วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ ประจำวันที่ 18 มกราคม 2556

      สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ ประจำวันที่ 18 มกราคม 2556 มีประเด็นดังนี้

  1. สถานการณ์ไข้เลือดออก
1.1 Cambodia
ในปี2555 ประเทศกัมพูชา  มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก  42,362 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา(2554) ร้อยละ 165 ( 15,980 ราย )  มีผู้เสียชีวิตที่เป็นเด็กจำนวน 189 ราย  เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ร้อยละ 159 ( 73 ราย)  ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุ 5 – 14 ปี สาเหตุเนื่องจากผู้ปกครองมักจะส่งไปเด็กไปรับการรักษาที่คลินิคก่อน และเมื่ออาการไม่ดีขึ้นจึงส่งเข้ารักษาในโรงพยาบาล ทำให้สายเกินไปที่จะทำรักษาและช่วยชีวิตได้ทัน
          ในประเทศกัมพูชา พบว่า มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นปกติทุกปี โดยเฉพาะช่วงเดือน พฤษภาคม –ตุลาคม ของทุกปี  รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขได้กล่าวว่า เมื่อปีที่ผ่านมาได้มีการแจกจ่ายทรายอเบท ให้แก่ทุกหลังคาเรือน  เพื่อใช้ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

  1. สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่
2.1   The United State of America
              สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ระบาดของประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะนี้ได้แพร่ระบาดถึง 47 รัฐ ของอเมริกา ส่งผลให้โรงพยาบาลใหญ่ๆออกประกาศมาตรการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เพื่อให้ประชาชนได้เฝ้าระวังและป้องกันอย่างเต็มที่ ซึ่งหนึ่งในมาตรการดังกล่าวคือ การจำกัดการเข้าเยี่ยมผู้ป่วย และติดตามอาการผู้มาเยี่ยมอย่างจริงจังทางการสหรัฐประกาศว่า เชื้อไวรัสเอ หรือ H3N2 ที่กำลังระบาดนี้ ทางการรู้วิธีป้องกันและเยียวยาเป็นอย่างดีแล้ว พร้อมกับย้ำว่าวิธีป้องกันคือล้างมือบ่อยๆ และเลี่ยงการสัมผัสหรือเข้าใกล้้ผู้ป่วย

        2.2 Serbia
                 ข้อมูลสถานการณ์โรคของประเทศ Serbia พบว่าจำนวนผู้ป่วย โรคไข้หวัดใหญ่มีระดับค่อนข้างต่ำในหลายปีที่ผ่านมา  แต่เมื่อช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ที่ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันจำนวน 9,592 ราย และมีผู้ป่วยจำนวน  3,329 รายที่มีลักษณะโรคคล้ายกันและเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน  ซึ่งได้รับการยืนยันจาก Institute of Public Health of the Republika Srpska (RS) ว่าได้มีการระบาดเกิดขึ้นแล้ว แต่การระบาดจะไม่เกิดนานและสามารถที่จะควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศ Serbia ได้


       2.3 China

       ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคกรุงปักกิ่งเผยวานนี้( 17 มกราคม 2556)ว่า ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม ถึงวันที่ 13 มกราคม มีรายงานการเสียชีวิตจากไข้หวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช1เอ็น1 แล้ว 3 ราย ส่วนอีก 1 รายเสียชีวิตจากไข้หวัดธรรมดา เชื้อไวรัสชนิด เอ เอช1เอ็น1 และชนิด เอ เอช3เอ็น2 กำลังแพร่ระบาดในกรุงปักกิ่ง และคาดว่าจะมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ทางศูนย์ฯ ได้แนะให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่โดยการล้างมือบ่อยๆ และอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวกขณะอยู่ในที่สาธารณะ

กระทรวงสาธารณสุขจีนระบุเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คาดว่าจะมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่สูงสุดในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าระหว่างช่วงฤดูการระบาดของไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคมในมณฑลทางเหนือ.

3.สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก
  3.1 Indonesia

เชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 Clade 2.3.2 ได้ระบาดใน 12 จังหวัด 4 เกาะใหญ่ในอินโดนีเซีย  และเป็นสาเหตุที่ทำให้เป็ดตายจำนวนมากกว่า 420,000 ตัว   ในขณะนี้ได้มีการควบคุมการนำเข้าสัตว์ปีกจากต่างประเทศ โดยสัตว์ปีกที่นำเข้ามาในประเทศทั้งหมดได้มีการตรวจเช็คอย่างเข้มงวด และขณะนี้ไม่ได้มีเพียงแค่การติดเชื้อจากสัตว์ปีกที่นำเข้าเพียงเท่านั้น ยังมีการแจ้งเตือนให้ระวังการติดเชื้อในตลาดอีกด้วย
           รัฐบาลอินโดนีเซียถือว่าการระบาดของโรคไข้หวัดนก Clade 2.3.2 ที่มีการระบาดมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2555 เป็น a national epidemic เนื่องจากมีการแพร่ระบาดอย่างมากใน 12 จังหวัด    


3.2 Nepal

     The Regional Directorate of Livestock Services เมือง Pokhara เปิดเผยว่ามีการตรวจพบเชื้อไข้หวัดนกในฟาร์มที่ Batulechaur, Simpani, Birauta และ Sedibagar ของเมืองPokharaทำให้ต้องฆ่าสัตว์ปีก 3,500 ตัว เพื่อตัดวงจรการระบาด


3.3 Egypt

 
       The Directorate of Veterinary Medicine Governorate เมือง Luxor ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข หลังจากมีการตรวจพบการระบาดของ the bird flu virus "H5N1" ที่farm ในอำเภอSalah Hashem ของ center Esna Governorate Luxor, Department of Agriculture and Veterinary Medicine เผยว่ามีสัตว์ปีกตาย 2000 ตัวและถูกทำลาย 5,000ตัวเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2556

3.4 Korea
  
    Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries and Food ได้แจ้งเตือนว่าในช่วงฟดูใบไม้ผลิที่จะมีถึงนี้อาจจะเกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกขึ้น เนื่องจากมีนกอพยพ หรือการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกเข้าประเทศสูงถึง 4 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และจากการตรวจ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกและตลาดค้าขายสัตว์ปีก( markets traditional)พบ carrier ของเชื้อนี้ 47 ตัว

3.5  The United State of America
       จากการเฝ้าระวังโรคในสัตว์ปีกในตลาดค้าขายสัตว์ปีก Brooklyn, กรุงนิวยอร์ค ได้ตรวจพบH5 virus ใน Muscovy duck


3.6 Vietnam
      Hai Phong Department of Agriculture and Rural Development เปิดเผยว่ามีการตรวจพบเชื้อH5N1 อีกครั้งในอำเภอ An Lao   หลังจากก่อนหน้านี้มีสัตว์ปีก(เป็ด)ในเขตชนบทชื่อ Tan Thang, Victory,อำเภอAn Lao (Hai Phong) ติดเชื้อมากกว่า 10000 ตัว
      นอกจากนั้น Department of Agricultureอำเภอ Van Ninh จังหวัด Khanh Hoa เผยว่ามีการติดเชื้อH5N1 avian influenza ในสัตว์ปีกใน 5  communes ของจังหวัดทำให้ต้องทำลายสัตว์ปีกติดเชื้อเกือบ 15,000 ตัว

3.7 , Bhutan
       พบการระบาดของเชื้อ Highly pathogenic avian influenza virus(H5N1) ในเขต, Dagana เมือง Dagana ประเทศ Bhutanเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2555 มีสัตว์ปีกติดเชื้อและตาย 18 ตัว และถูกทำลาย 952 ตัว


3.8 Mexico

       วันที่ 12 มกราคม 2556 พบการระบาดของเชื้อ Highly pathogenic avian influenza virus (H7N3) 2 แห่งในเขต Encarnación de Díaz เมือง JALISCO ประเทศเม็กซิโก มีสัตว์ปีกติดเชื้อ 20068 ตัว และตาย 18009 ตัว ซึ่งฟาร์มทั้ง 2 แห่งต้องทำลายสัตว์ปีกที่เหลือเกือบ 400000 ตัวเพื่อตัดวงจร


4. สถานการณ์การติดเชื้อโคโรน่าสายพันธ์ใหม่2012

         เชื้อโคโรน่าสายพันธ์ใหม่2012หรือ human coronavirus EMC (HCoV-EMC) ที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั่วโลกตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 เป็นต้นมา โดยมีการแยกเชื้อดังกล่าวในผู้ป่วย/เสียชีวิต 9 รายของประเทศแถบตะวันออกกลาง 3 ประเทศได้แก่ ประเทศซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน และกาตาร์  เชื้อ human coronavirus EMC (HCoV-EMC)ถึงแม้จะอยู่ในตระกูลเดียวกันกับ severe acute respiratory syndrome coronavirus (SARS-CoV) แต่ก็มีความแตกต่างที่สำคัญคือ cell receptorของ HCoV-EMC จะแตกต่างกับ cell receptorของ SARS-CoV

5. สถานการณ์ cholera
  5.1 Cuba 

      กระทรวงสาธารณสุข ประเทศคิวบาเปิดเผยว่ามีการระบาดของโรคอหิวาตกโรคในหลายอำเภอของเมือง Havana 51 รายซึงนับว่าเป็นอุบัติการณ์การระบาดของโรคนี้ครั้งใหญ่สุดในรอบ 130 ปี การระบาดครั้งนี้เป็นการระบาดครั้งที่ 2  ภายในเวลาเพียง 4 เดือน และมีผู้เสียชีวิตแ 1 ราย คาดว่าเชื้อที่กำลังแพร่ระบาดน่าจะเป็นชนิดเดียวกับที่กองกำลังรักษา สันติภาพเนปาลนำไปแพร่กระจายในเฮติเมื่อปี 2010 จนทำให้มีชาวเฮติเสียชีวิตไปกว่า 7,900  คน  แหล่งโรคคาดว่าเป็น foodsellerที่มีการติดเชื้อ cholera ในช่วงที่มีการระบาดครั้งที่ผ่านมาในแถบตะวันออกของประเทศ


6. สถานการณ์ ebola
  6.1 Bangladesh
     EcoHealth Alliance เผยว่ามีรายงานการวิจัยใน journal, Emerging Infectious Diseasesว่า พบ Ebola virus antibodies ประมาณร้อยละ 4(จากตัวอย่าง 276 ตัวอย่าง)ในค้างคาวตระกูล Rousettus fruit ใน Bangladesh จากรายงานการตรวจพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าค้างคาวตระกูล Rousettus fruit เป็น reservoirของโรค Ebola,หรือ a new Ebola-like virus ในแถบประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

7. สถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษจากการติดเชื้อ norovirus

    7.1 England
      The Health Protection Agency (HPA) เผยว่าตั้งแต่สัปดาห์ที่ 27 ปี 2555 ถึง สัปดาห์ที่ 1 ปี 2556 พบการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อ norovirus โดยมีรายงานผู้ป่วยยืนยัน 4,407 รายซึ่งสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ  56 ที่พบเพียง  2,828 ราย และตั้งแต่ต้นปีถึง 13 มกราคม 2556 มีรายงานการระบาดจาก 39 โรงพยาบาลซึ่งก่อนหน้านั้นมีเพียง 33 โรงพยาบาล ส่งผลให้มีรายงานการระบาดในฤดุกาลนี้ 778 ครั้ง เชื้อที่เป็นสาเหตุการระบาด A new strain of norovirus called Sydney 2012

     เชื้อ Norovirusสามารถติดต่อโดยการสัมผัสกับวัตถุสิ่งของ(รวมทั้งอาหารและน้ำ)ที่มีปนเปื้อนเชื้อหรือผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยมีอาการอาเจียนและ/หรือถ่ายเหลว บางรายอาจมีอาการไข้ ปวดศรีษะ และปวดท้องร่วมด้วย

8. สถานการณ์โรค Brucellosis
  8.1 GERMANY

      Dr G Weigand, MD Tropical Medicine Frankfurt Germany เผยว่าพบผู้ป่วยชาวเยอรมันป่วยเป็นโรค brucellosis  1 ราย  ผู้ป่วยรายนี้อายุ 32 ปีก่อนป่วยมีประวัติเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศพม่า และได้ดื่มนมและ Lassi [traditional yogurt) ปัจจุบันอาการดีขึ้นหลังจากได้รับยา rifampicin/doxycycline  นอกจากนั้นมีข้อมูลเพิ่มเติมว่าจากข้อมูลของ OIE มีการตรวจพบเชื้อ, bovine brucellosis (_Brucella abortus_)ในประเทศพม่ามาก่อน โดยเฉพาะในปี 2551มีรายงานผู้ป่วย brucellosisเช่นกัน



สถานการณ์ภายในประเทศ
1. สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่
     ศ.เกียรติคุณ น.พ.ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นในสหรัฐขณะนี้ไม่ได้รุนแรงอย่างที่หลายคนวิตกกังวล  เชื้อไวรัสที่ระบาดในอเมริกาตอนนี้ เป็นชนิด A(H3N2) ยังไม่พบการกลายพันธุ์ แต่การกลายพันธุ์ในอเมริกาพบมาประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา เป็น A(H3N2) มีตัว V ห้อยท้าย ซึ่งกำลังติดตามว่า โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในอเมริกาขณะนี้ เกิดจากไวรัสตัวที่กลายพันธุ์หรือไม่ จึงต้องเฝ้าระวัง
ปกติไวรัสไข้หวัดใหญ่มี 3 ชนิด (type) คือ A, B, C แต่ที่พบบ่อยคือ A และ B ปัจจุบันใน 1 เข็มของวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ จะป้องกันเฉพาะไวรัสชนิดที่พบบ่อย 3 ตัว ได้แก่ ไวรัสชนิด A 2 ตัว คือ A(H1N1) กับ A(H3N2) และไวรัสชนิด (type) B ซึ่งในอดีตไม่มีการแบ่งสายพันธุ์ แต่ตอนนี้เริ่มพบไวรัสชนิด B มีการแพร่ระบาดมากขึ้น และมีการแบ่งสายพันธุ์ย่อย (subtype) ในอนาคตต้องเพิ่มตัวที่ 4 เข้าไปในวัคซีน เพื่อป้องกันด้วย
    นายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชฯ กล่าวว่า ไข้หวัดใหญ่ที่เกิดในสหรัฐอเมริกาในหลาย ๆ รัฐยังไม่ได้แพร่ระบาดร้ายแรง และอยู่ในระหว่างการควบคุมและป้องกันของทางการ อย่างไรก็ตาม องค์การเภสัชฯก็มียาต้านไวรัส "โอเซลทามิเวียร์" ไว้สำรองในจำนวนที่มากพอ ประชาชนจึงไม่ควรตื่นตระหนก
   ก่อนหน้านี้ นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น สธ.ได้สำรองวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ย่อยเดียวกับสหรัฐอเมริกาไว้แล้ว 1 แสนโดส รวมถึงมียาโอเซลทามิเวียร์ ที่จะใช้ในการรักษาประมาณ 4 แสนเม็ด และที่ผ่านมาได้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้กับกลุ่มเสี่ยงแล้ว 3 ล้านโดส โดยวัคซีน 1 เข็มป้องกันได้ 3 สายพันธุ์ คือ บี, H3N2 และ H1N1
     ด้านนายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า มาตรการเตรียมความพร้อมของไทยมี 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1.เฝ้าระวังผ่านเครือข่ายนานาชาติที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกัน 2.ผ่านเครือข่ายศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกาหรือซีดีซีที่ประเทศไทยมีการเฝ้าระวังเรื่องสายพันธุ์ร่วมกัน และ 3.ด่านควบคุมโรค มีการติดตามอาการจากภายนอกเป็นหลัก แต่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องตรวจจับความร้อน เนื่องจากบางครั้งผู้ที่ติดเชื้ออยู่ในระยะฟักตัว ยังไม่แสดงอาการ

2.สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก

      นายมโนพัศ หัวเมืองแก้ว อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เผยว่า ประเทศไทยก็เคยได้รับบทเรียนจากการระบาดของโรคอุบัติใหม่ คือ โรคไข้หวัดนก จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพของประชาชนและความเสียหายทางเศรษฐกิจมาแล้วอย่างมหาศาล
     
กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้เฝ้าระวังและตรวจหาโรคไข้หวัดนกในนกธรรมชาติทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง มีการสุ่มเก็บตัวอย่างปีละไม่น้อยกว่า 3,000 ตัวอย่าง รวมทั้งมีการขยายการดำเนินการให้ครอบคลุมการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ในสัตว์ ธรรมชาติชนิดอื่นๆ เช่น กลุ่มค้างคาวแม่ไก่ ซึ่งทำให้เกิดไวรัสสมองอักเสบมาสู่มนุษย์ได้

3. สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

      นพ.ชลน่านศรีแก้ว รมช.สาธารณสุขเผยว่า ปัจจุบันวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น อายุเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกพบว่ามีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ โดยมีอายุเฉลี่ย 15-16 ปี ข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมในนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มัธยมศึกษาปีที่ 5 และปวช.ปี 2 โดยสำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรคสำรวจปี 2550-54 พบว่าการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกส่วนใหญ่ใช้ถุงยางอนามัยเพียงร้อยละ 55.1 และร้อยละ 70 ของวัยรุ่นใช้บ้านตนเอง หรือบ้านเพื่อนเป็นสถานที่ที่มีเพศสัมพันธ์  จากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์ เมื่ออายุน้อยและมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน ส่งผลให้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพิ่มสูงขึ้น จากสถิติสาธารณสุขพบว่าเมื่อปี 2554 มีเด็กวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี คลอดบุตรเฉลี่ยวันละ 370 คน และในอายุต่ำกว่า 15 ปี คลอด บุตรวันละ 10 คน และการดำเนินการเฝ้าระวังการทำแท้งในประเทศไทยโดยดำเนินการนำร่องใน 13 จังหวัดทั่วประเทศ มีโรงพยาบาลเข้าร่วม 134 แห่ง ข้อมูลปี 2554 พบว่าร้อยละ 53 ของผู้ป่วยที่ทำแท้งส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นและเยาวชน และ ร้อยละ 30 มีสถานภาพเป็นนักเรียนนักศึกษา ซึ่งการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมากกว่าร้อยละ 80 เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ผลกระทบที่สำคัญพบว่าแม่วัยรุ่นยังขาดโอกาสในการศึกษา เพราะต้องรับภาระในการดูแลบุตรและสร้างครอบครัว

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น