วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคระบาดในต่างประเทศ 31 ส.ค.55

0 ความคิดเห็น

1. สถานการณ์โรคEbola

1.1 Uganda กระทรวงสาธารณสุขของประเทศอูกานดา เปิดเผยว่าตั้งแต่ต้นเดือนกรกฏาคม 2555 การระบาดของโรคEbola haemorrhagic fever ในอำเภอKibaale ที่อยู่ทางตะวันตกของประเทศ มีรายงานผู้ป่วย 20 ราย เสียชีวิต 14 ราย  ผู้ป่วยรายแรกพบที่หมู่บ้าน Nyanswiga   เขตNyamarunda  อำเภอKibaale  ที่ซึ่งมีรายงานผู้เสียชีวิต 9 รายผุ้ป่วยได้รับการตรวจยืนยันจาก the Uganda Virus Research Institute ใน Entebbe ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฏาคม 2555 ทีมผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงสาธารณสุข  WHO และ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ได้เข้าสนับสนุนควบคุมการระบาดของโรคนี้ในพื้นที่แล้ว

2. สถานการณ์การระบาดของ H3N2v

2.1 The United state of America
สัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐอินเดียน่า ได้รายงานการระบาด ของnovel influenza virusเป็นครั้งแรก การระบาดครั้งนี้มีความเกี่ยวข้องกับการจัดงานที่รัฐอินเดียน่าที่จัดระหว่างวันที่ 8-14 กรกฏาคม 2555  เจ้าหน้าที่ Indiana state animal health  จากการสุ่มตรวจเชื้อจากหมู 12 ตัว พบเชื้อ swine influenza A (H3N2 นอกจากนั้นได้ตรวจพบ influenza A (H3N2) variant virus ในผู้ป่วยที่ไปเที่ยวงานดังกล่าวด้วย. จากการทดสอบทาง Genetic พบว่าviruses ที่พบในคนและหมูมีความใกล้เคียงกัน และพบว่าvirusesมี M gene จากthe pandemic H1N1 virusด้วย

3.  สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก



 3.1 Cambodia

Philippe Buchy หัวหน้า virology unit at the Pasteur Institute ของประเทศกัมพูชา เปิดเผยว่าจากการสุ่มสำรวจผู้ป่วย โรคมือ เท้า ปาก จากหลายพื้นที่ทางห้องปฏิบัติการ มากกว่า 4 สัปดาห์ พบว่าเชื้อที่พบเป็น enterovirus serotype 71 (EV-71) ซึ่งกำลังระบาดในทวีปเอเชียรวมทั้งเวียดนาม  Genetic sequencingที่พบสอดคล้องกับสายพันธุ์ที่แยกได้ในประเทศเวียดนามในปี 2011 และปี 2012  ในเซี่ยงไฮ้ในปี 2011 และ 2012 และจากผู้ที่อยู่ในประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย นอกจากนั้นได้เสริมว่าผลจากการวิเคราะห์ phylogenetic  ของสายพันธ์ EV-71 ที่กำลังระบาดที่ประเทศกัมพูชา เป็น genotype C4 strains ที่เคยระบาดที่ประเทศเวียดนาม  และมีการตรวจพบที่ประเทศจีนด้วย

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สงสัยเด็กป่วยโรคมือ เท้า ปาก ห้ามซื้อยากินเอง

0 ความคิดเห็น

ถ้าสงสัยเด็กป่วยโรคมือ เท้า ปาก ห้ามซื้อยากินเองโดยเฉพาะยาผสมสเตียรอยด์

25 กรกฎาคม 13:40
กระทรวงสาธารณสุข จัดอบรมเสริมทักษะกุมารแพทย์ แพทย์ทั่วไป พยาบาลผู้ป่วยนอก พยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ และพยาบาลไอซียูทั่วประเทศ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เรื่องแนวทางการตรวจวินิจฉั

และรักษาผู้ป่วยโรคมือเท้าปากแบบครบวงจร เน้นให้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง ดูแลรักษารวดเร็ว โรคนี้ส่วนใหญ่หายเองได้ ส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรง เน้นย้ำประชาชนห้ามซื้อยากินเอง โดยเฉพาะยาผสมสเตียรอยด์ เพราะยาจะไปกดภูมิคุ้มกันโรคทำให้อาการทรุดหนัก

วันนี้ (25 กรกฎาคม 2555) ที่โรงแรมเซ็นทรา กทม. นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดการอบรมแพทย์ กุมารแพทย์ พยาบาลผู้ป่วยนอก พยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ พยาบาลประจำหอผู้ป่วยไอซียูเด็กของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั่วประเทศ จำนวน 550 คน เรื่องแนวทางการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมือเท้าปากแบบครบวงจร เพื่อฟื้นฟูทักษะในการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคดังกล่าว ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รักษาชีวิตของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด

นายวิทยา กล่าวว่า โรคมือเท้าปากที่กำลังเป็นปัญหาในขณะนี้ ถือว่าเป็นสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างหนึ่ง ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่มกราคมถึง 22 กรกฎาคม 2555 พบผู้ป่วยสะสม 16,860 ราย เสียชีวิต 1 ราย กลุ่มอายุที่พบส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กช่วงอายุต่ำกว่า 5 ปี เชื้อไวรัสที่พบมีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแสดงอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้ ขณะนี้ได้ตั้งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคนี้พร้อมให้คำปรึกษาแพทย์รัฐและเอกชนทั่วประเทศ ตลอด 24 ชั่วโมง

นายวิทยา กล่าวต่อว่า โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและไม่มีการรักษาที่จำเพาะ นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้กระทรวงสาธารณสุข เน้นการป้องกันไม่ให้ป่วยและให้การรักษาอย่างดีที่สุด เนื่องจากโรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่ เป็นโรคที่วงการแพทย์ไทยรู้จักดี แต่ละปีพบผู้ป่วยหลักหมื่นแต่เสียชีวิตน้อยมาก มั่นใจว่าหากแพทย์ตรวจวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องและให้การรักษาตามมาตรฐาน จะลดการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ จึงได้มอบให้กรมการแพทย์ จัดอบรมเสริมทักษะให้แพทย์ กุมารแพทย์ พยาบาล เป็นกรณีพิเศษ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนในระบบของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ

ด้านแพทย์หญิงวิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก สามารถหายเองได้ ภายใน 5-7 วัน มีผู้ป่วยประมาณร้อยละ 1-2 ที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ภาวะขาดน้ำ จากการที่กินอาหารและน้ำไม่ได้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น การรักษาที่สำคัญคือการรักษาตามอาการ ได้แก่ ให้ยาลดไข้ กระตุ้นให้ผู้ป่วยทานอาหาร แต่ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทานอาหารได้หรือทานได้น้อย ให้อาหารเหลวหรืออาหารที่มีอุณหภูมิต่ำ เช่น ไอศกรีม น้ำผลไม้ หรือให้น้ำใบบัวบกช่วยลดการอักเสบ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ขอย้ำเตือนประชาชน อย่าซื้อยาให้เด็กที่ป่วยกินเอง โดยเฉพาะยาผสมสเตียรอยด์ ช่วงแรกจะรู้สึกว่าอาการดีขึ้น แต่ภายหลังมีผลเสียมากเพราะยาจะกดภูมิคุ้มกันโรคในร่างกาย เชื้อโรคจะทำลายอวัยวะได้มากขึ้น ทำให้อาการทรุดหนักจนอาจเสียชีวิตได้ กลุ่มเด็กที่มีโอกาสเสี่ยงพบภาวะ แทรกซ้อนรุนแรง ที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เช่น มีโรคประจำตัว หอบหืด โรคเลือดจาง โรคหัวใจ เด็กน้ำหนักตัวน้อย เด็กคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น หากป่วยรีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมให้ประวัติการเจ็บป่วยกับแพทย์ผู้รักษา เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนรุนแรงจนอาจเสียชีวิต ดังนั้น ขอให้ผู้ปกครองสังเกตอาการผิดปกติ เด็กอย่างใกล้ชิด หากสงสัยโรคมือเท้าปาก หรือมีไข้สูงมากกว่า 2 วัน ร่วมกับอาเจียน หรือหอบเหนื่อย หรือซึม หรือชัก หรือกล้ามเนื้อกระตุก หรืออาการแย่ลง ควรรีบไปพบแพทย์แม้จะไม่มีผื่นขึ้นก็ตาม

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประกาศเตือนโรคมือ เท้า ปาก ฉบับที่ 1

0 ความคิดเห็น
  
กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศเตือนโรคมือ เท้า ปาก ฉบับที่ 1
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงฉบับที่ 1 เรื่องโรคมือ เท้า ปากว่า ตามที่มีรายงานเรื่องโรคมือ เท้า ปากระบาด กระทรวงสาธารณสุขได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด จึงออกมาตรการเพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค รัฐบาลได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ให้ดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เน้นการรักษาความสะอาดและสุขอนามัย โดยเฉพาะในศูนย์เด็กเล็ก สถานศึกษาและชุมชน โดยประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคมือเท้าปาก และการป้องกันโรคแก่ประชาชน
 

โรคมือเท้าปาก มักเกิดในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี พบได้น้อยในเด็กโต หรือผู้ใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสหลายชนิด ในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ลักษณะอาการป่วย คือ จะมีไข้ มีจุดหรือผื่นแดงในปาก ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม และเกิดผื่นแดง ซึ่งต่อมาจะเกิดเป็นตุ่มพองใสบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และที่ก้น บางรายอาจไม่มีตุ่มพอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองใน 7-10 วัน โรคนี้จะรักษาตามอาการ ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 1-2 อาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น มีอาการทางสมอง หรืออาการในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งส่วนใหญ่รักษาหายได้ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ ซึ่งมักเกิดจากเชื้อไวรัสบางตัว เช่น เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 เชื้อโรคมือเท้าปาก อยู่ในน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากตุ่มพอง และแผลในปากของผู้ป่วย เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางปาก โดยติดมากับมือ หรือภาชนะที่ใช้ร่วมกัน เช่น ช้อน แก้วน้ำ หรือติดจากการไอ จามรดกัน จึงอาจติดต่อกันได้ง่ายในสถานที่ที่มีเด็กอยู่ร่วมกันจำนวนมาก เช่น สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงแนะนำให้ทำความสะอาดอย่างละเอียด ทั้งสถานที่ ภาชนะที่ใช้ร่วมกันและควรตรวจคัดกรองเด็กทุกวัน หากพบเด็กมีไข้ หรือมีอาการน่าสงสัยเป็นโรคมือเท้าปาก ควรให้เด็กหยุดเรียน หากสังเกตว่าเด็กมีอาการมากขึ้น เช่น มีไข้สูง เป็นแผลในปาก ร่วมกับอาการ อื่นๆ เช่น หอบเหนื่อย อาเจียน ชัก ให้รีบนำไปพบแพทย์ ทั้งนี้หากมีเด็กป่วยเพิ่ม ขึ้นให้พิจารณาปิดสถานศึกษา เพื่อทำความสะอาดและป้องกันการระบาด ตามแนวทางที่สาธารณสุขแนะนำ สำหรับประชาชนทั่วไปควรรักษาความสะอาด ด้วยการล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร และหลังการขับถ่าย สังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีอาการตามที่กล่าวมา แม้จะไม่มีผื่นขึ้นก็ตาม ควรรีบนำไปพบแพทย์ หลีกเลี่ยงการนำเด็กไปอยู่ในที่ชุมชนสาธารณะ หรือที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรค ขอให้ประชาชนเฝ้าระวัง ป้องกัน และช่วยกันควบคุมโรคมือเท้า ปาก ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เด็ก 2 ขวบตายที่ รพ.นพรัตน์ ไม่ใช่มือ เท้า ปาก

0 ความคิดเห็น

เด็ก 2 ขวบ ป่วยที่ รพ.นพรัตน์ ไม่ได้ตายด้วยโรคมือ เท้า ปาก 
วันที่ 19 กรกฎาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข ภายหลังการประชุมทางไกลผ่านวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ร่วมกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งหมด 54 จังหวัด เพื่อติดตามการป้องกันการควบคุมโรค และ การแพร่ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก โดยนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้จากการติดตามการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก พบมีผู้ป่วยแล้วประมาณ 13,000 ราย ส่วนใหญ่พบในเด็กแรกเกิด ถึงอายุ 5 ขวบ และการระบาดจะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม และจะคลี่คลายลงในช่วงเดือนกันยายน โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ส่วนภาคเหนือนั้นเริ่มพบแล้ว
สำหรับ โรคมือ เท้า ปาก นั้น จะมีอาการ ไข้ ผื่นที่ผิวหนัง และ ตุ่มน้าใส โรคมือเท้าปาก ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ที่ต้องเฝ้าระวังอาการ อย่างหนึ่งอย่างใด ต่อไปนี้ ภายใน 3-5 วันหลังเรี่มอาการ
1.ไข้ มากกว่า 39 องศาเซลเซียส และ  นานกว่า 48 ชั่วโมง
2.อาการซึมลง  เดินเซ
3.กระสับ กระส่าย ร้องกวนตลอดเวลา
4.การกรอกตาที่ผิดปกติ
5.ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
6.อาเจียนบ่อยๆ
7.กล้ามเนื้อกระตุก ชัก ไม่รู้สึกตัว
8.หอบเหนื่อย
9.ตัวเย็น ตัวลายซีด
การดูแลรักษา
การรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ (พาราเซตตามอล) ดื่มน้ำเย็น หรือ นมเย็นๆ หรือ ไอศครีม การใช้ยาชาเฉพาะที่ในช่องปาก ให้พิจารณาตามความเหมาะสมของแพทย์การให้ยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็น หากไม่มีข้อบ่งชี้ ในทางการแพทย์ ห้ามใช้ ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ โดยไม่มีข้อบ่งชี้แนะนำให้เฝ้าสังเกตอาการดังกล่าวข้างต้น เพื่อการดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไป

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ข้อคิด คำแนะนำ โรคมือ เท้า ปาก

0 ความคิดเห็น
คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับโรค มือ เท้า ปาก
ถึงแม้ว่าสถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก   ในขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง แต่การที่มีการระบาดอย่างกว้างขวางก็มีผลกระทบต่อเด็กรวมถึงโรงเรียนและผู้ปกครอง  และที่เชื้อซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมือ เท้า ปาก นี้ยังสามารถทําให้เกิดอาการอื่นๆ ที่หลากหลาย ดังนั้นส่วนหนึ่งเด็กที่ป่วยจะมีทั้งแผลในปาก ร่วมกับตุ่มน้ําที่มือ เท้า และอาจพบที่ก้นด้วย แต่บางรายมีเพียงแผลในปากเพียงอย่างเดียว ทําให้ครูและผู้ปกครองไม่ได้แยกเด็กเหล่านี้ออกจากกลุ่มเพื่อน ในขณะที่เด็กบางรายเริ่มด้วยอาการไข้นํามาก่อน 1  วัน  ซึ่งในช่วงที่มีไข้เพียงอย่างเดียวเด็กก็สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นๆ ได้ ดังนั้นเมื่อพบเด็กที่มีอาการดังกล่าว พยายามให้เด็กหยุดเรียนจนครบ 1 สัปดาห์ นับจากวันเริ่มป่วย

สําหรับกรณีที่มีการปิดโรงเรียนนั้น เป็นมาตรการควบคุมป้องกันโรคหลังพบมีเด็กป่วย  เป็นโรคมือเท้าปากเกิดขึ้น ซึ่งจะพิจารณาเป็นกรณีๆและปิดชั่วคราว เพื่อรณรงค์ทําความสะอาดโรงเรียน สถานที่ต่างๆ ที่เป็นจุดเสี่ยง ถือเป็นเรื่องปกติ  เพื่อดูแลเรื่องความสะอาดไม่ให้เชื้อจากคนป่วยแพร่ไปติดต่อเด็กอื่นๆ  เนื่องจากโรคมือเท้าปากนี้ ติดต่อโดยวิธีการสัมผัส ดังนั้นจึงขอให้ผู้ปกครองที่มีลูกหลานอายุต่ํากว่า 5 ขวบซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสําคัญของโรคนี้ ช่วยกันหมั่นดูแลความสะอาดสถานที่ ของเล่น ให้เด็กล้างมือบ่อยๆ หรือยึดหลักปฏิบัติ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ก็จะป้องกันโรคมือ เท้า ปากได้   และหากพบเด็กป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ขอให้พาไปพบแพทย์ทันที

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สื่อความรู้ เรื่อง โรคมือ เท้า ปาก

0 ความคิดเห็น
รวมสื่อและวีดีโอ ที่เกี่ยวข้องกับโรคมือ เท้า ปาก จะได้เข้าใจ กันมากขึ้นครับเหมาะสำหรับทำความเข้าใจเรื่องโรค ผู้มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับเด็ก ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล และผู้ปกครองทุกท่านครับ





องค์ความรู้เรื่องมือ เท้า ปาก
แผ่นพับโรคมือ เท้า ปาก
แผ่นพับโรคมือ เท้า ปาก2
คำถาม คำตอบโรคมือ เท้า ปาก
โรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร โรคมือ เท้า ปาก

มือ เท้า ปาก ป้องกันได้

0 ความคิดเห็น

6 ข้อแนะนำสำหรับการป้องกันดูแลโรค มือ เท้า ปาก สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ จึงขอให้คำแนะนำ ดังนี้ ครับ

1.พ่อแม่ผู้ปกครอง ควรแนะนำสุขอนามัยส่วนบุคคลแก่บุตรหลาน และผู้ดูแลเด็ก โดยเฉพาะ การล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนการเตรียมอาหารหรือก่อนรับประทานอาหาร และหลังขับถ่าย ผู้ดูแลควรมีการล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังทำความสะอาดก้นให้เด็ก การรักษาสุขอนามัยในการรับประทานอาหาร เช่น การใช้ช้อนกลาง หลีกเลี่ยงการใช้แก้วน้ำร่วมกัน นอกจากนั้น ควรให้เด็กอยู่ในที่ที่มีการระบายอากาศที่ดี ไม่พาเด็กเล็กไปในที่แออัด

2.ผู้ประกอบการในสถานเลี้ยงเด็กควรดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานด้าน สุขลักษณะของสถานที่อย่างสม่ำเสมอ เช่น การเช็ดถูอุปกรณ์เครื่องเรือน เครื่องเล่น หรืออุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเป็นประจำ รวมทั้งการกำจัดอุจจาระให้ถูกต้องและล้างมือบ่อยๆ

3.ในโรงเรียนอนุบาล และโรงเรียนประถมศึกษา ควรเพิ่มเติมความรู้เรื่องโรคและการป้องกันตนเอง เช่น ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับเด็กป่วย การล้างมือและการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ผู้ดูแลสระว่ายน้ำ ควรรักษาสุขลักษณะของสถานที่ตามประกาศของกรมอนามัย เพื่อป้องกันการระบาดของ โรคมือ เท้า ปาก

4.ในกรณีที่เด็กมีอาการป่วยซึ่งสงสัยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที และแยก เด็กอื่นไม่ให้คลุกคลีใกล้ชิดกับเด็กป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ที่มีการระบาด หากเด็กมีตุ่ม ในปาก โดยที่ยังไม่มีอาการอื่น ให้หยุดเรียน อยู่บ้านไว้ก่อน ให้เด็กที่ป่วยขับถ่ายอุจจาระลงในที่รองรับ แล้วนำไปกำจัดให้ถูกสุขลักษณะในส้วม หากเด็กมีอาการป่วยรุนแรงขึ้น เช่น ไม่ยอม ทานอาหาร ไม่ยอมดื่มน้ำ ต้องรีบพาไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที

5.สำหรับท่านที่จะพาบุตรหลานที่เป็นเด็กเล็กไปต่างประเทศที่มีการระบาด สามารถเดินทางได้ตามปกติ โดยให้ปฏิบัติตนตามสุขลักษณะที่ดี หลีกเลี่ยงพาบุตรหลานไปสถานที่แออัด และหากบุตรหลานมีอาการป่วยที่สงสัยโรคมือ เท้า ปาก ให้พาไปพบแพทย์

6.การทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ ที่เด็กป่วยสัมผัส ทั้งในบ้าน สถานศึกษา สถานที่สาธารณะ เช่น ห้างสรรพสินค้า แนะนำให้ทำความสะอาดด้วยแบบสบู่ หรือผงซักฟอก ปกติก่อน แล้วตามด้วยน้ำยาฟอกขาว เช่น คลอรอกซ์ ไฮเตอร์ ทิ้งไว้ 10 นาที แล้วล้าง/เช็ด/แช่ ด้วยน้ำสะอาด เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้าง ส่วนของเล่นที่เด็กอาจเอาเข้าปากได้ ให้ทำความสะอาดด้วยสบู่หรือผงซักฟอกตามปกติ และนำไปผึ่งแดด

6 ข้อแนะนำ จำให้มั่นนะครับ มี สื่อความรู้เรื่อง มือ เท้า ปาก เพิ่มเติมครับ

รุ้ไว้ ไม่น่ากลัว โรค มือ เท้า ปาก

0 ความคิดเห็น
hand foot mouth disease
ข้อมูล สถานการณ์ของโรค มือ เท้า ปาก ในประเทศไทยขณะนี้พบว่ายังไม่น่าวิตกและโรคนี้เป็น 1 ใน 57 โรคเฝ้าระวังต่อเนื่องทุกปี ในครึ่งปีแรกนี้พบผู้ป่วยโรคมือเท้าปากประปรายกระจายหลายจังหวัดยังไม่พบการระบาดของโรคเป็นกลุ่ม โดยตั้งแต่ต้นปีพบผู้ป่วย 10,813 ราย ร้อยละ 72 เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบและยังไม่มีผู้เสียชีวิต
สาเหตุของโรค
เกิดจากการติดเชื้อกลุ่มไวรัสเอนเทอโร (enterovirus) ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ค็อกแซกกีเอ ค็อกแซกกีบี และไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 โรคนี้ส่วนใหญ่ติดต่อจากการกินอาหาร น้ำดื่ม การดูดเลียนิ้วมือ หรือของเล่นที่ปนเปื้อนเชื้อที่ออกมากับอุจจาระน้ำเหลืองจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง หรือละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย พบน้อยที่จะติดต่อโดยการสูดเอาละอองน้ำมูกน้ำลายที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด เชื้อก่อโรคที่พบบ่อยที่สุดคือ ค็อกแซกกีเอชนิด 16  ซึ่งทำให้เกิดอาการที่ไม่รุนแรง และหายได้เองเป็นส่วนใหญ่ ที่พบน้อยแต่รุนแรงคือ ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 ซึ่งเป็นต้นเหตุการตายของเด็กเล็กในประเทศต่างๆ ดังกล่าวอาการแสดงของโรค
หลังติดเชื้อ 3-7 วัน เด็กจะมีอาการไข้ และอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย หลังจากนั้น 1-2 วัน จะมีน้ำมูก เจ็บปาก เจ็บคอ ไม่ยอมดูดนม ไม่อยากกินอาหาร เด็กเล็กอาจร้องงอแง เมื่อตรวจดูในปากพบจุดนูนแดงๆ หรือมีน้ำใสอยู่ข้างใต้ ขึ้นตามเยื่อบุปาก ลิ้นและเหงือก ซึ่งต่อมาจะแตกกลายเป็นแผลตื้นๆ และมีอาการเจ็บมาก ในเวลาไล่เลี่ยกันก็จะมีผื่นขึ้นที่มือและเท้า ในเด็กบางคนขึ้นในฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือแก้มก้น โดยตอนแรกมักขึ้นเป็นจุดแดงราบก่อน แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำตามมา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-7 มิลลิเมตร มักไม่คันไม่เจ็บ บางรายเป็นส่วนน้อยที่มีอาการคัน อาการไข้มักเป็นอยู่ 3-4 วันก็ทุเลาไปเอง ส่วนแผลในปากมักจะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ และตุ่มน้ำที่มือและเท้าจะหายได้เองภายใน 10 วัน ในรายที่เป็นรุนแรง (ซึ่งพบเป็นส่วนน้อย) อาจมีอาการปวดศีรษะมาก อาเจียนรุนแรง ซึม ไม่ค่อยรู้ตัว มีอาการชัก แขนขาอ่อนแรง หรือหายใจหอบเหนื่อย 
การดำเนินของโรค
ส่วนใหญ่มักจะหายได้เองภายใน 7-10 วัน (เต็มที่ไม่เกิน 2 สัปดาห์) โดยจะมีไข้อยู่เพียง 3-4 วันแรก ส่วนน้อยที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวตามมา ซึ่งหากรุนแรงมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ 
ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง
ในรายที่มีอาการคัน อาจเกาจนติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน กลายเป็นตุ่มหนอง พุพอง ในรายที่เจ็บแผลในปากจนกินอาหาร หรือดื่มน้ำไม่ได้อาจเกิดภาวะขาดน้ำ บางรายอาจมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบแทรกซ้อนซึ่งมักเป็นไม่รุนแรง และหายได้เองภายใน 10 วัน
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยแต่มีอันตรายร้ายแรง ได้แก่ สมองอักเสบ (มีอาการปวดศีรษะ อาเจียน ไม่ค่อยรู้ตัว ชัก) ภาวะปอดบวมน้ำหรือมีเลือดออกในปอด (มีอาการ หายใจหอบเหนื่อย) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย) โรคเหล่านี้อาจรุนแรงถึงตายได้ มักเกิดในกลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 
การสังเกตุแยกโรค
ในระยะแรกที่มีไข้ เจ็บคอ น้ำมูก อาจคิดว่าเป็นเพียงไข้หวัด ถ้าเป็นไข้หวัดก็มักจะไม่มีอาการเป็นแผลในปาก และมีตุ่มน้ำตามมือและเท้าตามมา ในระยะที่พบแผลในปากอาจทำให้คิดว่าเป็น แผลแอฟทัส (aphthous ulcer) ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีไข้ และตุ่มน้ำตามมือและเท้า แผลในปากมักจะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ นอกจากนี้ อาการขึ้นตุ่มน้ำใสตามผิวหนัง อาจเกิดจากโรคอื่น เช่น เริม จะมีตุ่มขึ้นเป็นหย่อมเล็กๆ เพียงหย่อมเดียว ไม่กระจายอยู่หลายแห่ง และมักไม่มีไข้ มักจะแตกเป็นแผลตกสะเก็ด และหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ อีสุกอีใส จะมีไข้และผื่นขึ้นพร้อมกันใน 1-2 วันแรก ผื่นมีลักษณะเป็นจุดแดง ตุ่มนูนและกลายเป็นตุ่มใส กระจายตามใบหน้า ลำตัว และแขนขา บางครั้งอาจขึ้นในช่องปากร่วมด้วย
เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ และไม่พบว่ามีอาการแทรกซ้อน ก็จะให้การดูแลรักษาตามอาการ  เช่น ให้ยาลดไข้ ยาชาทาแผลในปาก (ถ้าเจ็บมาก) ถ้าตุ่มกลายเป็นหนองหรือพุพองก็จะให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลลินวี อะม็อกซีซิลลิน อีริโทรไมซิน เป็นต้น ถ้ามีภาวะขาดน้ำเนื่องจากกินและดื่มไม่ได้ ก็จะให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ก็จำเป็นต้องรับเด็กไว้รักษาในโรงพยาบาลหรือส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญดูแลต่อไป 
การวินิจฉัยโรค
แพทย์จะวินิจฉัยโรคมือ เท้า ปาก จากลักษณะอาการแสดงของโรค น้อยรายที่อาจต้องทำการตรวจหาเชื้อไวรัสก่อโรคจากสิ่งคัดหลั่งในคอหอย อุจจาระ หรือน้ำเหลืองจากตุ่มน้ำบนผิวหนัง
โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องให้ยารักษาจำเพาะ เพียงแต่ให้การดูแลตามอาการ และเฝ้าติดตามอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ดังนี้
ให้ยาลดไข้ พาราเซตามอล เป็นครั้งคราวเวลา มีไข้สูง
ให้เด็กดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ โดยสังเกตดูว่ามีปัสสาวะออกมากและใส จึงนับว่าได้น้ำพอในช่วงที่มีอาการเจ็บแผลในปาก ให้เด็กกินอาหารเหลวหรือของน้ำๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด นม โดยใช้ช้อนป้อนหรือใช้กระบอกฉีดยา ค่อยๆ หยอดเข้าปาก ไม่ควรให้เด็ก (โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ) ดูดนมหรือน้ำจากขวดเนื่องจากอาจมีอาการเจ็บในปาก อาจใช้วิธีให้เด็กอมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ ดื่มน้ำหรือนมเย็นๆ กินไอศกรีม  หรือบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ (ผสมเกลือป่นครึ่งช้อนชาในน้ำอุ่น 1 แก้ว) วันละหลายๆ ครั้ง 
ควรปรึกษาแพทย์ เมื่อมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ อันนี้ต้องจำให้ขึ้นใจเลยนะครับ
ตุ่มน้ำ กลายเป็นตุ่มหนองหรือพุพองจากการเกา ให้แพทย์พิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะรักษา
มีอาการเจ็บแผลในปาก จนกินอาหารและดื่มน้ำไม่ได้ มีภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ปัสสาวะออกน้อย
มีอาการปวดศีรษะมาก อาเจียนรุนแรง ไม่ค่อยรู้ตัว ชัก แขนขาอ่อนแรง หรือหายใจหอบเหนื่อย ควรส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
อาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์
มีความวิตกกังวล หรือมีความไม่มั่นใจที่จะดูแลรักษาตนเอง

ทราบอาการของโรคนี้และวิธีปฏิบัติตัวอย่างคร่าวๆแล้ว โรคมือ เท้า ปาก นี้ คงไม่น่ากลัวอย่างที่คิดนะครับมาดูกันต่อครับว่า มือ เท้า ปาก ป้องกันได้




วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แตกตื่น โรค มือ เท้า ปาก 2555

0 ความคิดเห็น

เรื่องฮิตฮอตที่สุดตอนนี้ก็คงหนีไม่พ้นเจ้าโรคนี้นะครับ โรคมือ เท้า ปาก ลองมาดูที่มาที่ไปของโรคนี้ดูนะครับ
เมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายน มีการระบาดของเชื้อ“เอ็นเทอโรไวรัส 71” ในประเทศกัมพูชา โดยตลอดช่วงเดือนที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 64 คน พบว่าชาวกัมพูชาที่ตื่นกลัวเรื่องโรคระบาดมือเท้าปาก พากันหอบลูกจูงหลานเดินทางข้ามชายแดนเข้ามายังฝั่งไทยอย่างต่อเนื่องตลอดทั้ง วันนับหมื่นคน ส่วนชาวกัมพูชาในตลาดปอยเปตประเทศกัมพูชา ตรงข้ามด่านพรมแดนอรัญประเทศ แห่กันออกไปหาซื้อหนังสือพิมพ์ “พนมเปญโพสต์” ของกัมพูชา ฉบับวันที่ 10 ก.ค. เพื่อติดตามข่าวสารการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ซึ่งมีการตีพิมพ์ภาพเด็กชายชาวกัมพูชาคนหนึ่งป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก นอนรักษาตัวที่ รพ.แห่งหนึ่งในกัมพูชา และยังพาดหัวยักษ์ว่านายมอม บุญเฮง รมต.สาธารณสุขกัมพูชายอมรับว่าเกิดโรคระบาดทำให้เด็กป่วย 66 คน เสียชีวิตแล้ว 64 คนจริงโดยผู้ป่วยและเสียชีวิตอยู่ที่ รพ.กนบุปผา ในกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขกัมพูชาและองค์การอนามัยโลกออกแถลงการณ์เมื่อคืนที่ผ่านมาว่า สามารถค้นพบสาเหตุของโรคลึกลับที่คร่าชีวิตเด็กชาวกัมพูชากว่า 64 รายแล้ว
สถาบันปาสเตอร์ในกัมพูชา เผยผลการสุมตรวจผู้ป่วย 24 คน และพบว่า 15 ราย ที่มีอาการไข้สมองอักเสบ/ปอด พบเชื้อไวรัสเอนเทอโรไวรัส 71 (EV-71) ซึ่งเป็นสาเหตุปกติของโรคมือ เท้า ปาก ว่าเป็นเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบประสาทอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเด็ก
ด้านหัวหน้าหน่วยไวรัสวิทยาของสถาบันฯ กล่าวว่า ผลดังกล่าวช่วยอธิบายถึงสาเหตุของโรคได้เป็นอย่างดี และหวังว่าจะได้รับผลการตรวจสอบเพิ่มเติมภายในวันอังคารหรือพุธสัปดาห์หน้า ขณะที่เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกกล่าวเตือนว่า การระบาดยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเต็มที่ และจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์เพิ่มเติม ส่วนรัฐมนตรีสาธารณสุขกัมพูชากล่าวว่า การสอบสวนยังคงดำเนินต่อไปและคาดหวังว่าจะสามารถสรุปผลการสอบได้ในเร็ว ๆ นี้
อย่างไรก็ดี ผลการตรวจไม่พบเชื้อไวรัสเอช 5 เอ็น 1 และเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่อื่น ๆ รายงานระบุว่า มีเด็ก 64 คน จาก 66 คนที่ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเด็กใหญ่ที่สุดในกัมพูชานับแต่สิ้นเดือนเมษายนที่ ผ่านมา เสียชีวิตจากภาวะไข้สมองอักเสบ
 ผลการตรวจพบเชื้อไวรัสเอนเทอโรไวรัส 71 ไม่ส่งผลต่อการรักษาแต่อย่างใด เนื่องจากยังไม่มียาแอนตี้ไวรัสตัวใดรักษาอาการเหล่านี้ได้ รวมถึงวัคซีน ในกรณีที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายเป็นไข้ อาเจียน และปวดตามมือ เท้า และปาก แต่ในกรณีรุนแรง อาจก่อให้มีของเหลวขึ้นไปสะสมในสมอง ก่อให้เกิดอาการอัมพาตคล้ายโปลิโอ และอาจทำให้เสียชีวิตได้ในผู้ป่วยบางราย
โรคมือเท้าปากเป็นโรคติดเชื้อที่พบในเด็กและเด็กเล็ก ติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงกับน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ น้ำจากตุ่มพองใส และอุจจาระของผู้ป่วย และในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยตรง

นี่ละครับที่มาที่ไปครบถ้วนของการเกิดการระบาด มีโรคเกิดขึ้น ต่อมาขยายวงกว้างออกไป ผู้คนแตกตื่น
จึงต้องมีการหาสาเหตุและเจ้าตัวเชื้อโรค ว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อเรา และ รอบข้างรุนแรงหรือไม่ 
ต่อไปเรามารู้จักเจ้าโรค มือ เท้า ปาก hand foot mouth diseaseให้มากขึ้น กันครับ