วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ ประจำวันที่ 7 ธันวาคม 2555

1.สถานการณ์การติดเชื้อโคโลน่าสายพันธ์ใหม่ 2012
  
                  1.1 Qatar, Saudi Arabia และ Jordan

               องค์การอนามัยโลกรายงานสถานการณ์ล่าสุดของสถานการณ์การติดเชื้อโคโลน่าสายพันธ์ใหม่ 2012เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 ว่า ตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 เป็นต้นมาพบผู้ติดเชื้อโคโลน่าสายพันธ์ใหม่ 2012จำนวน 9 ราย เสียชีวิต 5 ราย กระจายใน 3 ประเทศได้แก่  Qatar, Saudi Arabia และ Jordan   ประเทศ Saudi Arabiaมีผู้ยืนยันติดเชื้อ 5 ราย เสียชีวิต 3 ราย (Probable 1 าย) ผู้ติดเชื้อรายที่ 1(เสียชีวิต) และ 2 ไม่มีความเชื่อมโยง  ส่วนรายที่ 3  4(เสียชีวิตทั้ง 2 ราย ) และ 5 ตลอดจนProbable 1 าย  อยู่ในครอบครัวและพักอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน     ประเทศกาตาร์มีผู้ติดเชื้อ 2 ราย(เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในประเทศอังกฤษ และ California )ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต และประเทศจอร์แดนมียืนยันติดเชื้อเสียชีวิต 2 ราย สำหรับประเทศจอร์แดนที่ได้รับการเปิดเผยล่าสุดนี้มีการเปิดเผยของกระทรวงสาธารณสุขประเทศจอร์แดนว่าตั้งแต่วันที่ 7 21 เมษายน 2555 มีการระบาดของ Severe Acute Respiratory Syndrome ในตึกผู้ป่วยหนักโรงพยาบาล Zarqa blue state Jordan โดยการระบาดครั้งนั้นมีผู้มีอาการดังกล่าว 11 รายเป็นแพทย์ 2 ราย บุคลากรด้านการพยาบาล 7 ราย และน้องชายพยาบาล 1 ราย  มีผู้เสียชีวิต 2 ราย หนึ่งในนั้นเป็นพยาบาล 1 ราย  โรงพยาบาลแห่งนี้ได้เก็บตัวอย่างจากผู้เสียชีวิตไว้และได้ส่งตรวจอีกครั้งหลังมีการระบาดของโรคนี้ในประเทศตะวันออกกลางและได้ผลบวก ผู้ติดเชื้อทั้ง 9 รายมีอาการ Severe Acute Respiratory Syndrome และ 5 ใน9 รายที่มีอาการหนักมีrenal failureร่วมด้วย เชื้อที่ก่อโรคชื่อ coronavirus (SARS CoV)ซึ่งอยู่ในfamily เดียวกับโรคซาร์สที่เคยระบาดมาแล้ว
        องค์การอนามัยโลกแนะนำในนานาประเทศเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มาอาการ severe acute respiratory infections (SARI) และสอบสวนการเกิดโรคอ่างละเอียดต่อกรณี unusual patterns  ทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วย unexplained pneumonias โดยเแพาะผู้ที่กลับจากประเทศแถบตะวันออกกลาง   กรณีทีมี clusters of SARI หรือ SARIในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ต้องสอบสวนอย่างละเอียดเพื่อจะได้ยืนยันว่าโรคนี้ติดต่อจากคนสู่คนได้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อแนะนำห้ามเดินทางเข้าไปในประเทศดังกล่าว หรือมีการตรวจพิเศษตามด่านเข้าประเทศของนานาประเทศด้วย  ซึ่งแนวทางดังกล่าวหลายๆประเทศเช่น จีน รัสเซีย เวียดนามได้alert และนำไปใช้ปฏิบัติ
2. สถานการณ์ Yellow fever
   2.1 Sudan
       องค์การอนามัยโลกเปิดเผยข้อมูลโรค Yellow feverในประเทศซูดานเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่าการระบาดของโรคนี้ที่เมือง Darfurตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2555 ถึง 29 พฤศจิกายน 2555 มีรายงานผู้สงสัยป่วยจากโรคนี้ 677 ราย เสียชีวิต 164 ราย เกือบร้อยละ 50 มีอายุระหว่าง 15 ถึง 30 ปี และ ร้อยละ 25 อายุระหว่าง 5 ถึง 15 ปี โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะมีเฉพาะการให้วัคซีน ขณะนี้รัฐบาลและพันธมิตรได้ระดมฉีดวัคซีน แก่ประชาชนในเมืองนี้ 3.6 ล้านคน.
3.สถานการณ์ polio
3.1 Afghanistan
     วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 จังหวัด  Kandahar   ประเทศ Afghanistan รายงานเด็ก 2 รายป่วยด้วยอาการแขนขาอ่อนแรงจาก The Sabin Like (2)polio viru ผู้ป่วยทั้งสองรายอาศัยอยู่อำเภอ  Panjwai และ Spin Boldak ซึ่งติดกับชายแดนประเทศปากีสถาน  และองค์การอนามัยโลกได้แจ้งว่าเป็นผู้ป่วยยืนยันโปลิโอ และThe officials, genetic sequencing  แจ้งว่าเชื้อที่พบเป็นthe new polio strain ที่มีแหล่งโรคอยู่ที่อำเภอ Balochistan’s Killa Abdullah ประเทศปากีสถาน Sabin Like (2) poliomyelitis มักจะพบในเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน  ในเขต Balochistan  ผู้ป่วยทั้งสองไม่ใช่เหตุการณ์แรกที่มี poliovirus transmissionจากประเทศปากีสถานไปยังประเทศใกล้เคียง ปีที่ผ่านมามีเด็ก 16 คนจาก Xinjiang ประเทศจีนมีอาการ paralysed จากการติดเชื้อ polio strainที่มีแหล่งโรคในประเทศปากีสถาน
        นอกจากการระบาดที่ประเทศ Afghanistanแล้ว ยังพบว่ามีการระบาดที่เขตQilla [or Killa] Abdullah และ Pishin ในอำเภอBalochista ประเทศปากีสถาน เชื้อที่พบเป็น hitherto unknown strain of polio virus  และ3 สัปดาห์ที่ผ่านมาก็ยังพบผู้ป่วย 10 รายใน2 Pakhtun-dominated districts อำเภอBalochistaเช่นกัน   เชื้อที่พบเป็นเชื้อเดียวกับเชื้อที่พบที่ Afghanistan คือ"Sabin-like type 2 poliovirus"

4.สถานการณ์ Ebola

 4.1 Uganda

           กระทรวงสาธารณสุข ประเทศยูกานดา เปิดเผยEbola haemorrhagic fever ในอำเภอ Luweero และ Kampala  ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 ว่ามีผู้ป่วย 7 รายโดยเป็นผู้ป่วยยืนยัน 6 รายและน่าจะเป็น 1 ราย เสียชีวิต 4 ราย ขณะนี้ทีมในพื้นที่กำลังสอบสวนหาสาเหตุในพื้นที่










5.สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก
5.1 Vietnam
   Pham Van Dong, head of the Veterinary Department ประเทศเวียดนามเปิดเผยว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2555จนปัจจุบันพบเชื้อ H5N1 avian fluใน สัตว์ปีกกระจายใน 32 จังหวัดและหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศเวียดนาม หน่วยงานภาครัฐหลายส่วนกล่าวว่าสถานการณ์เลวลงเพราะมีการเคลื่อนย้ายสัตว์ ปีกจากประเทศจีนเข้าสู่ประเทศเวียดนามมากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัด Lang Sonและ Quang Ninh นอกจากนั้นที่ประเทศมีการตรวจพบ new strainsของเชื้อดังกล่าว โดยnew strainชื่อ The 2.3.2.1 C strain ที่มีการตรวจพบที่ Hai Phong, Ha Tinh, Ninh Binh, Nam Dinh, Bac Kan, Thanh Hoa และ Quang Ngai  ด้านhealth expertsกล่าวว่า new strain of avian flu virusตรวจพบที่ประเทศจีนตั้งแต่เดือนกรกฏาคม 2555ก่อนจะมีการตรวจพบที่เวียดนามต่อมา
       จากการระบาดดังกล่าวทำให้ต้องฆ่าสัตว์ปีกใน32 จังหวัดและหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศเวียดนาม 616000 ตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัด Quang Binh ตไก่และเป็ดถูกฆ่า 7300 ตัว

    5.2 Indonesia

      ตรวจพบเชื้อ bird flu (H5N1)จากตัวอย่างจากกรณีที่มีไก่ตายหลายสิบตัวที่เขต in Kampung Pulopajang, หมู่บ้านSukamakmur อำเภอ Sukakarya Bekasi
5.3 Russia
      Alexei Alekseenko, โฆษก Rosselkhoznadzor เปิดเผยว่าตามที่มี wild ducks
4000 ตัวเสียชีวิตที่ coastal lakes ในอำเภอ Anapa และTemryuk เมือง Krasnodarผลการตรวจตัวอย่างพบ“low-pathogenic flu,”

6. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคน
  สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคนปี2546 ถึง 23 พฤศจิกายน 2555 พบผู้ติดเชื้อโรคไข้หวัดนกในคน 608 ราย เสียชีวิต 359 ราย(อัตราป่วยตายร้อยละ 59)กระจายใน  15 ประเทศ ประเทศกัมพูชามีอัตราป่วยตายสูงสุดร้อยละ 90.5 ( เสียชีวิต 19 รายในผู้ติดเชื้อ 21 ราย) กลุ่มอายุที่พบผู้ติดเชื้อสูงสุดคือ 20-29 ปี (ร้อยละ 22.7) อัตราป่วยตายสูงสุดเป็นผู้ติดเชื้อ 10-19 ปี(ร้อยละ 73.8) ร้อยละ 54 เป็นเพศหญิง อย่างไรก็ตามเรื่องเพศแตกต่างกันเป็นรายประเทศ
สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ
1. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก
       กรมปศุสัตว์แจ้งว่าได้ high alert เพื่อรองรับ outbreak of bird flu ซึ่งมักจะระบาดในหน้าหนาว โดยแจ้งให้เจ้าของฟาร์ม และอาสาสมัครเฝ้าระวังการป่วยตายของสัตว์ปีก (รวมทั้งนกป่า)ที่เสียชีวิตมากผิดปกติในหน้าหนาวที่กำลังจะมาถึง



2. สถานการณ์การเสียชีวิตจากรับประทานหมูดิบ
      ทพ.ดร.สุรสิงห์ วิศรุตรัตรน์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่เผยว่กรณีมีข่าวว่ามีนักศึกษาปริญญาโทเสียชีวิตหลังจากกินหมูกระทะว่า สสจ.เชียงใหม่ ทำการสอบสวนโรค พบว่าผู้เสียชีวิตรายนี้แพทย์ได้เจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจสอบ พบเชื้อสเตรปโตคอคคัส สายพันธุ์หนึ่ง แพทย์ระบุว่า หลังตรวจพบได้ให้ยารักษา แต่ช่วยชีวิตไว้ไม่ทัน เนื่องจากเชื้อได้ลุกลามเข้าสู่ระบบสมองของผู้ป่วยแล้วสำหรับเชื้อสเตรปโตคอคคัสที่พบในผู้ป่วย สามารถพบปนเปื้อนได้ทั้งในหมูดิบ ปลาดิบ และยังสามารถปนเปื้อน อาหารประเภทอื่นอีกหลายประเภท โดยเฉพาะอาหารดิบ แต่ในกรณีที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยรายนี้ยังไม่สามารถระบุชัดว่า สาเหตุการเสียชีวิตมาจากการกินหมูกระทะ แต่ สสจ.เชียงใหม่ ได้เข้าตรวจสอบที่ร้านหมู่กระทะดังกล่าว โดยนำตัวอย่างปัสสาวะไปตรวจสอบ พร้อมกับเพาะหาเชื้อในระบบทางเดินอุจจาระของพนักงานในร้าน ขณะเดียวกันได้นำตัวอย่างเนื้อหมูและเนื้อปลาดิบที่ใช้เป็นวัตถุดิบในร้านหมูกระทะแห่งนี้ ไปตรวจสอบที่คณะสัตว์แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อดูว่ามีเชื้อตัวเดียวกัน กับที่พบในผู้เสียชีวิตหรือไม่  นอกจากนักศึกษาปริญญาโทที่เสียชีวิตรายนี้ ล่าสุดยังพบผู้ป่วยที่มีลักษณะ และพบเชื้อชนิดเดียวกัน เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อีก 3 คน ซึ่ง สสจ.เชียงใหม่ กำลังทำการสอบสวนโรค
3.สถานการณ์โรคคอตีบ
     พบการแพร่ระบาดของโรคคอตีบรอบใหม่ใน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราชว่า ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นเด็กเล็ก 2 ราย เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2555 ที่ผ่านมา โดยพาหะของโรคมาจากผู้เป็นแม่ของเด็กทั้ง 2 ราย ขณะที่ รพ.ขนอม ได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ออกสืบสวนโรคและปูพรมฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในอำเภอ ขนอมทุกคน รวมทั้งแรงงานต่างด้าวและประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 5 ธ.ค. ประชาชน อ.ขนอม ต่างทยอยเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ อย่างต่อเนื่อง ขณะที่เจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจาก รพ.ขนอม รพ.สิชล รพ.ท่าศาลา จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้ลงพื้นที่ออกสืบสวนหาต้นตอของโรคพร้อมปูพรมฉีดวัคซีนให้กับประชาชนใน อ.ขนอม ทุกคน
       ศ.นพ.ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร เลขานุ การคณะกรรมการร่างคำแนะนำการให้วัคซีนในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ กล่าวว่า ขณะนี้พบการแพร่ระบาดของโรคคอตีบใน 15 จังหวัด โดยเฉพาะที่ภาคอีสาน ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้มีการฉีดวัคซีนป้องกันในเด็ก จนเกือบไม่พบผู้ป่วยในประเทศไทยแล้ว แต่พบว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมายังพบการระบาดอยู่เสมอในค่ายอพยพ โดยเฉพาะประชาชนในช่วงอายุ 10-30 ปี ที่ภูมิคุ้มกันโรคจะค่อยๆ ตกลง จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนซ้ำ ดังนั้นจึงอยากสนับสนุนให้มีการฉีดวัคซีนดังกล่าวควบคู่กับการฉีดวัคซีน ป้องกันบาดทะยัก และต้องฉีดซ้ำทุกๆ 10 ปี โดยเริ่มตั้งแต่วัยรุ่นเป็นต้นไป
3. สถานการณ์โรคสครับไทฟัส
        นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรคเผยว่ารายงานสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2555 พบผู้ป่วยโรคสครับไทฟัส 7,412 ราย เสียชีวิต 4 ราย พื้นที่ที่พบผู้ป่วยโรคสครับไทฟัสมากที่สุด ได้แก่ ภาคเหนือ รองลงมาคือภาคอีสาน  ช่วงนี้หลายพื้นที่มีอากาศหนาวเย็น ตามป่าตามเขาจึงเป็นพื้นที่ที่คนมักนิยมไปเที่ยวเดินป่าหรือกางเต็นท์นอน ทำให้มีความเสี่ยงที่จะถูกตัวไรอ่อนที่อาศัยอยู่ในป่ากัด จนอาจติดเชื้อและป่วยเป็นโรคสครับไทฟัส (Scrub typhus) หรือโรคไข้รากสาดใหญ่ได้     โรคสครับไทฟัส เกิดจากตัวไรอ่อนกัดหรือดูดเลือด ซึ่งในตัวไรอ่อนจะมีเชื้อริกแกตเซีย (Rickettsia) ที่อาศัยอยู่ในสัตว์ตระกูลฟันแทะ เช่น กระแต กระจ้อน หนู โดยตัวไรอ่อนจะเข้าไปกัดตามตัว ลักษณะเฉพาะของโรคนี้ คือ มีรอยแผลเหมือนโดนบุหรี่จี้ ตรงบริเวณที่ถูกไรอ่อนกัด แต่อาการของโรคจะค่อนข้างหลากหลาย ทั้งมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา ตาอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต ไอแห้ง และอาจมีอาการอักเสบที่สมอง ปอดบวม ดีซ่าน ในรายที่อาการรุนแรงหัวใจจะเต้นเร็วมาก ความดันโลหิตต่ำ อาจถึงขั้นช็อกเสียชีวิต

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น