วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

สถานการณ์ข้อมูลด้านระบาดวิทยา(Epidemiological Information) ด้านโรคและภัย ประจำวันที่ 22 เมษายน 2556

สถานการณ์ข้อมูลด้านระบาดวิทยา(Epidemiological Information) ด้านโรคและภัย ประจำวันที่ 22 เมษายน 2556 มีประเด็น ดังนี้

1. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกสายพันธ์ H7N9
  1.1 China

      CDC ประเทศจีน  สำนักข่าวซินหัว  และ www.abc.net.au รายงานว่า ณ เวลา 16.00 น.(Beijing Time) วันที่ 21 เมษายน 2556 ว่าในรอบ 24 ชั่วโมง มีรายงานผู้ติดเชื้อH7N9 เพิ่มขึ้น 6 ราย โดยเป็นผู้ติดเชื้อจากมณฑลเจียงซู 1 ราย และเจ้อเจียง 5 ราย ทำให้ผู้ติดเชื้อH7N9 สะสมจากเดือนกุมภาพันธ์  2556 ถึง 21 เมษายน 2556 เป็น 102 ราย เสียชีวิต 20 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ  19.6  รับการรักษาในโรงพยาบาลในปัจจุบัน 70 ราย หายเป็นปกติและได้รับอนุญาตกลับบ้านได้ 12 ราย  ผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตทั้งหมดกระจายในเทศบาลนคร 2 แห่ง และ 4 มณฑล ได้แก่ เทศบาลนครปักกิ่งรายงานผู้ติดเชื้อ  1 ราย(ไม่นับผู้ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการซึ่งเป็นcontact 1 ราย)  ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต  เทศบาลนครเซี่ยงไฮ้รายงานผู้ติดเชื้อ 33 ราย เสียชีวิต 11 ราย มณฑลเจียงซู รายงานผู้ติดเชื้อ 24 ราย เสียชีวิต 3 ราย มณฑลเจ้อเจียงรายงานผู้ติดเชื้อ 38 ราย เสียชีวิต 5 ราย มณฑลอานฮุย รายงานผู้ติดเชื้อ 3 ราย เสียชีวิต 1 ราย และมณฑลเหอหนาน ผู้ติดเชื้อ 3 ราย ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ในกลุ่มผู้ติดเชื้อทั้งหมด พบว่ามีรายงานผู้ติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน(Cluster ) 3 Clusters ในครอบครัว 2 Cluster และกลุ่มเพื่อนบ้าน 1 Cluster แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันการติดเชื้อจากคนสู่คน อย่างไรก็ตามองค์การอนามัยโลกได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญ 15 คนเข้าไปประเมินสถานการณ์การระบาดในประเทศจีน และศึกษากรณีCluster พ่อลูกในนครเซี่ยงไฮ้
       Gabriel Leung Cheuk-wai, head of the department of community medicine at HKU เปิดเผยว่าจากข้อมูลของ the Hong Kong University Public Health Research Centre and Centre for Influenza Research พบว่าอาจจะมีผู้ติดเชื้ออีก 90 120 รายที่ยังไม่ได้รับตรวจพบเนื่องจากมีอาการเพียงmild case

        จากข้อมูลผู้ติดเชื้อทั้งหมดพบว่า เวลาเฉลี่ยตั้งแต่วันเริ่มป่วยถึงวันยืนยันติดเชื้อ 9 วัน ผู้ติดเชือมีอายุตั้งแต่ 4 89 ปี  อายุเฉลี่ย 58 ปี  median 62  ปี และmode 74 ปี  ผู้ติดเชื้อมากกว่าร้อยละ 50 มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป  ผู้ติดเชื้อร้อยละ 66 เป็นเพศชาย  และกลุ่มผู้เสียชีวิตร้อยละ 70 เป็นเพศชาย กลุ่มผู้สัมผัสมากกว่า 1000 รายยังไม่พอาการผิดปกติ

        เชื้อก่อโรคชื่อ avian influenza A(H7N9) virus อยู่ในตระกูลเดียวกับ H7N2, H7N3 และ H7N7    ซึ่ง low pathogenic avian influenza virus (LPAIV)ในสัตว์ปีก  อย่างไรก็ตามมีความใกล้เคียงกับ H5N1ที่สุด   State Key Laboratory of Diagnosis and Treatment of Infectious Diseases at The First Affiliated Hospital, College of Medicine, Zhejiang University เปิดเผย full H7N9 sequences ที่เก็บในเดือนเมษายน 2556 จากไก่ที่มณฑลเจ้อเจียง และตั้งชื่อว่า A/chicken/Zhejiang/DTID-ZJU01/2013   จากการตรวจสอบพบว่า eight gene segmentsมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับhuman H7N9 sequences, ซึ่งพบในคน 5 รายได้แก่   A/Shanghai/1/2013, A/Shanghai/2/2013, A/Anhui/1/2013, A/Hangzhou/1/2013, และA/Zhejiang/DTID-ZJU01/2013),  เช่นเดียวกับที่พบในสัตว์ปีก 3 ตัวอย่าง A/Pigeon/Shanghai/S1069/2013, A/Chicken/Shanghai/S1053/2013,และ A/Environment/Shanghai/S1088/2013 เชื้อไวรัสดังกล่าวเป็นสายพันธ์ที่เกิดจากการรวมตัวของ H7N3 virus จากเป็ด, H7N9 virus  จากนกป่า และ H9N2 จาก brambling, A/brambling/Beijing/16/2012) viruses. H7N9 สามารถเข้าไปใน mammalian cells และเจริญในร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มี อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าอุณหภูมิของร่างกายสัตว์ปีก โดยเฉพาะอุณหภูมิของร่างกายคน, Prof Ron Fouchier of Erasmus Medical Center (NLD) ในข้อคิดเห็นว่า some respects
 the virus already looks more like a mammalian virus than an avian

       นอกจากนั้นแล้ว Chinese Center for disease control and prevention (CDC) เปิดเผยว่า sequencedที่พบในคน โดยเฉพาะ Shanghai strains (A/Shanghai/1/2013 ที่ตรวจพบในชายอายุ  87 ปีชาวนครเซี่ยงไฮ้ ที่เสียชีวิตในวันที่ 10 มีนาคม 2556 มีความแตกต่างกับ A/Shanghai/2/2013 ที่พบในชายอายุ 27 ปีที่เสียชีวิตวันที่ 10 มีนาคม 2556 และ A/Anhui/1/2013  ในผู้ติดเชื้อเพศหญิงซึ่งเริ่มมีอาการวันที่ 9 มีนาคม 2556 โดยเฉพาะในตำแหน่ง the NP gene (Segment 5).
         เป็นเวลาหลายสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงมีรายงานผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตอย่างต่อเนื่องแต่หลายข้อมูลที่ยังไม่มีความชัดเจน เช่น source of the human infection    human-to-human transmission   scope of H7N9 genetic change in real-time (too few sequences to date)   nature, specificity and effectiveness of H7N9 assays     seroprevalence of H7N9 ในมนุษย์   range of signs and symptoms attributable to H7N9   และHow may are infected without obvious signs of infection  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดความกังวลแก่ทั่วโลกว่า ว่าแหล่งโรคของการระบาดคืออะไร ตลอดจนมนุษย์มีความเสี่ยงเพียงใดต่อการติดเชื้อนี้  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์การเกิดระบาดของ influenza A(H7N7) ที่ประเทศ Netherlandsในปี 2546 และ A(H7N1) ในประเทศอิตาลีระหว่างปี 2542 2543  อาจกล่าวได้ว่าเกิดwidespread circulation of A(H7N9) viruses เกิดขึ้นในประเทศจีนในขณะนี้    emergence of human adaptation marker PB2 E627K in human A(H7N9) cases    มีลักษณะเดียวกันกับ fatal A(H7N7) human case ในประเทศ Netherlandsที่เกิดก่อนหน้านั้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น