๊า  และสิงคโปร์ ที่พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา   อย่างไรก็ตามปัจจุบันเขตปกครองพิเศษฮ่องกง มาเก๊า  ญี่ปุ่นเกาหลี และสิงคโปร์มีแนวโน้มลดลง  ขณะที่ประเทศเวียดนามและจีนยังมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม(ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2555)พบผู้ป่วย 134929 ราย เสียชีวิต 43 ราย (อาการของผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีความเชื่อมโยงกับเชื้อEV71)  กระจายใน 63 จังหวัดทั่วประเทศ


2. สถานการณ์ Yellow Fever
   2.1 Sudan
       การระบาดของโรค Yellow Feverที่เมือง Darfur ประเทศซูดาน ข้อมูลที่เผยแพร่ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 พบว่ามีรายงานผู้ป่วย 518 ราย เสียชีวิต 134 ราย เขตที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ Central Darfur ( ผู้ติดเชื้อ 309 ราย เสียชีวิต 73 ราย) รองลงมาได้แก่
West Darfur(ผู้ติดเชื้อ 137 ราย เสียชีวิต 45 ราย)  และ South Darfur (ผู้ติดเชื้อ 72 รายเสียชีวิต 16 ราย)  และวันจันทร์ที่ผ่านมา the United Nations Country Team (UNCT) และ UNAMID ได้ประชุมกับUN Development Programme's headquarters ที่Khartoum เพื่อทบทวนขั้นตอนการควบคุมการระบาดของโรค yellow fever iที่เมือง Darfur เพื่อช่วยเหลือประเทศซูดาน  ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข ประเทศซูดานได้เริ่มฉีดวัคซีนแก่ประชาชน 2.4 ล้านคนในเขต Central, West และ South Darfurเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555
3. สถานการณ์การเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ

    3.1 PAKISTAN
      พบเด็กเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ(ไข้ มีผื่น) ที่ตำบล Thari Mirwah taluka )อำเภอKhairpur จังหวัด Sindh ประเทศPakistan.   ก่อนเหตุการณ์นี้ 48 ชั่วโมงมีเด็กในหมู่บ้านอื่นเสียชีวิต 7 ราย ขณะนี้ health department หรือ district administrationยังให้ความสนใจค่อนข้างน้อย โดยอ้างว่าเพราะบุคลากรให้บริการไม่เหมาะสม หรือขาดยา  ขณะที่มีผู้มีผู้ป่วยหลายราย คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตจากการระบาดนี้มากขึ้น




4. สถานการณ์โรคEbola

  4.1 Uganda
       กระทรวงสาธารณสุขประเทศยูกานดา ได้แจ้งองค์การอนามัยโลกเรื่องการระบาดของโรคEbola haemorrhagic feverครั้งใหม่ที่อำเภอ Luweero ใน Central Uganda วันที่ 17 พฤศจิกายน 2555 มี 4 ราย เสียชีวิต 3 ราย  มีผลตรวจ by PCR and serology tests ที่the Uganda Virus Research Institute (UVRI) ที่ Entebbe.ยืนยันพบ Ebola virus (species Sudan) 2 ราย  กระทรวงสาธารณสุข WHO และ Médecins Sans Frontières (MSF) ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสอบสวนโรคเบื้องต้น โดยเฉพาะค้นหา close contacts ของ the confirmed aและprobable cases โรคนี้ยังไม่มีวัคซีน และยารักษาโดยเฉพาะ
  5. สถานการณ์ Plague
      5.1  Madagasca
        The statistical management of health monitoring and epidemiological surveillance (DVSSE) ของกระทรวงสาธารณสุข ประเทศ Madagasca รายงานเมื่อวันที่  14 พฤศจิกายน 2555 ว่ามีการระบาดของโรคกาฬโรค(Plague) ที่ The Big Island เขต   Bongolava สูงสุด โดยพบผู้ป่วย 43 ราย  เสียชีวิต 6 ราย ( เสียชีวิตจาก bubonic plague เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555  จากนั้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 เพิ่มอีก 2 ราย และ รายล่าสุดเสียชีวิตวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555)   รองลงมาได้แก่ อำเภอAmbalavao ในเขต Haute-Matsiatra  3 ราย และ อำเภอ Mandoto ในเขต Vakinankaratra (โดยใน 2 อำเภอหลังเริ่มพบผู้ป่วยในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555) โรคนี้มีพาหะนำโรคคือหนูและหมัดหนู คาดว่าการระบาดจะมีความรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากประเทศดังกล่าวอยู่ในช่วงฝนซึ่งจะทำให้มีพาหะโรคนี้มากขึ้น Madagascaเป็นประเทศที่เป็นเกาะสวยงาม มีประชาชนจากหลายประเทศนิยมไปท่องเที่ยว
6. สถานการณ์โรคติดเชื้อโคโลน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่
   6.1 Saudi Arabia
       กระทรวงสาธารณสุข ประเทศซาอุดิอาระเบียมีการเปิดเผยเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 ว่าพบผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อโคโลน่าสายพันธ์ใหม่ 2012 เป็นรายที่ 4 ผู้ป่วยรายนี้ไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงริยาร์ดด้วยอาการไข้หวัด จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการของกระทรวงสาธารณสุข และ ส่งตัวอย่างไปreference laboratory ที่อยู่นอกประเทศ พบเชื้อ novel coronavirus หลังทราบผลกระทรวงสาธารณสุขได้แจ้ง WHOและ ได้รับthe National Scientific Committee for Infectious Diseases ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและมีอาการดีขึ้น ขณะนี้กำลังมีการสอบสวนแหล่งโรค การติดต่อโรคของผู้ป่วย  

       
รอน ฟูเชียร์ นักไวรัสวิทยาของศูนย์การแพทย์ เอราสมุส
เผยผลการจำแนกพันธุกรรมของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อโคโลน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่ 2012 หรือโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบ พลันรุนแรง (ซาร์ส)  ระลอกใหม่ ที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ไวรัส "เอชซีโอวี- อีเอ็มซี/2012" ว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่มีความใกล้เคียงกับไวรัสสายพันธุ์เดียวกันที่พบในค้างคาวเอเชีย  นอกจากนั้นยังพบว่า เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่  HCoV-EMC/2012 เป็นส่วนหนึ่งของไวรัสวงศ์โคโรนา แต่อยู่ในประเภทจำเพาะ   ซึ่งเรียกว่าเบตาโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ร่วมวงศ์ใกล้เคียงที่สุด คือสายพันธุ์ที่พบในค้างคาวไผ่หัวแบนเล็ก และอีกสายพันธุ์ในค้างคาวเพดานญี่ปุ่นไวรัสสายพันธุ์นี้มีความใกล้ชิดกับไวรัสที่พบในค้างคาวเอเชียมากที่สุด และไม่มีไวรัสในมนุษย์สายพันธุ์ไหนที่มีความใกล้เคียงกับไวรัสชนิดนี้เลย
เราจึงคาดการณ์ว่าไวรัสดังกล่าวกำเนิดมาจากสัตว์" พร้อมเสริมว่าค้างคาวเพดานนั้นสามารถพบได้ที่ซาอุดีอาระเบีย และประเทศเพื่อนบ้าน     

7. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก

  7.1 ทั่วโลก
     The United Nations Food and Agriculture Organization (FAO) เปิดเผยว่าตั้งแต่กลางปี 2554 สถานการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก และนกป่าลดลง โดยเฉพาะเห็นแนวโน้มลดลงมากในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555  จากรายงานตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงกรกฏาคม 2555 มีรายงานการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก 98 ครั้ง นกป่า 5 ครั้ง ในขณะที่ในช่วงเวลาไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 มีการระบาด 508 ครั้ง   ประเทศที่มีการระบาดในสัตว์ปีก ได้แก่ Bangladesh, Cambodia, China (รวมทั้งเขตปกครองพิเศษ Hong Kong), Egypt, India, และ Indonesia    นอกจากนั้นมีรายงานตรวจพบนกหรือนกป่าติดเชื้อ 6 ครั้งที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ประเทศจีน
       นอกจากนั้นตั้งแต่ต้นปี 2554 เป็นต้นมา หลายประเทศในทวีปเอเชียได้แก่ India, the Republic of Korea, Japan, Myanmar และNepal มีการตรวจพบไข้หวัดนกสายพันธ์ใหม่โดยเฉพาะ virus clade 2.3.2.1 ในสัตว์ปีกซึ่งที่ส่วนใหญ่มักจะพบในนกหรือนกป่า ประเทศBhutan เป็นประเทศแรกที่มีการตรวจพบ clade 2.3.2.1เป็นครั้งแรก  Bangladesh เริ่มมีการตรวจพบnew introduction of virus clade 2.3.2.1 ในปี 2553 และมีรายงานมีรายงานการตรวจพบสายพันธืดังกล่าวทั้งปี 25554 และไตรมาสแรกของปี 2555 นอกจากนั้นในไตรมาสแรกของ ปี 2555 ก็มีการตรวจพบสายพันธ์ดังกล่าวในประเทศอินเดียเช่นกัน ในเวลาดังกล่าวประเทศอินเดียมีการรระบาดในนกป่า 3 ครั้งและสัตว์ปีก 6 ครั้ง  สำหรับประเทศ Indonesia Viet Nam และEgyptแม้จะมีการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแต่ไม่มีรายงานสายพันธ์ใหม่   ประเทศ Nepal ยืนยันclade 2.3.2ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2554    จากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า Nepal และประเทศในโซน South Asia มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของ H5N1 HPAI virus(2.3.2)มาก

       Clade 1.1 viruses, ที่กลายพันธ์มาจากClade 1ยังคงกระจายที่ในพื้นที่the lower Mekong     Clade 2.1 variants มีการตรวจพบในIndonesia   สำหรับประเทศเวียดนาม Clade  ที่เริ่มมีการกระจายมากกว่า 6 จังหวัด คือ clade 2.3.2.1   Virus clade 2.3.2 พบค่อนข้างมากในประเทศจีน

       แม้ประเทศไทยไม่มีรายงานการตรวจพบเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกมาหลายปี ก็มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกและนกป่าเช่นกัน เนื่องจากประเทศในทวีปเอเซียในหลายประเทศเชื้อไข้หวัดนกเริ่มมีการกลายพันธ์สูงทำให้การใช้วัคซีนไม่ได้ผล ประกอบการการอพยพของนกป่าจากประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้เข้ามาหากินในประเทศไทยแต่ละฤดูกาลก็มีการต่อเนื่อง ประกอบกับการซื้อขาย/เคลื่อนย้ายสัตว์ปีกในชายแดนประเทศต่างๆก็เป็นข่าวในสื่อมวลชนเนืองๆ ทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก โดยเฉพาะสายพันธ์ที่มีการกลายพันธ์ได้เช่นกัน
8. สถานการณ์ Fungal meningitis
  8.1 The United State of America
       การระบาดของ Fungal meningitis ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง มีข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 ว่ามีรายงานผู้ป่วยเพิ่มเป็น 490 ราย เสียชีวิต 34 ราย ผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตทั้งหมดก่อนมีอาการได้รับการฉีด. The methylprednisolone acetate ที่ผลิตจากNew England Compounding Center (NECC)ที่บริเวณไขสันหลังหรือข้อ CDC สังเกตพบว่ากลุ่มผู้ป่วยมี peripheral joint infection เพิ่มขึ้นเป็น 12 ราย ขณะนี้ Senate committee กำลังสอบสวนการระบาดที่ยังมีอย่างต่อเนื่องต่อไป
9. สถานการณ์แผ่นดินไหว
        สำนักธรณีวิทยาสหรัฐฯ รายงานว่า เกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเลนอกชายฝั่ง 2 ประเทศ 2 ทวีป โดยจุดแรกเกิดในทวีปเอเชีย ที่ไต้หวัน เมื่อเวลา 05.25 น.ตามเวลาประเทศไทย วัดได้ 4.9 ริกเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ใต้ทะเลลึกราว 22 กิโลเมตร ห่างจากชายฝั่งเมืองฮัวเหลียน ราว 74 กิโลเมตร แต่ยังไม่มีรายงานผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งนี้
ส่วนจุดที่ 2 ที่ประเทศชิลี ทวีปอเมริกาใต้ วัดได้ 5.2 ริกเตอร์ เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 05.52 น.ตามเวลาประเทศไทย จุดศูนย์กลางอยู่ใต้ทะเลลึกราว 9.8 กิโลเมตร ห่างจากชายฝั่งเมืองซานอันโตนิโอ ราว 55 กิโลเมตร และเมืองคาร์ตาเกนา ราว 60 กิโลเมตร แต่ยังไม่มีรายงานผลกระทบและความเสียหายจากทางการชิลีเช่นเดียวกัน
สถานการณ์โรคและภัยในประเทศ
   1.1 สถานการณ์โรคไข้เลือดออก

      จากการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการโรคไข้เลือดออก ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.- 19 ต.ค. 2555 จำนวน Positive 239 ราย สูงสุดคือ ซีโรไทป์ที่พบมากที่สุดคือ DEN-2 จำนวน 121 ราย (ร้อยละ 50.6 ) รองลงมาได้แก้  DEN-1 จำนวน 66 ราย (ร้อยละ 27.6 ), DEN-3 จำนวน 48 ราย ( ร้อยละ 20.1 ) และ DEN-4 จำนวน 4 ราย ( ร้อยละ1.7) ตามลำดับ   เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา พบว่า DEN-1-2-4 มีแนวโน้มลดลง แต่ DEN-3 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (จากร้อยละ  12.3  ในปี 2554 เป็น ร้อยละ 20.1 ปี 2555) ประกอบกับยังมีการระบาดของประเทศเพื่อนบ้านในหลายประเทศ คาดว่าการระบาดในประเทศจะมีอย่างต่อเนื่องจนถึงต้นปีหน้า



1.2 สถานการณ์ภัยพิบัติอื่นๆ

       นายอาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา อดีตนักวิทยาศาสตร์จากองค์การนาซา และผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะโลกร้อน กล่าวถึงกรณีการเกิดพายุสุริยะ ว่า พายุสุริยะจะเกิดขึ้นทุก 11 ปี มีแนวโน้มอาจเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม ถึงเดือนมกราคมปีหน้า สำหรับผลกระทบจะทำให้ไฟดับ ระบบสื่อสารทางดาวเทียมขัดข้อง รวมถึงแผ่นดินไหว  
      ประเทศไทยถือว่าได้รับผลกระทบน้อยกว่าประเทศที่อยู่ขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้ปัญหาที่เกิดขึ้นแน่นอนกับประเทศไทย คือแผ่นดินไหว บริเวณที่อาจเกิดแผ่นดินไหว คือ รอยต่อของเปลือกโลกทางทะเลอันดามัน อาจเกิดสึนามิขึ้นอีกครั้ง หากเกิดปรากฏการณ์พายุสุริยะ ขึ้นจะมีการแจ้งล่วงหน้า 48 ชั่วโมง ซึ่งไทยมีแผนสำรองในระยะยาวล่วงหน้าไว้แล้ว
      ดร.สมิทธ ธรรมสโรจน์ ประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีแผ่นดินไหวที่เกิดในประเทศพม่า และเตือนผลกระทบที่อาจเกิดกับประเทศไทย เนื่องจาก "พายุสุริยะ" ที่จะพัดเข้าสู่โลกในวันที่ 21 ธ.ค. นี้ ผ่านรายการ ThailandOnly เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมาว่า แผ่นดินไหวในพม่านั้นถือเป็นเรื่องน่ากลัวกว่าปกติ เนื่องจากอัตราความรุนแรงของการเกิดอาฟเตอร์ช็อกนั้น จะลดลงมากกว่าครั้งแรกที่เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งแผ่นดินไหวในพม่านั้น ครั้งแรกเกิดที่ระดับ 6.6-6.8 ริกเตอร์ และอาฟเตอร์ช็อกก็ควรจะเป็น 4-5 ริกเตอร์ แต่อาฟเตอร์ช็อกที่เกิดตามมานั้นกลับมีความรุนแรงสูงถึง 5.5-5.6 จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดว่า พลังงานที่สะสมอยู่ที่รอบรอยเลื่อนสะแกงของพม่าที่เกิดเมื่อวันที่ 11 พ.ย. นั้น น่ากลัวว่าจะมีพลังงานสะสมเหลืออยู่

      ดร.สมิทธ กล่าวต่อว่า สำหรับการเกิดอาฟเตอร์ช็อกนั้นสามารถมองได้ 2 ด้าน ด้านดี และ ด้านไม่ดี สำหรับด้านดีของอาฟเตอร์ช็อกนั้น ถือว่าเป็นการปลดปล่อยพลังงานที่สะสมอยู่บริเวณรอยเลื่อน แต่หากมองอีกด้านหนึ่งคือ อาจจะเป็นพลังงานที่ปลดปล่อยออกมานั้นยังไม่หมดไปจริงๆ ถึงได้มีอาฟเตอร์ช็อกที่มีระดับความรุนแรงสูงเกิดขึ้นตามมา และอาจจะเกิดเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ต่อไปก็เป็นได้

         นอกจากนี้ยังกล่าวถึง แผ่นดินไหวในประเทศพม่านั้น ถ้าหากยังเกิดความสั่นสะเทือนต่อไป อาจส่งผลกระทบต่อรอยเลื่อนของประเทศไทยในภาคเหนือ ซึ่งมีหลายรอยเลื่อนที่อยู่ห่างเพียงไม่กี่ร้อยกิโลเมตร ถือว่าใกล้กับรอยเลื่อนสะแกงในประเทศพม่า ซึ่งรอยเลื่อนในประเทศไทยที่ต้องระวังผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่ รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน รอยเลื่อนเมย และอีกหลายๆ รอยเลื่อนที่อยู่ใน จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ และจ.อุตรดิตร

            ทั้งนี้ รอยเลื่อนสะแกง ในประเทศพม่านั้นถือเป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่มาก ซึ่งแผ่นดินไหวขนาด 6.1-6.6 ที่เกิดขึ้นในประเทศพม่านั้น ถือเป็นเพียงแขนงหนึ่งของรอยเลื่อนสะแกง อีกทั้งยังเป็นรอยเลื่อนที่พาดผ่านฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ยาวไปจนถึงทะเลอันดามันถึงหัวเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งก็เคยเกิดสึนามิเมื่อปี 2547 จึงถือว่าเป็นรอยเลื่อนหลักของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น