วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สถานการณ์โรค/ภัยสำคัญ ประจำวันที่ 9 ตุลาคม 2555

ข่าวและข้อมูลสถานการณ์โรค/ภัยจากต่างประเทศ 1. สถานการณ์การระบาดของโรคโคโลน่าสายพันธ์ใหม่ 2012 1.1 The United Kingdom ในวันที่ 22 กันยายน 2555 the Health Protection Agency (HPA) in London ประเทศอังกฤษได้แจ้งว่าพบผู้ป่วย severe respiratory illness ที่ตรวจพบเชื้อ novel coronavirus 1 รายซึ่งเข้ารับการรักษาที่ตึกผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงลอนดอน จากการสอบสวนพบว่าผู้ป่วยรายนี้ถูกส่งตัวมารับการรักษาจากประเทศกาตาร์เมื่อ 11 วันที่ผ่านมา และก่อนหน้านี้ประมาณ 3 เดือนประเทศซาอุดีอาระเบียก็มีรายงานชายชาวซาอุดีอาระเบียอายุ 60 ปี มีอาการ severe respiratory illness และไตวายเฉียบพลัน เสียชีวิต 1 ราย(จากการตรวจLung tissue โดยวิธี Realtime PCR พบติดเชื้อ novel coronavirus ) ผู้ป่วยรายนี้เป็นชาย ชาวกาตาร์อายุ 49 ปี เดินทางเข้าไปประเทศซาอุดีอาระเบีย ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฏาคม 2555 ถึง 18 สิงหาคม 2555 เริ่มมีอาการ rhinorrhea และไข้ในวันที่ 13 สิงหาคม 2555 ต่อมาอาการดีขึ้น และเดินทางกลับประเทศกาตาร์วันที่ 18 สิงหาคม 2555 ช่วงที่อยู่ที่ประเทศกาตาร์ผู้ป่วยใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในฟาร์มที่เลี้ยงอูฐและแกะ แต่ไม่ได้สัมผัสโดยตรงกับสัตว์เหล่านี้ วันที่ 3 กันยายน 2555เริ่มมีอาการไอ และปวดข้อ ต่อมามีการติดเชื้อทางระบบทางทางเดินหายใจรุนแรง และมีอาการไตวายร่วมด้วย จึงขอไปรับการรักษาต่อที่ประเทศอังกฤษซึงได้เข้ารับการรักษาที่ตึกผู้ป่วยหนัก จากการติดตามผู้สัมผัสได้แก่ health care workers เพื่อนและครอบครัว 64 ราย พบว่ามีอาการของโรคระบบทางเดินหายใจ 13 ราย จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่าติดเชื้อ Rhinovirus จำนวน 1 ราย ไม่มีการตรวจพบเชื้อ novel coronavirus นอกจากนั้นโฆษกศูนย์ป้องกันสุขภาพ แจ้งว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขฮ่องกงได้รับรายงานจากโรงพยาบาลท้องถิ่นฯ เมื่อวานนี้ (7 ต.ค.) ว่ามีเด็กชายชาวซาอุดีอาระเบีย วัย 4 ขวบ มีอาการไข้สูง ไอ และอาเจียน เข้ารับการรักษาฉุกเฉิน โดยแพทย์กำลังวินิจฉัยเชื้อฯ ว่าเป็นไวรัสที่คล้าย "ซาร์ส" อยู่ในตระกูลเดียวกับเชื้อโคโรนาไวรัส หรือไม่ และถูกส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลควีนส์ แมรี่ อาการล่าสุดยังทรงตัว จากการตรวจสอบประวัติฯ พบว่าผู้ป่วยเดินทางมาจากเมืองเจดดาห์ ประเทศซาอุดีอาระเบียพร้อมกับบิดา ตั้งแต่เมื่อวันพุธที่ผ่านมา และบิดามีอาการไข้สูงเมื่อวันศุกร์ ก่อนที่ไข้จะลดลงในเวลาต่อมา เจ้าหน้าที่ กล่าวว่า จะเฝ้าระวังและตรวจเชื้อคนไข้ที่มีอาการน่าสงสัยอย่างเร่งด่วน และการตรวจเชื้ออย่างละเอียดจะใช้เวลาทราบผลไม่เกิน 2 วัน หากผลตรวจยืนยันว่าเป็นเชื้อไวรัสดังกล่าว ก็นับว่าเด็กชายคนนี้ เป็นผู้ป่วยรายที่สามของโลก ซึ่งติดเชื้อมรณะนี้ หลังองค์การอนามัยโลกยืนยันว่า พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสชนิดใหม่นี้ 2 ราย ซึ่งเกิดห่างกันถึง 3 เดือน โดยชายทั้ง 2 คนเกี่ยวข้องกับประเทศซาอุดีอาระเบีย ที่มา: http://eurosurveillance.org/ViewArticle.aspx?ArticleId=20292 http://eurosurveillance.org/ViewArticle.aspx?ArticleId=20290 http://www.cidrap.umn.edu/cidrap/content/other/news/oct0412coronavirus2.html http://www.npr.org/blogs/health/2012/10/05/162394086/arabian-coronavirus-plot-thickens-but-virus-lies- low?ft=1&f=1001&sc=tw&utm_source=twitterfeed&utm_medium=twitter http://www.philstar.com/Article.aspx?articleId=857212&publicationSubCategoryId=200 http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9550000123073 2. สถานการณ์โรค Meningitis 2.1 The United of America เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข ประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่ามีการระบาดของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา ข้อมูลล่าสุดมีรายงานผู้ป่วย 91 ราย เสียชีวิต 7 ราย กระจายใน 9 รัฐ ดังนี้ รัฐFlorida 4 ราย Indiana 8 ราย Maryland 3 ราย(เสียชีวิต 1 ราย) Michigan 20 ราย(เสียชีวิต 2 ราย) Minnesota 3 ราย North Carolina 2 ราย Ohio 1 ราย Tennessee 32 ราย(เสียชีวิต 3 ราย) Virginia 18 ราย(เสียชีวิต 1 ราย) คาดว่าสถานการณ์การระบาดครั้งนี้จะมีรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้น จากการสอบสวนโรคพบว่าผู้ป่วยและเสียชีวิตมีการประวัติปวดหลังและได้ฉีดยา epidural steroid (ฉีดเข้าไขสันหลัง) ผู้ป่วยหลายคนมีอาการstrokeที่เกี่ยวข้องโรคหุ้มสมองอักเสบ สำหรับแหล่งของเชื้อราที่มีการปนเปื้อนในการฉีดยาเข้าสันหลังในครั้งนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นแหล่งใด นอกจากนั้นพบว่าส่วนผสมของยาที่ฉีดคือ steroid methylprednisolone acetate มาจาก the New England Compounding Center Inc ซึ่งตั้งที่เมือง Framingham รัฐ Massachusetts ที่ผลิตตั้งแต่เดือนกรกฏาคม 2555 ถึง กันยายน 2555 จำนวน 3 lot ได้แก่ Lot #05212012@68, BUD 11/17/2012 Lot #06292012@26, BUD 12/26/2012และ Lot #08102012@51, BUD 2/6/2013 จำนวน 17676 vials และส่งไปจำหน่ายที่รํฐ California, Connecticut, Florida, Georgia, Idaho, Illinois, Indiana, Maryland, Michigan, Minnesota, North Carolina, New Hampshire, New Jersey, Nevada, New York, Ohio, Pennsylvania, Rhode Island, South Carolina, Tennessee, Virginia, Texas and West Virginia ซึ่งคาดว่ามีผู้ได้รับการฉีดราว 1000 คน ขณะนี้ทางบริษัทได้มีการเรียกสินค้าดังกล่าวกลับแล้ว ที่มา: http://www.fda.gov/Drugs/DrugSafety/ucm322752.htm http://www.cidrap.umn.edu/cidrap/content/other/news/oct0412fungus.html http://www.reuters.com/article/2012/10/06/us-meningitis-idUSBRE89412420121006 http://www.foxnews.com/health/2012/10/05/fda-expands-recall-list-tainted-injectable-medicines-linked-to-meningitis/#ixzz28TEFI9Uk 3. สถานการณ์โรค Ebola 3.1 Uganda กระทรวงสาธารณสุข ประเทศยูกานดา เปิดเผยว่าการระบาดของโรค Ebolที่อำเภอKibaale ได้ผ่านพ้นไปแล้ว โดยมีรายงานผู้ป่วยรายสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2555 ซึ่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล และแพทย์ได้อนุญาตให้กลับบ้านได้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2555 และไม่มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้นหลังจากผู้ป่วยรายนี้มา 21 วัน(ระยะฟักตัวนานที่สุด) การระบาดครั้งนี้มีผู้ป่วยทั้งน่าจะเป็น และยืนยัน 24 ราย เสียชีวิต 17 ราย สำหรับเชื้อ ไวรัสEbola มีทั้งหมด 5 subtypes 3 ใน 5 subtypes พบที่ประเทศแอฟริกาได้แก่ Ebola-Zaire, Ebola-Sudan และ Ebola-Bundibugyo ไวรัสนี้ทำให้เกิด febrile haemorrhagic illness และทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตได้ร้อยละ 25 -90 ส่วน Ebola Reston species พบที่ประเทศฟิลิปปินส์แต่ไม่มีรายงานผู้ป่วยหรือเสียชีวิต ที่มา: http://www.who.int/csr/don/2012_10_04/en/index.html ข่าวในประเทศ 1. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก นพ.ปริญญา รัตนปริญญา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่าจังหวัดมหาสารคามโรคไข้เลือดออกในช่วงปลายฝนต้นหนาว โดยพบผู้ป่วยแล้ว 700 ราย มากกว่าเดือนที่ผ่านมา 200 ราย ล่าสุดเสียชีวิต 1 ราย จึงประกาศเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังบุตรหลาน เพราะเป็นช่วงการระบาดของเชื้อไข้เลือดออกชนิดรุนแรง เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรค จึงประสานงานให้เทศบาล และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ออกพ่นสารกำจัดตัวแก่ยุงลาย โดยเน้นในพื้นที่ที่พบ การระบาดซ้ำซากและบริเวณสถานศึกษา ที่มา: สำนักเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค 2. สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก นายทฤษดี ชาวเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้ร่วมมือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชสั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและเก็บตัวอย่างอุจาระและซากของนกอพยพ และนกธรรมชาติในแหล่งที่นกอาศัยอยู่ทั่วประเทศ หากพบว่ามีนกตายผิดปกติหรือพบเชื้อโรคไข้หวัดนกจะให้เข้าควบคุมโรคในพื้นที่ทันที และได้แจ้งให้ทุกจังหวัดที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านมีการเฝ้าระวังโรคอย่างเข้มงวด ที่มา: สำนักเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค 3. สถนการณ์โรคคอตีบ นายแพทย์วิวรรธน์ ก่อวิริยกมล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลยว่าขณะนี้ปรากฎพบผู้ป่วยโรคคอตีบหลายรายในพื้นที่ 3 จังหวัดคือ จ.เลย เพชรบูรณ์ และ หนองบัวลำภู โดยเฉพาะที่ อ.ด่านซ้าย พบผู้ป่วยมากสุด 33 ราย เสียชีวิตแล้ว 2 ราย อ.วังสะพุง 13 ราย อ.ผาขาวและ อ.ภูหลวง แห่งละ 1 ราย ที่มา: สำนักเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค 4. สถานการณ์โรคเยื่อหุ้มสมอง นพ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา เผยว่ากรณีพบชาวอเมริกันติดเชื้อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราเพิ่มจำนวนขึ้น มากนั้น ทางการสหรัฐคาดว่าเกิดจากการได้รับเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในตัวยาสเตียรอยด์ระงับอาการปวดหลัง ส่งผลให้บริษัทยาต้องเรียกคืนยาทั้งหมดกว่า 17,600 หลอด อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ติดเชื้อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบของคนอเมริกันเป็นการปนเปื้อนของ ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเท่านั้น ยังไม่มีการส่งผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายในประเทศไทย ส่วนเชื้อราที่ปนเปื้อนนั้นยังไม่ทราบว่าเป็นเชื้อราชนิดใด แต่กรณีการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราโดยตรงจากผลิตภัณฑ์นั้น มีโอกาสเกิดได้น้อยมาก สำหรับในประเทศไทยกรณีดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับการติดเชื้อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากสาเหตุอื่นๆ ที่มา: สำนักเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค 5. สถานการณ์เกี่ยวกับน้ำท่วม นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวจากการถอดบทเรียนความสำเร็จน้ำท่วมปี 54 ที่ผ่านมา พบว่ากรมควบคุมโรคได้ดำเนินการป้องกันควบคุมโรคในภาวะอุทกภัย โดยใช้ระบบการบัญชาการเหตุการณ์ที่ได้มีการเตรียมระบบล่วงหน้าไว้แล้ว ทำให้สามารถดำเนินงานอย่างมียุทธศาสตร์ และสามารถกำกับติดตามหน่วยงานทุกหน่วยงานของกรมควบคุมโรค ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ให้ดำเนินงานบูรณาการสอดคล้องกัน ส่งผลให้ไม่เกิดโรคระบาดสำคัญขึ้นในประเทศ ช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนได้มาก จึงมั่นใจว่าบทเรียนที่ได้รับจากเหตุการณ์น้ำท่วมปี 54 ที่ผ่านมา จะสามารถนำมาปรับใช้ในการรับมือกับเหตุการณ์น้ำท่วมปี 55 นี้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้ประเทศไทยไม่เกิดการระบาดของโรคติดต่อที่ สำคัญ เกิดจากดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 2P 2R คือ Prevention (การป้องกัน) Preparedness (การเตรียมพร้อม) Response (การตอบโต้) และ Recovery (การฟื้นฟู) ได้แก่ 1.Prevertion (การป้องกัน) มีการจัดเตรียมสถานพยาบาลและหน่วยปฏิบัติการไม่ให้ถูกน้ำท่วมและเตรียมแผน ประคองกิจการ ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อได้แม้ว่าสถานที่และเจ้าหน้าที่จะได้รับผลกระทบ จากน้ำท่วมก็ตาม 2.Preparedness (การเตรียมพร้อม) มีการจัดเตรียมระบบการสั่งการ การสื่อสารและการพัฒนาบุคลากรในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขต่างๆ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคต่างๆล่วงหน้า 3.Response (การตอบโต้) 4 ประการได้แก่ 1.การเฝ้าระวังโรค 2. การป้องกันโรคล่วงหน้า 3. การควบคุมโรคเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติซึ่งจะมีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อน ที่เร็ว (SRRT) จำนวน 1,030 ทีมทั่วประเทศและทีมเสริม 58 ทีม ที่พร้อมจะดำเนินการสอบสวนควบคุมโรคที่สำคัญเมื่อได้รับรายงานเหตุการณ์ผิด ปกติ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น