วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ข้อมูลเชิงระบาดวิทยา(Epidemiological information)ประจำวันที่ 3 กรกฎาคม 2556

ข้อมูลเชิงระบาดวิทยา(Epidemiological information)ประจำวันที่ 3 กรกฎาคม 2556 มีประเด็นหลักสำคัญ ดังนี้
       สถานการณ์โรค/ภัยต่างประเทศ
1. สถานการณ์โรคติดเชื้อโคโรน่าสายพันธุ์ 2012(MERS-CoV)
        ข้อมูลจากเวปไซต์กระทรวงสาธารณสุข ประเทศซาอุดิอาระเบีย วันที่ 2 กรกฎาคม 2556 เปิดเผยว่ามีรายงานผู้เสียชีวิต จากโรคติดเชื้อโคโรน่าสายพันธุ์ 2012(MERS-CoV)  2 ราย  รายแรกอายุ 75 ปี อาศัยในจังหวัด Al-Ahsa และรายที่ 2 หญิง อายุ 63 ปี อาศัยที่จังหวัดริยาร์ด  และอีก 3 รายอาการดีขึ้น ทำให้ข้อมูลผู้ป่วยไม่เป็นทางการของประเทศซาอุดิอาระเบียเป็น 64 ราย เสียชีวิต 36 ราย นอกจากนั้นองค์การอนามัยโลกได้ มีข้อแนะนำในการเฝ้าระวังโรคนี้เพิ่มเติมเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2556 ซึ่งมีประเด็นสำคัญ คือ แนะนำให้เก็บตัวอย่างจากlower respiratory specimen เพื่อการตรวจหาการติดเชื้อโรคดังกล่าว จะทำให้พบเชื้อมากกว่า การเก็บโดย nasopharyngeal swab  อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถเก็บได้ให้เก็บทั้ง nasopharyngeal และ oropharyngeal specimens   และใช้เวลาเฝ้าสังเกตอาการในกลุ่มผู้สัมผัสมากขึ้น โดยอาจจะมากกว่า 1 สัปดาห์ แต่ไม่ถึง 2 สัปดาห์ (รายละเอียดแนบ)

          

2. สถานการณ์ H7 fluในคน
       2.1 Canada

     จากเวปไวต์ www.ctvnews.ca อ้างว่า Dr. Gregory Taylor  เปิดเผยว่ามีนักท่องเที่ยวช่าวอเมริกา เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลEdmonton ประเทศแคนาดา จากการตรวจเลือดพบ  previous infection with an H7 influenza virus แต่ไม่ทราบ neuraminadase or N component จากการสอบสวน ผู้ป่วยรายนี้มีประวัติเดินทางไปตอนใต้ของประเทศจีนเมือปลายเดือนพฤษภาคม 2556 ไปสิงคโปร์ และ อินเดีย   ขณะอยู่บนเครื่องบินมีอาการ หลังลงจากเครื่องในประเทศแคนาดา ได้รับการกักกันและส่งตัวเข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาล จาการตรวจพบ appeared to be aspiration pneumonia -- pneumonia caused by drawing in fluids to the lungs แพทย์จึงส่งตัวอย่างเลือดตรวจ
 
3. สถานการณ์โรคไข้หวัดนก H5N1
 3.1 Cambodia
       ข้อมูลจากเวปไซต์ www.cidrap.umn.edu อ้างว่า กระทรวงสาธารณสุข ประเทศกัมพูชา เปิดเผยว่า มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนก H5N1 avian flu 1 ราย ผู้เสียชีวิตเป็นเด็กหญิงอายุ 6 ปี อาศัยที่จังหวัด Kampot  ซึ่งอยู่ตอนใต้ของประเทศกัมพูชา เริ่มมีอาการวันที่ 24 มิถุนายน 2556 อาการไม่ดีขึ้นเข้ารับการรักษาในคลินิกเอกชน และถูกส่งต่อไปยังKantha Bopha Hospita ใน Phnom Penh ในวันที่ 28 มิถุนายน 2556 แพทย์ได้ให้ oseltamivir (Tamiflu)   เสียชีวิตในวันเดียวกัน    จากการสอบสวนก่อนเริ่มมีอาการมีสัตว์ปีกป่วยและตายในหมู่บ้าน คาดว่าอาจจะไปสัมผัสสัตว์เหล่านี้      ในปี 2556ประเทศกัมพูชามีผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก 12 ราย เสียชีวิต 9 ราย
         นอกจากนั้นเดือนที่ผ่านมาทีมนักวิจัยจากประเทศกัมพูชา และอังกฤษ ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกในประเทศกัมพูชา  และมีการตีพิมพ์ใน BMC Public Health ตามอ้างใน www.biomedcentral.com ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลล่าช้า antiviral treatment มีไม่เพียงพอ  mechanical ventilation เข้าถึงได้น้อย

4. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9
       ข้อมูลจากเวปไซต์ www.scmp.com อ้างว่า Professor Malik Peiris, head of virology ของthe University of Hong Kong และเป็น 1 ใน 14 ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเปิดเผยว่า ไวรัส H7N9 ติดต่อโดยการแพร่จากสัตว์ปีกไปยังคน สามารถแพร่ติดต่อจากคนสู่คนได้ง่าย นอกจากนั้นไวรัสดังกล่าวสามารถทำให้คนติดเชื้อได้เร็วกว่าไข้หวัดนกสายพันธุ์อื่นๆ แม้จะไม่มีรายงานผู้ป่วยมากกว่า 1 เดือน แต่คาดว่าอาจจะกลับมาระบาดอีกครั้งในฤดูหนาว นอกจากนั้นเวปไซต์http://www.brandonsun.com อ้างว่าจากผลการศึกษาของ the U.S. Department of Agriculture's Southeast Poultry Research Laboratory in Athens, Ga. (ยังไม่ตีพิมพ์)พบว่า  ไก่และนกกระทามีความไวต่อการติดเชื้อ new H7N9 bird flu และจะแสดงอาการค่อนข้างชัดเจนเมื่อติดเชื้อ  นอกจากนั้นDr. David Swayne, director of the laboratory,ยังกล่าวว่าไก่และนกกระทาเป็นตัวจักรสำคัญของการแพร่ระบาดของ H7N9 virus ในหลายพื้นที่ของประเทศจีน  และจากการศึกษาไก่และนกกระทาที่ติดเชื้อใน Athens laboratoryพบ shed H7N9 virus จากnasal passages ซึ่งหากทำ
swabbed cloacal passagesอาจจะไม่พบเชื้อได้

5. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ในสัตว์ปีก
    5.1 Nepal
         จากเวปไซต์ www.oie.int แจ้งว่าตั้งแต่ วันที่ 28 พฤษภาคม 2556 – 7 มิถุนายน 2556 มีการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก (H5N1) 3 เหตุการณ์ ได้แก่
          วันที่ 28 พฤษภาคม 2556   ตรวจพบเชื้อ H5N1 ใน Giriraj birds ของเขต Bharatpur N P 12, Bharatpur, Chitwan เมือง NARAYANI มีสัตว์ปีกติดเชื้อ และตาย 9 ตัว และถูกทำลาย 16 ตัว
            
          วันที่ 2 มิถุนายน 2556 ตรวจพบเชื้อ H5N1 ใน Backyard ducks ของเขต Kumarworti VDC 5, Kumarworti, Nawalparasi, เมืองLUMBINI   มีสัตว์ปีกติดเชื้อ และตาย  255 ตัว  และถูกทำลาย  745  ตัว
          วันที่ 7 มิถุนายน 2556  ตรวจพบเชื้อ H5N1 ใน Broiler birds  อายุ 42 วันของเขต                    Masina VDC 8, Masina, Rupandehi เมือง LUMBINI  มีสัตว์ปีกติดเชื้อ และตาย 146  ตัว  และถูกทำลาย 404  ตัว

6. สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2009
    6.1 India
        กระทรวงสาธารณสุข ประเทศอินเดียเปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปี 2556 จนถึงปัจจุบันมีรายงานผู้ป่วยจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2009 จำนวน 4,825 ราย เสียชีวิต 600 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 12.43  รัฐที่มีรายงานผู้สูงสุดได้แก่ Delhi (1,029 ราย โดยเฉพาะในเขตเมือง)  รองลงมาได้แก่  Rajasthan(847 ราย) Haryana ( 448 ราย) Punjab (183 ราย และ Madhya Pradesh (103 ราย )  ส่วนผู้เสียชีวิตสูงสุดในรัฐ Gujarat (195 ราย) รองลงมาได้แก่ Rajasthan (162 ราย)   Maharashtra (84ราย)
สถานการณ์โรคในประเทศ
1. สถานการณ์โรคเอดส์-ซิฟิลิส
      เจ้าหน้าที่ทางการสหรัฐและทางการไทยระบุว่า อัตราการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี รวมทั้งกามโรคชนิดซิฟิลิส ในกลุ่มเกย์หรือชายรักชายของไทยในเขตพื้นที่กรุงเทพฯกำลังพุ่งสูง โดยโรคซิฟิลิสในกลุ่มเกย์เพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า จากร้อยละ 5 ในปี พ.ศ. 2548 เป็นร้อยละ 12.5 ในปี 2554 ส่วนอัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายปีก็สูงขึ้นเช่นกัน โดยจากร้อยละ 24.5 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 29.4 ในปี 2554 จากตัวเลขข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การติดเชื้อเอชไอวีและซิฟิลิส ในกลุ่มเกย์ชาวไทยในกรุงเทพฯ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2. สถานการณ์โรคไอกรน
      ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรคเผยว่า ในปี พ.ศ.2551 องค์การอนามัยโลกประมาณการจะมีผู้ป่วยโรคไอกรนทั่วโลกประมาณ 16 ล้านราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยเด็กเสียชีวิตจากการติดเชื้อประมาณ 195,000 ราย แม้โรคดังกล่าวจะสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งสถานการณ์โรคไอกรนทั่วโลกตั้งแต่ปี 2555 การระบาดมากขึ้นทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศที่มีความครอบคลุมของวัคซีนสูง และมีการส่งเสริมสุขภาพที่ดี ส่านประเทศไทยหลังจากมีการให้บริการวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 ทำให้อัตราป่วยและจำนวนป่วยลดลงตามลำดับ โดยในปี 2553 มีรายงานเด็กป่วย 6 ราย แต่ในปี 2554 เป็นต้นมา เริ่มกลับมีรายงานผู้ป่วยโรคไอกรนเข้าสู่ระบบการเฝ้าระวังโรคเพิ่มมากขึ้น ปกติจะมีรายงานผู้ป่วยประมาณปีละ 10 ราย แต่ปี พ.ศ.2556 ตั้งแต่เดือนม.ค.-กลางเดือนมิ.ย.2556 พบผู้ป่วยแล้ว 14 ราย ทั้งนี้ จึงเร่งรัดการให้วัคซีนและสร้างความเข้าใจกับประชาชน โดยให้นำเด็กมารับวัคซีนตามกำหนดให้ครบ 5 ครั้ง
3. สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก
     นายปฏิพัทธ์  ทองเทียนวิเศษ ผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองนครราชสีมาเผยว่า มีนักเรียนกลุ่มเด็กพิเศษป่วยโรคมือเท้าปาก 3 คน จึงประกาศหยุดเรียนเฉพาะกลุ่มเด็กพิเศษ จำนวน  70 คน เป็นเวลา 1 สัปดาห์
     นอกจากนั้น นพ.ศิริชัย ลีวรรณนภาใส นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา เผยว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงปัจจุบัน จังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก รวม 390 ราย ซึ่งเดือนมิถุนายนเพียงเดือนเดียวมีจำนวนผู้ป่วยสูงถึง 250 ราย ส่วนใหญ่พบในโรงเรียนระดับอนุบาล ทั้งนี้เมื่อได้รับรายงานทีมควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะลงพื้นที่เข้าดำเนินการควบคุมโรคทันที โดยพิจารณาร่วมกันแล้วแนะนำให้ปิดเรียน 1 แห่ง ใน อ.หาดใหญ่ และยังเฝ้าจับตาสถานการณ์ผู้ป่วยในโรงเรียนระดับอนุบาลอีก 1 แห่ง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น