วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ ประจำวันที่ 12 ธันวาคม 2555

   สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ ประจำวันที่ 12 ธันวาคม 2555 มีประเด็นหลักดังนี้
  1. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก

1.1 Indonesia

    The agriculture ministry’s veterinary chief Syukur Iwantoro เปิดเผยว่าตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2555 เป็นต้นมาพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกในเป็ดในเขต Cirebon, Brebes, Starch, Mojokerto, Blitar, Tulungagung, และ  Pasuruan โดยเฉพาะเป็ดในPati, Central Java เสียชีวิตถึงร้อยละ 85 ของเป็ดทั้งหมด คาดว่ามีเป็ดตายจากเหตการณ์ครั้งนี้ 350,000 ตัว  อย่างไรก็ตามตั้งแต่เดือนกันยายน 2555ที่ผ่านมาเริ่มมีการตรวจพบ Sub type 2.3.2  ซึ่งเป็นtype ใหม่ซึ่งปกติที่ประเทศอินโดนีเซียมีการตรวจพบเพียง Sub type 2.1   และเสริมว่า The new strainเป็นสาเหตุของการระบาดในครั้งนี้ ขณะนี้ Global health workers มีความกังวลว่าnew strain นี้อาจจะแพร่สู่คนได้และก่ออันตรายมากกว่าเดิม
        

       อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของอินโดนีเซียระบุว่า ทางการจำเป็นต้องตรวจสอบหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เชื้อไข้หวัดนกตระกูลใหม่ที่พบเป็นครั้งแรกในอินโดนีเซียครั้งนี้ เกิดจากการกลายพันธุ์ของเชื้อตัวเดิมที่พบมาก่อน หรือเป็นเชื้อไวรัสตัวใหม่ที่แพร่ระบาดมาจากต่างแดน โดยเฉพาะจากเวียดนาม หรือประเทศไทย ซึ่งเคยเกิดการระบาดอย่างรุนแรงมาแล้วก่อนหน้านี้



         นอกจากนี้มีข้อมูลว่าเป็ดที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่เป็นเป็ดนำเข้า ซึ่งประเทศอินโดนีเซียว่าเป็ดที่นำเข้า(ร้อยละ10 ของเป็ดทั้งหมดของของประเทศ)จากประเทศGermany, Britain, France, Malaysia (ไม่มีรายงานไข้หวัดนกในสัตว์ปีก) ThailandและChina ซึ่งเจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ที่นำเข้าเป็ดนี้เสนอว่าจะหยุดการนำเข้าและทำเรื่องเสนอรัฐบาลกลางแล้ว



        ทั้งนี้จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า อินโดนีเซียนับเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไข้หวัดนกมากที่สุดในโลก โดยตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา พบผู้เสียชีวิตแล้ว 159 ราย จากทั้งหมดทั่วโลกเกือบ 360 ราย ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า ไข้หวัดนกซึ่งปกติจะระบาดจากสัตว์สู่คน อาจกลายพันธุ์เป็นการระบาดจากคนสู่คนได้ในอนาคต



1.2 Taipei

       พบการระบาดของโรคไข้หวัดนก( H5N2)ในไก่พื้นเมืองที่เขต Ma-Gong, P'ENG-HU เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2555  มีไก่ตาย 200 ตัว และถูกฆ่า 631 ตัว



2. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคน
       ตั้งแต่ปี 2546 จนถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2555 พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก 608 ราย เสียชีวิต 359 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 59 กระจายใน 15 ประเทศทั่วโลก ประเทศกัมพูชามีอัตราป่วยตายสูงสุดร้อยละ 90.5 ( เสียชีวิต 19 ในผู้ติดเชื้อ 21 ราย)   อายุผู้ติดเชื้อมีตั้งแต่ 3 เดือนถึง 81 ปี  กลุ่มอายุพบมากที่สุดคือ 20-29 ปี  (ร้อยละ 22.7 ) กลุ่มอายุ 10-19 ปีพบว่ามีอัตราป่วยตายสูงสุด และต่ำสุดในกลุ่มอายุ 70ปีขึ้นไป (ร้อยละ 25 ) และร้อยละ 54 เป็นเพศหญิง
         สถานการณ์ในปี 2555

1.     ประเทศบังคลาเทศ มีทั้งหมด 3 ราย รายแรกเป็นชายอายุ  40 ปีอาศัยที่ Dhaka Cityพบผู้ป่วยเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555ขณะที่มี  live bird market surveillance system ปัจจุบันหายเป็นปกติ  รายที่ 2 และ 3 เป็นเพศชายอายุ 26 และ 18 ปี ตรวจพบผู้ป่วยขณะ live bird market surveillanceใน Dhaka City ปัจจุบันหายเป็นปกติทั้ง 3 รายตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ the National Influenza Centre

2.     ประเทศกัมพูชา มี 1 รายเป็นเด็กหญิงอายุ 10 ปีจากจังหวัด Kampong Speuเริ่มมีอาการเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 เข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลในหมู่บ้าน ต่อมาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 ด้วยอาการไข้และหายใจลำบาก มีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2555 ที่ Institute Pasteur du Cambodgeผู้ติดเชื้อรายนี้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2555 มีประวัติเสี่ยงคือเตรียมอาหารรับประทานจากไก่ป่วย

3.     ประเทศจีน มี 1 ราย เป็นเด็กชายอายุ 2 ปี จากเขต Guangzhou City มณฑล Guangdong เริ่มมีอาการเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2555 เข้ารับการรักษาในคลินิคที่ Hong Kong เมื่อวันที่ 26  พฤษภาคม 2555 ต่อมามีอาการชักจึงเข้ารับการรักษาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2555 ตรวจทางห้องปฏิบัติการผลวันที่ 2มิถุนายน 2555 ได้ผลบวกต่อเชื้อไข้หวัดนก ประวัติเสี่ยงคือ กลางเดือนพฤษภาคม 2555  มารดานำผู้ป่วยไปตลาดค้าขายสัตว์ปีกที่ Guangzhou ตรวจผู้สัมผัสได้ผลลบต่อเชื้อ

   4. ประเทศอียิปต์ รายแรกเป็นเด็กหญิงอายุ 4 ปี อาศัยที่ from Kfr -Elsheikh      governorate เริ่มมีอาการเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2555 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล     เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2555 และได้รับยา oseltamivir treatmentในวันที่เข้ารับการ  รักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยถูกจำหน่ายจากกโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม  2555 ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ the Central Public Health  Laboratories and the Naval Medical Research Unit 3 (NAMRU-3), a WHO      reference laboratory มีประวัติเสี่ยงคือสัมผัสกับ backyard poultry รายที่ 2(จากข้อมูลของ FAOพบผู้ติดเชื้อ 1 รายที่เขต  Kafr Saad Domyat (Damietta) (Egypt) ตรวจทางห้องห้องปฏิบัติการโดย RT-PCR ได้ผลบวกเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2555


5. ประเทศอินโดนีเซีย มี 1 รายเป็นชายอายุ 37 ปีจากจังหวัด Yogyakartaเริ่มมีอาการเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2555 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2555 และเสียชีวิตวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 จากการสอบสวนพบว่าในบ้านเลี้ยงนกสวยงาม 4 กรง และห่างจากบ้าน 50 เมตรเป็นสถานที่ฆ่าไก่ ยืนยันการติดเชื้อจาก the
6. ประเทศเวียดนาม  มี 1 รายเป็นชายอายุ 31 ปีอาศัยที่จังหวัด Dak Lak เริ่มมีอาการเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2555 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วย viral pneumonia และได้รับการส่งต่อไปอีกโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2555จากการสอบสวนประวัติเสี่ยง ผู้ติดเชื้อรายนี้ฆ่าและรับประทานไก่ป่วย ผู้สัมผัสตรวจทางห้องปฏิบัติการได้ผลลบ



4. สถานการณ์ภัยธรรมชาติอื่นๆ

    4.1 แผ่นดินไหว
        วันที่ 10 ธันวาคม 2555 เวลา 23.53 . ตามเวลาท้องถิ่นและในประเทศไทยเกิดแผ่นดินไหวโดยมีจุดศูนย์กลางอยูห่างจากชายฝั่งเกาะอัมบน ซึ่งเป็นหนึ่งในหมู่เกาะโมลุกกะไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 360 กิโลเมตร ที่ละติจูด 6.540°ใต้, ลองติจูด 129.815°ตะวันออกของประเทศอินโดนีเซีย  สำนักงานธรณีวิทยาของสหรัฐวัดความรุนแรงได้ 7.1 ริกเตอร์ ในระดับความลึก 159.3 กม. ขณะที่สำนักงานแผ่นดินไหวของอินโดนีเซียวัดแรงสั่นสะเทือนได้ 7.4 ริกเตอร์ แต่ไม่มีการประกาศเตือนภัยสึนามิ เนื่องจากจุดศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปในทะเลบันดา จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานความเสียหาย สำหรับอินโดนีเซียตั้งอยู่บนแนวเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกที่เรียกว่า"วง แหวนแห่งไฟ" ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอยู่เสมอ



4.2 พายุไต้ฝุ่น


   นาง ลุยซา การ์วัลโฮ ผู้แทนสำนักงานประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ โอซีเอชเอ เปิดเผยเมื่อวันที่ 10ธันวาคม 2555ว่า กรณีที่ประเทศฟิลิปปินส์ประภัยจากพนยุไต้ฝุ่น"โบพา" พายุไต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดในรอบ 80 ปี ซึ่งพัดถล่มทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง และพบผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 647 ราย และยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งยังมีผู้สูญหายอีกกว่า 780 คน   องค์การสหประชาชาติได้เรียกระดมเงินบริจาคจำนวน 65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 2 พันล้านบาท เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยกว่า 480,000 คน และได้รับผลกระทบกว่า 5.4 ล้านคน

  4.3  สถานการณ์ภัยหนาว

        ในระหว่างวันที่ 8 -9 ธันวาคม 2555 มีอากาศหนาวและหิมะตกหลายประเทศในแถบคาบสมุทร บอลข่าน ซึ่งได้แก่  โครเอเชีย, เซอร์เบีย สาธารณรัฐเชค และ สโลวาเกีย ถูกปกคลุมไปด้วยหิมะและอุณหมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้ประชาชนในเซอร์เบีย โครเอเชียและสาธารณรัฐเชค เสียชีวิต 9 ราย



สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพในประเทศ

1. สถานการณ์พบซากเป็ดเป็นจำนวนมาก



       นายปัญวะ รัตนวรกมล หัวหน้าด่านกักสัตว์สุพรรณบุรีเผยว่าได้ร่วมกับนายสมเจต ตันเจริญ หัวหน้าด่านกักสัตว์พระนครศรีอยุธยา ร่วมกับกรมปศุสตว์จังหวัดปทุมธานี กรมปศุสัตว์เขต กรมปศุสัตว์อำเภอ และอบต.ลาดหลุมแก้วได้ร่วมกันกำจัดซากสัตว์ปีกจำนวนมาก ในซ.วัดสุทธาวาส อ.ลาดหลุมแก้ว ต.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี หลังได้รับแจ้งจากประชาชนว่าพบซากเป็ดตายจำนวนมากในพื้นที่ดังกล่าว ที่เกิดเหตุลักษณะเป็นที่ร่องน้ำรกร้างติดกับนาข้าว ตรวจสอบพบกระสอบปุ๋ยและถุงพลาสติก จำนวน 5 กระสอบ เมื่อแกะออกพบซากเป็ดตาย โดยแต่ละกระสอบมีซากเป็ดตายกว่า 50 ตัว นอกจากนี้ยังพบกระสอบบรรจุซากเป็ดนำมาทิ้งอีก 5 จุด แต่ละจุดมีระยะห่างประมาณ 100 เมตร ส่งกลิ่นเหม็นเน่าคละคลุ้งไปทั่ว จากนั้นเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการกำจัดซากเป็ดตาย ทั้ง 5 จุด รวมกว่า 1,000 ตัว ด้วยวิธีการนำรถแบคโฮมาขุดฝังกลบ ก่อนจะฉีดยาฆ่าเชื้อโรคในแต่ละจุดที่พบซากเป็ดตาย เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อโรค

        ด้านนายจาตุรณ  พลราช   ปศุสัตว์ จ.ปทุมธานี เผยว่าได้เรียกปศุสัตว์ทั้ง 7 อำเภอใน จ.ปทุมธานี ประชุมรับทราบเกี่ยวกับซากเป็ดที่ถูกนำมาทิ้งในเขตพื้นที่ อ.ลาดหลุมแก้ว  เบื้องต้นคาดว่าตายจากเชื้อกาฬโรคเป็ด โรคนี้ไม่แพร่เชื้อเข้าสู่คน แต่จะแพร่เชื้อสู่สัตว์ปีกด้วยกันอย่างรวดเร็ว เชื้อกาฬโรคเป็ดนี้จะเกิดในช่วงปรับเปลี่ยนฤดู ถ้าเป็ดนั้นมีภูมิต้านทานไม่ดีก็จะเกิดการแพร่เชื้อกาฬโรคได้ ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งคือการเลี้ยงเป็ดไว้ในที่แออัดก็จะเกิดโรคนี้ขึ้นได้เช่น กัน ซากเป็ดที่พบมีอายุประมาณ 2 เดือนได้เก็บซากเป็ดบางส่วนไปตรวจสอบหาสาเหตุในห้องแล็บที่กรมปศุสัตว์อย่างซึ่งใช้เวลาตรวจ 1 สัปดาห์



2. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก

     นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรคเผยถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทยว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของ สำนักระบาดวิทยา (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-4 ธันวาคม 2555)พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม จำนวน67,072 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 105.00 ต่อประชากรแสนคน และมีผู้เสียชีวิต 70 ราย และคาดการณ์ว่าในปี 2556 จะมีจำนวนผู้ป่วยทั้งปีเพิ่มสูงขึ้น ประมาณ 90,000-100,000 ราย ส่วนพื้นที่การระบาดจะพบในชุมชนใหม่นอกเขตเทศบาลที่อยู่ใกล้ชุมชนเมืองมาก ขึ้น ซึ่งกรมควบคุมโรค ได้จัดทำหนังสือแจ้งเตือนไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรค เพื่อเน้นมาตรการป้องกันและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมอบหมายให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคทุกเขตเตรียมทีมสอบสวนโรคเคลื่อน ที่เร็ว(SRRT) เตรียมพร้อมเข้าไปร่วมดำเนินการกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและหน่วยงานในท้องถิ่นกรณีเกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก



3. สถานการณ์ภัยหนาว
     ร...สมหมาย เพชรสุริยา ร้อยเวร สภ.อุทุมพรพิสัย .ศรีสะเกษ รับแจ้งเหตุคนนอนเสียชีวิต ภายในบ้านเลขที่ 264 ชุมชนน้อยนาสวน หมู่ 7 เขตเทศบาลตำบลกำแพง .อุทุมพรพิสัย รุดไปตรวจสอบพร้อมด้วย ...บัญฑิต โพธิสาร ผกก. ..สุกัญญา บุญบัวมาศ แพทย์เวร รพ.อุทุมพรพิสัย ที่เกิดเหตุเป็นบ้านปูนชั้นเดียว ภายในห้องนอนพบศพนายสมศักดิ์ ทิพยวรรณ อายุ 38 ปี เจ้าของบ้าน นอนหงายเสียชีวิตอยู่บนที่นอน สภาพศพสวมเสื้อยืดสีขาว กางเกงขาสั้นสีดำ ห่มผ้าห่มผืนบางสีม่วงลายดาว จากการชันสูตรพลิกศพเบื้องต้น พบว่าตามผิวหนังมีร่องรอยมดกัดทั่วร่างกาย ศพเริ่มแข็งเกร็ง คาดเสียชีวิตมาแล้วไม่ต่ำกว่า 8 ชม.

จากการสอบสวน ..บุญมี ใยงาม อายุ 31 ปี ซึ่งเป็นญาติให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าพบผู้เสียชีวิตเข้านอน 21 น.ของวันที่ 10 ธันวาคม 2555  กระทั่งรุ่งเช้าตนเห็นผิดสังเกต ที่ไม่เห็นผู้ผู้เสียชีวิตตื่นเช้าตามปกติ จึงได้เข้าปลุกพบว่านอนเสียชีวิต จึงได้รีบแจ้งให้ตำรวจทราบ เบื้องต้นสันนิษฐานว่าผู้ตายนอนห่มผ้าไม่หนาพอ เมื่อนอนหลับมาเจออากาศหนาวเลยทำให้เสียชีวิตดังกล่าว



4. สถานการณ์การเสียชีวิตหลังจากรับประทานหมูกระทะ
    นพ.สุรสิงห์ วิศรุตรัตน์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยกรณีนักศึกษาสาวปริญญาโทเสียชีวิตด้วยอาการติดเชื้อใน กระแสโลหิตจากเชื้อสเตปโตคอคคัส ว่าจากการตรวจสอบในการนำเนื้อหมู ไก่ และปลาจากร้านหมูกระทะที่ ผู้เสียชีวิตปรับประทานไปตรวจสอบหาเชื้อสเตปโตคอคคัส ปรากฏว่าไม่พบเชื่อดังกล่าวในอาหารที่นำไปตรวจ โดยยืนยันว่า เนื้อปลา ไม่ใช่สาเหตุของการติดเชื้อ ส่วนเนื้อหมูทางปศุสัตว์เชียงใหม่ไม่พบว่าว่ามีเชื้อสเตปโตคอคคัส ในเนื้อหมู
        ผลตรวจตัวอย่างอาหารในร้านหมูกระทะที่ผู้ตายบริโภค พบว่าการปนเปื้อน แต่ยังไม่สามารถระบุได้ชัดว่าอะไรเป็นพาหะ ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัยทั้งการ หั่น การซอย และการปนเปื้อน ทั้งนี้เบื้องต้นจะมีการตรวจสอบทางอ้อมอีกครั้งหนึ่งหาสาเหตุของการเสีย ชีวิตว่า การติดเชื้อมาจากไหน รวมถึงปัจจัยอื่นๆที่จะเป็นพาหะของเชื้อ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น