วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ 22 ตุลาคม 2555‏

1. สถานการณ์การปนเปื้อนเชื้อ E. coli O157 ในเนื้อวัว ประเทศแคนาดา The Canadian Food Inspection Agency (CFIA) เปิดเผยว่าผลการตรวจซากสัตว์ที่มีการชำแหละระหว่างวันที่ 12 ถึง 17 ตุลาคม 2555 ไม่พบเชื้อ E. coli O157:H7 ซึ่งจะได้ตรวจสอบขั้นการเตรียมตัดและชำแหละ การป้องกันและควบคุมการปนเปื้อนเชื้อขณะที่มีการชำแหละ การตรวจสุขภาพของสัตว์ และสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป นอกจากขั้นตอนการลำเลียงสินค้าออกนอกโรงงาน CFIAได้มีการควบคุมอย่างใกล้ชิด นอกจากนั้น XL Foods Inc มีการเรียกคืนสินค้าครั้งที่ 19 ซึ่งสินค้าที่เรียกคืนได้แก่ Top Sirloin Steak Fast Fry ที่มีUPC number ตั้งแต่216026 หมดอายุระหว่าง 6 กันยายน 2555ถึง 2 ตุลาคม 2555 ส่งขายที่ Real Canadian Superstoreและ Extra Foods ในเมือง Alberta , British Columbia , Minitoba, Northwest Territories , Ontario Saskchewanและ Yukon Boneless Beef Tenderloin Steak ที่บรรจุ2.64 kg ในแต่ละแพค UPC เลขที่สุดท้าย 339 code EST 479 12SE21 จัดจำหน่ายโดย Hallé Services Alimentaires ใน Quebec Boneless Beef Tenderloin ไม่มีหมายเลข UPC จำหน่ายในวันที่ 19 และ27 กันยายน 2555 โดย Les Viandes P.P. Hallé Ltée และ เนื้อวัว 0/1 Strip Loin ที่บรรจุแพคละ 2.6 kg UPC number สุดท้ายคือ 032 code EST 479 12SE14 จำหน่ายโดย Hallé Services Alimentaires ใน Quebec ข้อมูลล่าสุดในวันที่ 19 ตุลาคม 2555 รายงานผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อดังกล่าวที่มีความเชื่อมโยงกับเนื้อวัวที่ผลิตจาก XL Foods Inc. ในประเทศแคนาดามีผู้ป่วยเพิ่มเป็น 16 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยกระจายในเมือง Alberta 7 ราย Quebec 5 ราย British Columbia 3 ราย (เป็นนักท่องเที่ยว 1 ราย) และ Newfoundland and Labrador 1 ราย สำหรับประเทศยังไม่มีรายงานการตรวจเนื้อวัวที่สงสัยปนเปื้อน E. coli O157 ซึ่งนำเข้าจากประเทศแคนาดาเพิ่มเติม และไม่มีรายงานผู้ป่วยที่มีความเชื่อมโยงกับกรณีดังกล่าว 2.สถานการณ์การปนเปื้อน Salmonella Bredeney ในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์ จากถั่วลิสง 2.1 The United state of America The New Mexico Department of Health และ CDC เปิดเผยว่าถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสงที่พบการปนเปื้อน Salmonella Bredeney ซึ่งผลิตจาก Sunland, Inc ที่ตั้งใน New Mexico วันที่ 19 ตุลาคม 2555 มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 36 ราย กระจาย 20 รัฐ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ขณะนี้บริษัทได้เรียกเก็บสินค้าที่คาดว่าปนเปื้อนกลับคืนบริษัทแล้ว นอกจากนั้นมีการตรวจพบเชื้อดังกล่าวในตัวอย่างเป็นบริเวณที่อยู่รอบๆที่เก็บสินค้าดังกล่าวด้วยเช่นกัน ซึ่งCDC จะมีการตรวจสอบอาหารชนิดอื่นๆที่ผลิตจากบริษัทนี้ด้วย 2.2 Canada The Canadian Food Inspection Agency (CFIA) ได้ประกาศเตือนประชาชนไม่ให้บริโภค ขาย Baby Spinach Grab & Go Salad Kit with Peanuts บรรจุกระป๋องขนาด 3.5 oz หมายเลข UPC 0 32601 08875 0 ที่จัดจำหน่ายจาก Earthbound Farm และมีการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวในเมือง Ontario และ British Columbia เนื่องจากอาจจะมีการปนเปื้อน Salmonella เนื่องจากสินค้าดังกล่าวผลิตโดย Sunland Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อดังกล่าวในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง. 3. สถานการณ์การปนเปื้อนเชื้อ salmonella ในปลาแซมมอลรมควันที่ผลิต ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประเทศเนเธอร์แลนด์ เปิดเผยการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษที่เกิดจากเชื้อ Salmonella Thompson ว่าข้อมูลล่าสุดมีชาวเนเธอร์แลนด์ติดเชื้อ 950 ราย เสียชีวิต 3 ราย และมีชาวอเมริกันติดเชื้อนี้มากกว่า 100 ราย จากการสอบสวนพบว่ามีความเชื่อมโยงกับการรับประทานปลาแซมมอลรมควันที่ผลิตโดยบริษัท Foppenในประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีโรงงานผลิตตั้งในประเทศกรีก ในเดือนตุลาคม 2555 Dutch food and consumer watchdog NVWA ได้ประกาศแจ้งเตือนให้บริษัท ร้านค้าจำหน่ายที่สินค้าดังกล่าวระงับการจำหน่ายสินค้า สำหรับอาการและอาการแสดงของผู้ติดเชื้อ salmonella พบว่าหลังจากติดเชื้อ 12 ถึง 72 ชั่วโมงจะมีอาการไข้ ถ่ายเหลว และปวดท้องรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการ 4 ถึง 7 วัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอาการดีขึ้นโดยไม่ต้องรับรักษาใดๆ นอกจากนั้นA California-based company ได้แจ้งว่ามีการเรียกเก็บสินค้า ที่รู้จักในนาม "tuna scrape," ที่ผลิตในประเทศอินเดียและนำเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 58,828 pounds (26,683 กิโลกรัม) ตั้งแต่เดือนเมษายน 2555 หลังจากมีผู้ติดเชื้อ salmonella 116 ราย 4. สถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อ E. coli 4.1 The United state of America The North Carolina Department of Health and Human Services เปิดเผยว่าการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อ E. coli ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับงาน Cleveland County Fair ซึ่งจัดในเดือนกันยายน 2555 ถึง 7 ตุลาคม 2555 ข้อมูล ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2555 มีรายงานผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น 81 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็ก (52 ราย) พบในผู้ใหญ่เพียง 29 ราย ผู้ป่วยทั้งหมดมีการกระจายดังนี้ Cleveland County (48 ราย) County (11 ราย เสียชีวิต 1 ราย) Lincoln County (13 ราย) Catawba County (1 ราย) Mecklenburg (1 ราย), Union County (2 ราย), Rutherford (2 ราย), York County, South Carolina (2 ราย), Cherokee County, South Carolina (1 ราย ). คาดว่าการระบาดครั้งอาจจะมีการพบผู้ป่วยมากขึ้น 5. สถานการณ์โรค West Nile 5.1 The United state of America การระบาดของโรค West Nileในประเทศสหรัฐอเมริกายังคงมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง CDC เปิดเผยข้อมูลเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 ว่า มีคน นกหรือยุงติดเชื้อ ใน 48 รัฐ มีรายงานผู้ติดเชื้อ 4531 ราย เสียชีวิต 183 ราย ร้อยละ 51 (2293 ราย) เป็นกลุ่ม neuroinvasive disease ร้อยละ 49 ( 2238 ราย )เป็น non-neuroinvasive disease เกือบร้อยละ 70 มีการรายงานจาก 8 รัฐได้แก่ Texas, California, Louisiana, Mississippi, Illinois, South Dakota, Michigan, and Oklahoma มากกว่า 1 ใน 3 เป็นรายงานจากรัฐ Texas 6. สถานการณ์โรควัณโรค Dr. Mario Raviglione, director of the WHO's Stop TB program เปิดเผยว่าปีที่ผ่านมาถึงแม้จะมีรายงานผู้ป่วยรายใหม่ราว 9 ล้านคน แต่ก็พบว่าลดลงร้อยละ 2.2 ปัญหาการต่อสู้กับโรควัณโรคที่ต้องเผชิญหน้าในปัจจุบัน คือกองทุนใหญ่ๆที่สนับสนุนในต่างประเทศลดลง นอกนั้นปัญหาเชื้อวัณโรคดื้อยาก็ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีกา MDR-TB รวินิจฉัยการดื้อยาในผู้ป่วยมีความล่าช้า และได้กล่าวเพิ่มเติมว่ามีรายงานผู้ป่วยดื้อยาที่รักษาโรควัณโรค(MDR-TB)จากทุกประเทศ 60000 ราย ประมาณ 2 ใน 3 เป็นรายงานจากประเทศอินเดีย จีน รัสเซีย และแอฟริกาใต้ ดังนั้นการต่อสู้กับปัญหาต่างๆเพื่อต่อสู้กับโรคนี้เป็นเรื่องของแต่ละประเทศที่ต้องให้ความสำคัญ และระดมทรัพยากรต่างๆเข้าร่วมด้วย 7. สถานการณ์โรค Ebola 7.1 The Democratic Republic of Congo (DRC) การระบาดของโรค Ebola เริมชะลอลงหลังจากเริ่มมีการระบาดตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2555 ในพื้นที่เขต Isiro และ Viadana ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด Orientale จากข้อมูลของ The UN World Health Organization's (WHO) เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2555 มีรายงานผู้เสียชีวิต 24 ราย ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ 31 ราย และอยู่ในข่ายสงสัย 18 ราย โดยพบผู้ป่วยยืนยันรายล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2555 ซึ่งเข้ารับการรักษาที่MSF [Médecins Sans Frontières]/Ministry of Health Ebola ward หลังจากไม่พบผู้ป่วยยืนยันมา 2 สัปดาห์ 8. สถานการณ์โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา 8.1 The United state of America CDC และFDA ของประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่าพบเชื้อ Exserohilum rostratum fungus.ในหลอดยา methylprednisolone acetate (80mg/ml) ที่ยังไม่ได้เปิดใช้ ยาดังกล่าวอยู่ใน Lot #08102012@51, BUD 2/6/2013 ซึ่งผลิตโดย the New England Compounding Center,หรือ NECCในรัฐ Massachusetts. หลังจากมีการตรวจพบเชื้อExserohilum rostratum ในผู้ป่วย 2 ราย Aspergillus fumigatus 1 รายและ Cladosporium 1 ราย ข้อมูลวันที่ 21 ตุลาคม 2555 มีผู้ติดเชื้อ 285 ราย เสียชีวิต 23 ราย กระจายใน 16 รัฐ โดยพบที่ New York เป็นรายแรกด้วย ข่าวในประเทศ 1. สถานการณ์โรคคอตีบ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคคอตีบ พบผู้ป่วยจำนวน 87ราย เสียชีวิต 2 ราย ในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ เลย เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย พิษณุโลก ขอนแก่น ชัยภูมิ และสกลนคร ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยตัวเลขผู้ป่วยในเขตพื้นที่ 9 จังหวัดภาคอีสาน ตั้งแต่เริ่มต้นการระบาดในวันที่ 26 มิ.ย. ถึง 25 ก.ย.2555 ว่า มีผู้ป่วยโรคคอตีบ 59 ราย แต่จากการลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 12 ต.ค. เพียง 18 วัน หลังจากวันที่ 25 ก.ย. ตัวเลขผู้ป่วยเพิ่มเป็น 87 ราย ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขได้ระดมฉีดวัคซีนให้กับเจ้าหน้าที่และประชาชนในพื้นที่ไป แล้วกว่า 1 ล้านโดส เพื่อสกัดกั้นการระบาดของโรค ทั้งลดความรุนแรงที่จะเกิด Out Break ในพื้นที่และป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไปในพื้นที่อื่น ในประเทศไทยมีรายงานการระบาดของโรคเมื่อปี 2551-2553 ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยปี 2553 เฉพาะที่จังหวัดปัตตานีมีผู้ป่วยโรคคอตีบถึง 48 ราย เสียชีวิต 9 ราย และหากรวมตัวเลขทั้ง 3 จังหวัดในรอบ 3 ปี พบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคคอตีบถึง 24 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุระหว่าง 1-6 ขวบ สาเหตุที่ทำให้การระบาดของโรครุนแรงเนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปใน พื้นที่เพื่อฉีดวัคซีนให้กับเด็กได้ ทำให้อัตราการเข้าถึงวัคซีนของพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีแค่ 60% ในสหรัฐ-อเมริกามีนโยบายให้มีการฉีดวัคซีนคอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก ให้กับเด็กและผู้ใหญ่ซ้ำทุกๆ 10 ปี เป็นการควบคุมป้องกันโรค ที่มา: สำนักเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค สำนักสาธารณสุขฉุกเฉิน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2. สถานการณ์น้ำดื่มปนเปื้อน นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สาธารณสุข เผยว่าตามที่ได้ดำเนินโครงการสำรวจสถานการณ์ความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญในปี 2555 เพื่อประเมินคุณภาพและความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญทั่วประเทศ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำตรวจวิเคราะห์จำนวน 1,871 ตัวอย่าง พบว่า ไม่ผ่านมาตรฐานจำนวน 633 ตัวอย่าง คิดเป็น 33.8% โดยมีตัวอย่างที่ไม่ผ่านมาตรฐานทางด้านเคมี 487 ตัวอย่าง คิดเป็น 26% ซึ่งได้แก่ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ค่าความกระด้างหรือมีปริมาณสิ่งแปลกปลอมสูงเกินมาตรฐาน ด้าน นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากการสำรวจน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญพบการปนเปื้อนเชื้อ โคลิฟอร์มอี.โคไล และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ แสดงว่าน้ำไม่สะอาดและไม่ควรบริโภค เพราะเชื้อโคลิฟอร์ม อี.โคไล เป็นจุลินทรีย์ที่บ่งบอกสุขลักษณะความสะอาดของน้ำดื่ม

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น