·
ผู้ป่วยในเดือนกันยายนที่ถูกรายงานเข้ามาในสัปดาห์ที่ 38 เพิ่มขึ้น 1.5 เท่า เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่
37 โดยในเดือนกันยายน (ถึงวันที่ 29
กันยายน 2557) มีจำนวนผู้ป่วยรวม 109,928
ราย ขณะที่ค่าพยากรณ์คาดว่า ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้
เมื่อสิ้นสุดเดือนเดือนกันยายน อาจมีจำนวนผู้ป่วยสูงถึง 96,153
ราย ขณะนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ ถ้าสถานการณ์ยังดำเนินต่อไปแบบนี้
คาดว่าจะมีผู้ป่วยในเดือนตุลาคมถึง 138,601 ราย เดือนพฤศจิกายนประมาณ 86,129 ราย
และเดือนธันวาคมประมาณ 37,624 ราย
·
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการรายงานเหตุการณ์การระบาดเกิดขึ้นในเรือนจำแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต
มีผู้ป่วยประมาณ 700 ราย หน่วยงานในพื้นที่ได้มีการควบคุมโรคแล้วในการตรวจคัดกรอง แยกผู้ป่วย
และทำความสะอาดเรือนจำคร้งใหญ่
·
ในสัปดาห์ที่แล้วได้แจ้งเตือนว่า
จังหว้ดทางภาคตะวันออกที่ติดกับจันทบุรี
ควรเตรียมการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์
ในสัปดาห์นี้พบจังหวัดชลบุรีมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 1.79 เท่า
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว และจังหวัดระยองมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 1.29 เท่า
สถานการณ์ไข้เลือดออก ไข้เลือดออกช็อก และไข้เดงกี
ณ วันที่ 30 กันยายน 2557
· สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานผู้ป่วยเข้าข่ายและผู้ป่วยยืนยันกลุ่มโรคไข้เลือดออกโดยรง.
506 จำนวน 25,955 ราย
คิดเป็นอัตราป่วย 40.51 ต่อประชากรแสนคน พบผู้เสียชีวิต
24 รายคิดเป็นอัตราตาย 0.04 และอัตราป่วยตายร้อยละ 0.09
·
จังหวัดที่พบอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง
(สีแดง) ควรเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรคอย่างใกล้ชิดคือ จังหวัดภูเก็ต พัทลุง
ยะลา และนราธิวาส ส่วนจังหวัดที่ต้องจับตาเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือ จังหวัดปัตตานี
สงขลา สตูล และตรัง
·
การระบาดในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา
(ระหว่างวันที่ 3 - 30 กันยายน 2557)
สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานผู้เสียชีวิตโรคไข้เลือดออกจากจังหวัดราชบุรี 1
ราย ในวันที่ 15 กันยายน ผู้เสียชีวิตเป็นเพศชายอายุ 16 ปี เริ่มป่วยเมื่อวันที่ 2
กันยายน เข้ารักษาเมื่อวันที่ 4 กันยายน และเสียชีวิต วันที่ 12 กันยายน แพทย์วินิจฉัย
DHF
·
สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2557
· สถานการณ์ของไข้หวัดใหญ่
มีแนวโน้มคล้ายกับปีที่แล้ว จำนวนผู้ป่วยในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ป่วยอยู่ระหว่าง 1,000-1.300
ราย จังหวัดที่มีอัตราป่วยในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาสูงเกิน
20 ต่อประชากรแสนคน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
· วันที่
1 มกราคม – 6 ตุลาคม
2557 มีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เสียชีวิต 62 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.11 ในสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตหรือรายงานการระบาด
· ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังเชื้อไข้หวัดใหญ่เฉพาะพื้นที่ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
ในสัปดาห์ที่ 38พบว่า มีสัดส่วนการตรวจพบเชื้อไข้หวัดใหญ่ในตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่ากับร้อยละ
7.1 เป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B ร้อยละ
7.1
· ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวัง ILI
ในสัปดาห์ที่ 39 พบว่าสัดส่วนของผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ต่อผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกเท่ากับร้อยละ
3.95
· สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ณ วันที่ 27 กันยายน 2557
· โดยสัปดาห์นี้มีจำนวนลดลงกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ
19.21 (210 ราย) และเมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยกับปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2556)
พบปีนี้มีผู้ป่วยสะสมโดยรวมสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 59.39 (20,396 ราย)
· พบจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง
2 ปี (2556-2557) ของประเทศและสูงมากกว่าสองเท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Mean+2SD) จำนวน 24 จังหวัด