วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ข่าวในประเทศ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2012

1.โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2012

  (สธ.ตั้งชื่อโรคอุบัติใหม่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2012)
     กรมควบคุมโรค แถลงผลการประชุมกับผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส และองค์การอนามัยโลก ถึงเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในต่างประเทศ ว่า ได้มีการปรับการเรียกชื่อเป็น "โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุใหม่ 2012" เพื่อให้เข้าใจตรงกัน ซึ่งถือเป็นโรคอุบัติใหม่จากเชื้อไวรัสโคโรนา ชนิด RNA สายเดี่ยว ก่อให้เกิดอาการระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่แบบอ่อน ไปจนถึงรุนแรง ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปนิยามกลุ่มอาการของโรคได้ แต่จากอาการผู้ป่วย 2 คน ที่พบในอังกฤษ พบว่าเป็นเชื้อที่ต่างจากโรคซาร์ส อย่างไรก็ตาม ยังไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองอาการที่ท่าอากาศยาน และไม่ห้ามผู้ที่จะเดินทางไปแสวงบุญ แต่ให้เฝ้าระวังผู้ป่วยและนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลาง หากพบอาการต้องสงสัย ให้รายงานกรมควบคุมโรค เพื่อสอบสวนอาการทันที
   กรมควบคุมโรค แถลงผลการประชุมกับผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส และองค์การอนามัยโลก ถึงเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในต่างประเทศ ว่า ได้มีการปรับการเรียกชื่อเป็น "โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุใหม่ 2012" เพื่อให้เข้าใจตรงกัน ซึ่งถือเป็นโรคอุบัติใหม่จากเชื้อไวรัสโคโรนา ชนิด RNA สายเดี่ยว ก่อให้เกิดอาการระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่แบบอ่อน ไปจนถึงรุนแรง ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปนิยามกลุ่มอาการของโรคได้ แต่จากอาการผู้ป่วย 2 คน ที่พบในอังกฤษ พบว่าเป็นเชื้อที่ต่างจากโรคซาร์ส อย่างไรก็ตาม ยังไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองอาการที่ท่าอากาศยาน และไม่ห้ามผู้ที่จะเดินทางไปแสวงบุญ แต่ให้เฝ้าระวังผู้ป่วยและนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลาง หากพบอาการต้องสงสัย ให้รายงานกรมควบคุมโรค เพื่อสอบสวนอาการทันที
(
เตือนภัย "โคโรนาไวรัส" วงศ์เดียวกัน แต่ไม่ใช่ "ซาร์ส"
     กรณีพบผู้ป่วยชาวซาอุดีอาระเบียและกาตาร์รายแรก เสียชีวิตแล้ว ส่วนรายหลังที่เพิ่งเดินทางกลับจากซาอุฯ ถูกส่งตัวไปรักษาต่อที่อังกฤษและมีอาการสาหัสตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ก.ย. ทั้งสองคนติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน และมีอาการไตวายนอกจากนี้ ยังพบผู้ป่วยต้องสงสัย 5 คนในเดนมาร์ก โดย 4 คน แรกอยู่ในครอบครัวเดียวกันที่ผู้เป็นพ่อเพิ่งกลับจากซาอุฯ ส่วนอีกคนไม่เกี่ยวข้องกัน เพิ่งกลับจากกาตาร์ ทั้งหมดถูกแยกห้องผู้ป่วยเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
     ในส่วนของไทยเริ่มเตรียมการเหมือนกัน โดยสำนักโรคอุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระดมผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ ผู้แทนกรมการแพทย์ ตัวแทน WHO ประจำประเทศไทยและผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา กรมควบคุมโรค ประชุมชี้แจงสถานการณ์และมาตรการรับมือ มีศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค เป็นประธาน
       ด้านนพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การเฝ้าระวังของไทยได้ทำตามข้อแนะนำของฮูที่ระบุว่า ถ้ามีผู้เดินทางกลับจากซาอุฯและกาตาร์ มีอาการรุนแรง ปอดบวม ต้องตรวจสอบอย่างละเอียด ในส่วนของห้องปฏิบัติการ ขณะนี้พบว่า ห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สธ. และศิริราชพยาบาล สามารถตรวจได้ถ้าพบกรณีดังกล่าว โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากฮูกับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (ซีดีซี) ให้คำแนะนำ กรมการแพทย์จะจัดทำแนวทางรักษาให้โรงพยาบาลทุกแห่งต่อไป เพราะยังไม่มียาและวัคซีนรักษา ทำได้แค่ประคับประคอง แยกผู้ป่วยเพื่อเฝ้าระวังโรค
      ส่วนดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ยังไม่พบการแพร่ระบาด แต่ทาง คร.เตรียมพร้อมไว้แล้ว ไม่อยากให้ตื่นตระหนก เพราะยังไม่มีข้อมูลการติดต่อง่ายเหมือนโรคซาร์ส แต่ต้องเฝ้าระวังและติดตามข้อมูลใกล้ชิดเพื่อความไม่ประมาท
    2. สถานการณ์โรคไข้เวสต์ไนล์
 (เตรียมพร้อมรับมือ'ไข้เวสต์ไนล์')
     นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากข่าวการระบาดอย่างรุนแรงของไข้เวสต์ไนล์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ศูนย์ป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีรายงานการพบผู้ติดเชื้อ จำนวน 1,118 ราย เสียชีวิตจำนวน 41 ราย ซึ่งผู้ป่วยทั้งหมดนี้เป็นจำนวนผู้ป่วยที่สูงที่สุดตั้งแต่พบการติดเชื้อ ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาปี พ.ศ.2542 ซึ่งข่าวนี้อาจสร้างความตื่นตระหนกมาสู่ประชาชนไทย เกรงว่าโรคนี้อาจระบาดมาถึงประเทศไทยได้ จึงขอบอกให้ประชาชนได้คลายกังวลว่า ในประเทศไทยยังไม่พบรายงานผู้ป่วยโรคเวสต์ไนล์ โอกาสที่โรคนี้จะแพร่จากต่างประเทศมาสู่ไทยเกิดขึ้นได้น้อย   
     ส่วนมาตรการของประเทศไทยในการรับมือกับโรคดังกล่าว รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ได้มอบหมายให้กรมควบคุมโรคประสานกับองค์การอนามัยโลก ศูนย์ป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและเตรียมความพร้อมในการป้องกันควบคุมโรคอย่าง ใกล้ชิด และระบบการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่สามารถตรวจ หรือส่งต่อเพื่อยืนยันโรคได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งมีการสื่อสารถึงประชาชนให้รับทราบเพื่อจะได้ไม่ตื่นตระหนก แต่ให้ตระหนักในการป้องกันตนเอง พร้อมทั้งได้แจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่จำเป็นต้องเดินทาง ไปประเทศสหรัฐอเมริกา ควรติดตามข้อมูลข่าวสารการระบาดของโรคจากต่างประเทศอย่างใกล้ชิด มีการเฝ้าระวังโรคทั้งในคนและในสัตว์ ห้ามนำเข้าสัตว์จากพื้นที่ที่มีโรคไวรัสเวสต์ไนล์เป็นโรคประจำถิ่น มีการตรวจหาเชื้อไข้เวสต์ไนล์ในสัตว์และนกธรรมชาติ ประชาสัมพันธ์เรื่องการป้องกันไม่ให้ยุงกัด การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ส่วนผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด หากมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ซึมลง และสงสัยว่าอาจเป็นโรคเวสต์ไนล์ ขอให้ไปพบแพทย์ พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง ซึ่งการดูแลปฏิบัติตนเช่นนี้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้
    
สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทร.1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทร.0-2590-3333



3. สถานการณ์โรคเพศสัมพันธ์
(เยาวชนเสียวครั้งแรก 15 ปี พบป่องก่อนวัย-ติดเชื้อโรคเพียบ)
      นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  กล่าวว่า พบวัยรุ่นไทยมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุน้อยลงเรื่อยๆ จากอายุ 18-19 ปี ในปี 2539 เป็นอายุ15-16 ปี ในปี 2552 อัตราการคลอดบุตรของวัยรุ่นอายุ 15-19 ปีเพิ่มจาก 50.3 ในปี 2548 เป็น 54.9 ต่อกลุ่มหญิงอายุ 15-19 ปีทุกๆ1,000 คน ในปี 2554 วัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกใช้ถุงยางอนามัยไม่ถึงร้อยละ 40 ทำให้อัตราป่วยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในเยาวชนอายุ 15-24 ปีสูงขึ้นจาก 23.5 ในปี 2545 เป็น79.8 ต่อประชากรวัยนี้ทุก 1 แสนคน ในพ.ศ. 2553 ต้นเหตุปัญหามาจากขาดความรู้ เช่นความเข้าใจผิดคิดว่าร่วมเพศครั้งเดียวไม่ตั้งครรภ์ ล่าสุดคณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ได้เห็นชอบร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ พ.ศ..... ถือเป็นกฎหมายฉบับแรกที่จะทำให้ระบบบริการในเชิงส่งเสริมด้านอนามัยเจริญ พันธุ์ของไทยครบถ้วน โดยมี 5 หมวด รวม 31 มาตราประกอบด้วยการให้ความรู้ การให้คำปรึกษา การบำบัดรักษา การส่งต่อและการช่วยเหลือ 9 เรื่องได้แก่ 1.ข้อมูลข่าวสารอนามัยการเจริญพันธุ์และเพศศึกษา2.การวางแผนครอบครัวทั้งชาย และหญิง 3.ภาวะการมีบุตรยากซึ่งจะพัฒนาผู้ให้บริการให้มีความรู้และความสามารถในการ ให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการมีบุตรตามมาตรฐาน 4.อนามัยแม่และเด็ก ซึ่งได้กำหนดให้สถานศึกษาที่มีเด็กนักเรียนตั้งครรภ์ ได้เรียนต่อ หน่วยงานรัฐต้องไม่ขัดขวางการลาคลอดและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 5.โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ 6.โรคมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์ 7.การแท้งและภาวะแทรกซ้อน และระบบการส่งต่อที่เหมาะสม 8.การดูแลสุขภาพวัยทอง และ 9.บริการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่ง สธ.จะนำเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อเห็นชอบและนำเข้าให้สภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบและประกาศเป็นกฎหมายต่อไป
ที่มา: สำนักเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค
4. สถานการณ์โรคเบาหวาน
      ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เทพ หิมะทองคำ ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลเทพธารินทร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคเบาหวาน เผยว่า ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคเบาหวานจำนวนมาก มีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ของประชากร โดยสถิติของประชากรอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป ตกประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ อายุเกิน 45 ปีขึ้นไป ตกประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในจำนวนนี้ ครึ่งหนึ่งไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคเบาหวานและ เนื่องจากไม่รู้ ทำให้ไม่รู้จักดูแลตัวเอง จำเป็นต้องประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้นเพื่อที่จะได้นำมาซึ่งการวินิจฉัยและรีบ รักษา ควบคุม จากสถิตินี้มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เหตุผลคือ เพราะคนไทยขาดการออกกำลังกาย และกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นเบาหวานก็เมื่ออ้วนไปแล้ว ซึ่งความอ้วนจะทำให้อาการต่างๆ ปรากฏขึ้น โดยอาการต่อมาคือปัญหาหลอดเลือดหัวใจ ปัญหาหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจและปัญหาหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิต
ที่มา: สำนักเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค
5. สถานการณ์โรคคล้ายเอดส์
(พบโรคประหลาดคล้ายเอดส์ เกิดกับคนเอเชีย)
ไวรัส


เมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา สำนักข่าวเอพีรายงานว่า เกิดโรคประหลาดคล้ายเอดส์กำลังเกิดขึ้นกับประชาชนหลายรายในเอเชีย แต่ไม่ใช่โรคติดต่อ

รายงานระบุว่า เชื้อโรคปริศนานี้จะส่งผลคล้ายกับโรคเอดส์ คือ จะเข้าทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายไม่สามารถขจัดหรือป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายได้ แต่พาหะที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แพทย์เปิดเผยได้เพียงว่า โรคดังกล่าวไม่น่าจะเป็นโรคติดต่อ

ด็อกเตอร์ซาราห์ บราวน์ แพทย์จากสถาบันสุขภาพนานาชาติ ที่ศึกษาโรคนี้มาเกือบ 10 ปี ได้เปิดเผยว่า โรคประหลาดนี้มักพบในผู้ป่วยชาวเอเชียอายุ 50 ปีโดยเฉลี่ย โดยประเทศที่พบผู้ป่วยโรคนี้มากที่สุดก็คือ ไทย และ ไต้หวัน ซึ่งผู้ป่วยบางรายก็เป็นหนักถึงขั้นเสียชีวิต ขณะที่ชาวเอเชียที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ ก็ป่วยเป็นโรคนี้อยู่บ้าง แต่ไม่อาจจะคาดคะเนจำนวนที่แน่นอนได้

อย่างไรก็ดี ด็อกเตอร์ซาราห์ บราวน์ ได้ร่วมกับนักวิจัยจากไทยและไต้หวัน ในการศึกษาโรคดังกล่าว ซึ่งถูกพบครั้งแรกเมื่อปี 2004 และสันนิษฐานว่า ผู้ป่วยที่พบมักจะเป็นชาวเอเชีย หรือมีเชื้อสายเอเชีย ดังนั้นอาจจะเป็นไปได้ว่า อาจเป็นผลจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมบางลักษณะ ก็เป็นได้
ที่มา:http://health.kapook.com/view46098.html
  1. สถานการณ์น้ำท่วม


ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
"
พายุ เกมี” (GAEMI)"
ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 02 ตุลาคม 2555
          เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (2 ต.ค. 2555) พายุโซนร้อน เกมี” (GAEMI) ที่ทวีกำลังแรงขึ้นจากพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 700 กิโลเมตร ทางตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรือที่ ละติจูด 17.0 องศาเหนือ และ ลองจิจูด 114.8 องศาตะวันออก มีความเร็วสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กม./ชม. พายุนี้เกือบจะไม่เคลื่อนที่ และในช่วงวันที่ 2-3 ต.ค. 2555 ยังไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย
           ในช่วงวันที่ 4-5 ต.ค. คาดว่า พายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งตอนกลางของประเทศเวียดนาม และในช่วงวันที่ 6-7 ต.ค. จะเคลื่อนผ่านประเทศลาวตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ของประเทศไทย ตามลำดับ ประกอบมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายจากสภาวะอากาศดังกล่าว สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบน และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 2-3 ต.ค. นี้ ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออกมีกำลังอ่อนลง ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประทศไทยมีฝนเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย
ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เวลา 05.30 น.









     สธ.ระดมทีมช่วยชาวปราจีนบุรี เตรียมพร้อมรับมือโรคที่มากับน้ำท่วม
     นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวขณะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดปราจีนบุรีว่า ผลกระทบในภาพรวมจากสถานการณ์น้ำท่วม ขณะนี้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 8 ราย สาเหตุจากไฟฟ้าดูด 1 ราย จมน้ำ 6 ราย และไม่ระบุสาเหตุ 1 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บรวม 44 ราย ส่วนใหญ่ถูกของมีคมบาด และมีบางส่วนที่ไม่ระบุสาเหตุ ส่วนปัญหาเรื่องโรคและการเจ็บป่วยของผู้ประสบภัย ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พบผู้ป่วยจากน้ำท่วมทั้งหมด 31,998 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัด น้ำกัดเท้า และพบผู้มีความเครียดรวม 6,393 ราย ในจำนวนนี้มีเครียดสูง 138 ราย และต้องติดตามดูแลใกล้ชิด 38 ราย ในส่วนของจังหวัดปราจีนบุรีนั้นพบผู้ป่วย 3,985 ราย เสียชีวิต 5 ราย จากสาเหตุจมน้ำซึ่งเป็นผู้ใหญ่ทั้งหมด ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังในกลุ่มผู้ป่วยที่มารับบริการที่หน่วย แพทย์เคลื่อนที่ในหมู่บ้าน และที่โรงพยาบาล โดยมอบหมายให้กรมควบคุมโรคเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และกำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ติดตามความพร้อมของระบบการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อการป้องกันควบคุมโรคระบาดจากสถานการณ์น้ำท่วมได้อย่างทันท่วงทีสำหรับปัญหาเจ็บป่วยของประชาชนขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้ส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการอย่างใกล้ชิด เรื่องที่ต้องดูแลเป็นพิเศษคือการป้องกันโรคติดต่อที่มากับน้ำท่วม 12 โรค ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ หัด อุจจาระร่วงเฉียบพลัน อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ ตาแดง ไข้เลือดออก ไข้ไม่ทราบสาเหตุ ไข้สมองอักเสบ บาดแผลติดเชื้อ ไทฟอยด์ และอหิวาตกโรค มีรายงานพบประปราย ไม่มีการระบาด
     ด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าขณะลงพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ นำเวชภัณฑ์และสิ่งของจำเป็น ออกแจกจ่ายเพื่อบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วมว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าน้ำท่วมปีนี้ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการจมน้ำ จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังเรื่องการจมน้ำเสียชีวิตและอุบัติเหตุจากไฟฟ้าดูด และหากต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อไปได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทรศัพท์ 0-2590-3333

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น